ยุคมืด Facebook | Engagement ลดลงมากกว่า 50 % จากการศึกษา 43 ล้านเพจโพสต์
คุณ Amanda Zantal-Wiener จาก HubSpot ออกมาเปิดเผยถึง การศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ Social Media ที่ร่วมแชร์ข้อมูล และเผยข้อมูลจากการวิเคราะห์ Fanpage โดยนำข้อมูล 43 Posts จาก 20,000 Top Brands บน Facebook โดยจากต้นปีที่ผ่านมา Facebook ได้ปรับเปลี่ยน Algorithm ให้เห็น Content จาก เพื่อนและครอบครัวมากขึ้น ซึ่งเป็น 1 ปัจจัยที่ทำให้ Reach และ Engagement ลดลงอย่างหนักด้วย 5 ปัจจัยหลักดังนี้
” 5 ปัจจัยหลักที่ได้จากการศึกษา 43 ล้านเพจโพสต์ “
1. Engagement ของ Post กำลังจะตาย (ลดลงมากกว่า 50 %)
จากการศึกษาพบว่า 18 เดือนที่ผ่านมา Engagement ของโพสต์นั้นลดลงมากกว่า 50% แม้จำนวนดังกล่าวไม่ได้บ่งบอกถึงโพสต์แต่ละโพสต์(Individua Post) แต่ค่าเฉลี่ยของ Engagement ต่อโพสต์ ลดลงถึง 2 ใน 3 หรือคิดเป็น 65% จาก 4,490 Engagement ต่อโพสต์ อยู่ที่ 1,582 Engagement ต่อโพสต์แทน
สำหรับนักการตลาดต้องหาทางปรับตัว Content ให้มีความน่าสนใจหรือเรียก Engagement มากขึ้น เพื่ออยู่รอดในแพลตฟอร์ม Facebook หรือ เพิ่มช่องทาง Social Media ให้มากขึ้นเช่น เพิ่มช่องทาง Twitter ในการเกาะติดตามกระแส
2. Content Format ที่ลดลงอย่างหนักหน่วง
ความแตกต่างของข้อมูล Content Format ทั้ง Q1 และ Q2 มีความแตกต่างกันมากทั้งรูปแบบ รูปภาพ, วีดีโอ หรือลิงก์ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือรูปแบบของรูปภาพนั้น ยังคงได้รับ Engagement มากที่สุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2018
- – ค่าเฉลี่ย Engagement ของรูปแบบ ” รูปภาพ ” ลดลงจาก 9,370 ต่อโพสต์ใน Q1 2017 เป็น 3,454 ต่อโพสต์ใน Q2 2018 (63%) แม้จะมีค่าเฉลี่ย Engagement ที่ลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด
- – ค่าเฉลี่ย Engagement ของรูปแบบ ” วิดีโอ ” ลดลงจาก 5,486 ต่อโพสต์ใน Q1 2017 เป็น 2,867 ต่อโพสต์ใน Q2 2018 (47%) ลดลงน้อยที่สุด แม้ได้รับความนิยมน้อยกว่ารูปภาพ แต่ความน่าสนใจของวิดิโอยังคงร้อนแรงเช่นเคย
- – ค่าเฉลี่ย Engagement ของรูปแบบ ” ลิงก์ ” ลดลงจาก 2,577 ต่อโพสต์ใน Q1 2017 เป็น 763 ต่อโพสต์ใน Q2 2018 (70%) ลดลงหนักที่สุด แทบจะไม่ให้ออกไปไหนจากแพลตฟอร์ม Facebook เลยก็ว่าได้
3. การแข่งขันของ Content ที่มากเกินไปใน Q2/2018
ในปีที่ผ่านมาจำนวนโพสต์ต่อไตรมาส จาก Fanpage ที่นำมาศึกษาพบว่า จำนวนของโพสต์กระโดดเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านโพสต์เป็น 8.1 โพสต์ หรือเพิ่มขึ้น 24% หากคิดเป็นไตรมาสเพิ่มขึ้นจาก 72,000 โพสต์ต่อวันในไตรมาสที่ 1 ปี 2017 เป็น 90,032 โพสต์ต่อวันในไตรมาสที่ 2 ปี 2018
จำนวนของ Content ที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Reach และ Engagement ลดลงอย่างมาก เนื่องจากการแข่งขันของ Content ที่มีความรุนแรงอย่างมาก ทำให้นักตลาดต้องปรับตัว Content ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ใส่ใจกับ Content นั้นมากขึ้น เพื่อทำให้โดดเด่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยสามารถแย่งความสนใจ หรือ Engagement จากผู้ชมได้เป็นอย่างดี
4. โพสต์ 5 ครั้งต่อวันได้ค่า Engagement ที่เหมาะสมที่สุด ?
” มากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี ” แล้วจำนวนโพสต์เท่าไหร่ต่อวันถึงจะดี ?
การโพสต์น้อยกว่า 1 ครั้งต่อวัน ได้ Engagement ต่อโพสต์เยอะมากที่สุดก็จริง แต่การโพสต์แบบนี้ ทำให้ภาพรวมของ Engagement ต่ำที่สุด(หรือไม่มีการ Engagement กับแฟนเพจเลย) หากโพสต์มากกว่าเท่ากับ 10 ครั้งต่อวัน มีค่าเฉลี่ยต่อโพสต์อยู่ที่ 1,202 Engagement ต่อวัน (รวมโพสต์ทั้งหมดอยู่ที่ 12,020 Engagement)
จากการศึกษาพบว่าการโพสต์ 5 ครั้งต่อวัน มีค่า Engagement เฉลี่ยอยู่ที่ 2,466 Engagement ต่อโพสต์ (รวม 5 โพสต์อยู่ที่ 12,330 Engagement) ดังนั้นการโพสต์ 5 ครั้งต่อวันจึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดแล้ว หรือ “Optimal Facebook Posting”
5. Category ที่มี Engagement ลดลงมากที่สุด(49 – 70%)
จากการศึกษา 43 ล้านเพจโพสต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2017 – ไตรมาสที่ 2 ปี 2018 ได้มีการจัดหมวดหมู่ประเภทของเพจต่างๆ โดยที่มี Engagement ลดลงมากที่สุดคือ เพจประเภท Artist หรือศิลปิน ที่มี Engagement ลดลงมากที่สุดถึง 70.6% และเพจที่มี Engagement ลดลงน้อยที่สุดคือ เพจประเภท Retail Brand ลดลงอยู่ที่ 49.5%
สรุป
จาก 5 ปัจจัยดังที่กล่าวมา ส่งผลให้ Reach และ Engagement ต่ำที่สุดในรอบปีแล้ว Digital Marketer ต้องปรับตัวอย่างไรให้เพจตนเองนั้นโดดเด่นกว่าเพจอื่น หรือเราต้องจ่ายให้ Facebook มากกว่าเดิมขนาดนั้นไหนกันเชียว แต่ !! อย่าลืมว่า Facebook นั้นไม่ใช่แพลตฟอร์มเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ เพราะยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกมากมายที่เข้าถึงผู้คน หรือกลุ่มเป้าหมายของเราอีกเช่น Twitter (เน้นเล่นกับกระแส หรือกระจายข่าวสาร), Instagram (ใช้ Micro-Macro Influencer ในการโฆษณา หรือใช้ฟีเจอร์ IG Stories ที่กำลังเป็นที่นิยมกัน) จะเห็นว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่แพ้ Facebook เช่นเดียวกัน
#ทุกปัญหามีทางออกเสมอ 🙂