7 มาตรวัดสำคัญ ที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม!

 

โซเชียลมีเดียที่เราเลือกใช้ทำการตลาดนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และทำให้เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย ประกอบกับแพลตฟอร์มต่างๆนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น การใช้มาตรวัดเก่าๆเดิมๆ อาจไม่ทำให้รู้ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง การทำดิจิตอลการตลาดยุคใหม่ จึงไม่ควรดูเพียงแค่ยอด Engagement หรือ Reach การศึกษามาตรวัดอื่นๆอาจจะทำให้คุณนั้นวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

1. Social reach

การวัดจำนวนผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูลของคุณแบบไม่ซ้ำกัน หมายความว่า 1 คน อาจจะเห็นโพสต์นี้กี่ครั้งก็ได้ แต่ Reach จะนับเป็น 1 ซึ่งจะแตกต่างจากค่า Impression ที่จะแสดงให้เห็นว่าโพสต์ที่มีคนเข้าถึงไปแล้วกี่ครั้งแบบซ้ำกัน

สรุปคือ

Impression คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่ครั้ง
Reach คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่คน

สองค่านี้สำคัญอย่างไรต่อแบรนด์?

 

 

ค่า Reach เป็นค่าที่บ่งบอกว่าเนื้อหาข้อความที่โพสต์นั้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด และสามารถวัดการเข้าถึงแคมเปญโฆษณาที่คุณได้เผยแพร่ออกไป และยังบ่งชี้ได้ว่าโฆษณามีประสิทธิภาพมากเพียงใด ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยค่าตัวเลขนี้จะส่งผลต่อค่าอื่นๆ เช่น ค่า Engagement จำนวนการคลิกลิงค์ และอื่นๆ

 

2. Bounce rate

Bounce rate เป็นเครื่องมือที่เอาไว้วัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณ ว่าสวยงามพอหรือไม่ น่าสนใจพอหรือเปล่า น่าดึงดูดให้เข้าชมมากน้อยแค่ไหน โดยจะวัดเป็นอัตราส่วน และบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้าเว็ปไซต์เพียงหน้าเดียวและก็ปิดไปโดยไม่เข้าไปหน้าอื่นๆของเว็บไซต์เลย ยิ่งมีอัตราสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่งชี้ได้ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ดึงดูดให้ผู้เข้าชมนั้นเลือกเสพในส่วนอื่นๆของเว็บไซต์  เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม อาจจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและน่าดึงดูดมากขึ้น เพื่อลดอัตราของ Bounce rate และถ้าทำ SEO ก็ส่งผลให้เว็บไซต์ได้อันดับดีๆอีกด้วย

 

3. Follower growth rate

อัตราการเติบโตของผู้ติดตามเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงว่าเนื้อหาของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนหรือไม่ ช่วยให้คุณพิจารณาว่าที่โพสต์เป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมของคุณได้รึเปล่า และโพสต์ของคุณสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่

สามารถวัดและติดตามอัตราการเติบโตของผู้ติดตามได้อย่างไร ทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะแสดงจำนวนผู้ติดตามของคุณและการเติบโต เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกณฑ์มาตรฐานผู้เข้าชม และตั้งค่าช่วงเวลาที่ต้องการเพื่อวัดค่า ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการดู Feedback ของแต่ละโพสต์คุณอาจจะดูความแตกต่างของผู้เข้าชมเพียงระยะสั้นๆ แต่หากคุณต้องการทำความเข้าใจ Feedback ของแคมเปญ คุณจะต้องดูความแตกต่างในระยะยาว หากอัตราการเติบโตของคุณไม่ดีพอ ให้ลองเปลี่ยนแปลงความของถี่โพสต์ หัวข้อเนื้อหา รูปแบบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น โพสต์เนื้อหาภาพข้อความสลับกับวิดีโอ เป็นต้น

 

4. Engagement

 

 

Engagement ที่แปลว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้า แล้วค่า Engagement นั้นสำคัญไฉน?

เพราะมันแสดงให้เห็นว่า มีคนจำนวนเท่าใดที่โต้ตอบกับเนื้อหาของคุณ คุณอาจพบว่าผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ในรูปแบบวีดิโอ มากกว่า infographic หรือสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนมีแนวโน้มที่จะได้รับค่า Engagement มากในอนาคต ค่า Engagement จะบ่งชี้ว่าแบรนด์ของคุณเชื่อมโยงกับลูกค้าของคุณมากน้อยเพียงใด โดยได้มาจากยอด “ไลค์ คอมเม้นต์ แชร์ เซฟ” หรือการมึปฏิสัมพันธ์กับคอมเทนต์นั้นๆนั่นเอง

มีมากมายหลายวิธีมากมายที่ยังสามารถช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับแบรนด์ของคุณได้ วิธียอดฮิตที่เหล่า Digital Marketing ทำกันเป็นประจำ ก็ไม่พ้นการซื้อ Ad บูสท์โพสต์ แต่ก็มักจะได้ค่า Engagement ที่ไม่มีคุณภาพ วิธีเพิ่มค่า Engagement ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท คือ…

  • Content ต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูด
  • โพสต์ในเวลาที่เหมาะสม
  • ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ได้ตั้งไว้

 

 

5. Sentiment

 

 

อารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเรามีภาพลักษณ์แบบไหนในสายตาของลูกค้า  โดยผ่านกระบวนการคัดกรองข้อความบน Social Media ผ่านโครงสร้าง Algorithm ได้ Output ออกมาและแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้

  • Positive การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
  • Nuetral การแสดงความคิดเห็นแบบเป็นกลาง
  • Negative การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ

หากเราเห็นค่าของของอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายไปในทิศทางที่เป็นลบมากเกินไป แบรนด์จะต้องหาทางแก้ไขโดยการฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ คอยดูความเคลื่อนไหวต่างๆของผู้บริโภค เสียงของผู้บริโภคที่อยู่บนโลก Social ผ่านการ Monitor และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่น ลูกค้าไม่พอใจในการบริการของแบรนด์ และโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์เพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ หากแบรนด์ไม่แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจเกิดการแชร์ต่อ และอาจจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย

 

6. Social media audience demographics

บุคคลที่สำคัญต่อแบรนด์ คือ ลูกค้า  และสถิติสำคัญ ก็คือการรวบรวมข้อมูลต่างๆของกลุ่มลูกค้า Demograpic  คือ ข้อมูลประชากร หรือข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามประเภทคุณลักษณะของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น อายุ เพศ ที่อยู่อาศัย การศึกษา รายได้ ฐานะทางสังคม และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพกลุ่มประชากรเป้าหมายของคุณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มหรือโอกาสทางการตลาดได้เช่นกัน

สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่เข้าเยี่ยมชม Facebook Page หรือ Instagram Account ได้ที่ Facebook Audience Insights แล Instagram Insights หรอหากเป็นแพลตฟอร์มอื่น ก็สามารถเข้าถึงการดูข้อมูลเชิงลึกได้เช่นกัน

 

7. Fan base

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญต่อแบรนด์ ยิ่งเป็นลูกค้าที่คอยเกื้อหนุนแบรนด์ ช่วยโปรโมทแบรนด์ของคุณ เป็นแฟนคลับแบรนด์ของคุณ หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า Brand Royalty กลุ่มลูกค้าผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์  นอกจากจะรู้จำนวนและข้อมูลของกลุ่มลูกค้าคร่าวๆแล้ว ก็ควรที่จะต้องคำนวณแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณด้วย โดยสามารถวัดได้จากการที่พวกเขาติดแท็กเป็นประจำ พูดถึงแบรนด์เป็นประจำ แชร์และรีวิวด้วยทัศนคติในเชิงบวกอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะดูวิดีโอของคุณและช่วยกดแชร์อยู่เสมอ หรือติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด กดไลค์ กดแชร์ และช่วยสร้าง Engagement ที่มีคุณภาพให้กับเพจของคุณ

ทำไมถึงต้องรู้อัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มลูกค้าในระดับ Loyal Customer

เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่คอยซัพพอร์ทแบรนด์อยู่เสมอ จึงควรที่จะต้องรู้อัตราการเติบโตหรือถดถอยของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ หากมีอัตราการถดถอยของกลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดี ก็ควรเฟ้นหาวิธีรักษาฐานลูกค้าที่อยู่ในระดับ Loyal Customer  ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้ากลุ่มเก่าที่ทีที่สำคัญกว่าการสร้างฐานลูกค้าใหม่ เช่น การคิดค้นโปรโมชั่นสำหรับ Member Card   การให้ Service ที่เหนือกว่า เป็นต้น

 

 

Source :  https://contentmarketinginstitute.com/2019/07/social-media-metrics-brand/

 

 

 

Post Navigation

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable