Category: Facebook

สรุป 4 กลยุทธ์ Data – Driven Marketing ที่นักการตลาดเลือกใช้ในปีนี้

1. Hyper-Personalization

การตลาดแแบบ Personalization ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในแบรนด์มากขึ้น แต่ในยุคสมัยนี้อาจจะไม่พอที่จะช่วงชิงเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าได้ เมื่อการตลาดต่างยึดให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราจึงต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นอันดับแรก และต้องตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็วทันใจ เมื่อมนุษย์สามารถสร้างให้ Machine learning มีความฉลาดหลักแหลมขึ้นทุกวัน หลายๆบริษัทจึงเริ่มมีการทำ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการทำ Persolization แบบเรียลไทม์ ความพร้อมของข้อมูลก็ต้องเรียลไทม์ด้วยเช่นกัน Personalization ดึงดูดผู้บริโภคได้มากถึง 90% ส่วนของ 80% ชอบให้แบรนด์ทำ Personalization

Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแบรนด์ ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง


2. Interactive Emails 

ใครๆต่างบอกว่าเทรนด์ Email Marketing กำลังจะหายไป แต่นั่นอาจไม่เป็นความจริง เมื่อ Big data ทำให้การมีอยู่ของอีเมลมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแค่ได้ข้อมูลมา DATA จะช่วยให้เราคัดกรองลูกค้า หรือแบ่งกลุ่ม และสามารถส่งข้อมูลให้ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อัตโนมัติ  นอกจากนั้น Big data สามารถทำให้เราวัดประสิทธิภาพของการทำการตลาดผ่านอีเมลได้ทันที และสามารถใช้ข้อมูลนั้นวิเคราะห์และสร้างกลยุทธิ์ต่อไปได้

ต่อให้มีการส่งสารในรูปแบบของแชทเข้ามา อีเมลก็ยังคงเป็นที่ความนิยม  อาจเป็นเพราะการส่งอีเมลมีความเป็นทางการกว่าการส่งแชท อีเมลจึงเป็นช่องทางหลักเอาไว้ติดต่อสื่อสารกันในเรื่องงาน  กล่าวได้อย่างชัดเจนว่าการตลาดผ่านอีเมลกำลังมาแรงในปีนี้

3. Focus On Micro-Moments

Micro – moment  คือช่วงเวลาที่ลูกค้าเกิดความต้องการที่จะทำในทันที

Micro-Moments จึงเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความมุ่นมั่นตั้งใจของลูกค้า เป็นตัวกำหนดรูปแบบการตัดสินใจตลอดเส้นทางของลูกค้า ช่วงเวลาเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเจอสิ่งกระตุ้นเช่น การเห็นโฆษณา การพบเจอกับปัญหา การค้นหาบางสิ่งเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ เพื่อที่จะช่วงชิงลูกค้าและตอบสนองความต้องการ แบรนด์ต่างๆต้องอยู่ในที่ที่ผู้คนค้นหาในช่วงเวลานั้นๆ การนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าช่วงไหนคือ Micro moment ความได้เปรียบของแบรนด์จะอยู่ตรงที่เรานำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้หรือไม่ แล้วแบรนด์จะทำอย่างไรกับ Micro Moment ของลูกค้า 

4. Omnichannel Marketing

หากคุณติดตามแนวโน้มการตลาดในปี 2019 คุณอาจเจอคำว่า “Omnichannel Marketing” มากกว่าหนึ่งครั้ง แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะสับสนระหว่างคำนี้กับ multi-channel Marketing แต่ทั้งสองก็มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ในขณะที่การตลาดแบบ multi-channel Marketing เป็นเกี่ยวกับการเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ การตลาดแบบ Omnichannel นั้นเกี่ยวกับการดูแลผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในช่องทางหล่านี้ ไปสู่กระบวนการซื้อ เกี่ยวกับ customer journey ขั้นตอนต่างๆของกระบวนการซื้อ และอื่น ๆ และด้วยเหตุนี้จึงเกี่ยวข้องกับ personalization และ hyper – personalization โดยนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์อีกเช่นเคย

เมื่อได้ทำการตลาดแบบ Omnichannel คุณสามารถทำให้ journey ทั้งหมดของลูกค้าดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นำเสนอประสบการณ์ใหม่แบบ hyper – personalization เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ และเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วม 

ไม่ต้องไปพึ่งพาแพลตฟอร์มอื่นเพียงอย่างเดียว หากวันหนึ่ง facebook หรือ IG ไม่ใช่สื่อหลักอีกต่อไป หรือพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิม การเตรียมระบบ OmniChannel ไว้ก็เป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ธุรกิจหรือแบรนด์ได้ เพราะมี Big Data อยู่ในมือของตัวเองจึงนำไปใช้ต่อยอดแตกไลน์รองรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Wrap up

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ ตั้งแต่ Hyper – Personalization ที่เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ หรือ Email Marketing ที่นิยมกันมาตั้งแต่ที่เราเริ่มใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างจริงจัง แต่การกลับมานิยมอีกครั้ง อาจเป็นเพราะหลายบริษัทที่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคแห่ง Data Driven ได้ไว และประสบความสำเร็จในการทำกลยุทธ์เมื่อได้นำ Big Data เข้ามาช่วย ถึงกระนั้น Big data อาจจะไม่เป็นประโยชน์สูงสุด และอาจเกิดความล้มเหลวในการวางแผนกลยุทธ์ได้ หากคุณนั้นไม่มีเป้าหมายในการใช้ Data และตอบไม่ได้ว่าจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร ใช้เครื่องมือไหนในการเก็บข้อมูล บางทีอาจจะต้องเริ่มจากตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อนที่จะวางแผนในสเตปต่อไป

สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂

Source :  https://www.smartdatacollective.com/big-data-is-shaping-huge-digital-marketing-trends/

“ความคิดเห็นเชิงลบ” มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

1. ความคิดเห็นเชิงลบสามารถสร้างความไว้วางใจของลูกค้าได้

เมื่อคุณไล่ดูคอมเมนต์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่มีแม้แต่การ Complain หรือความคิดเห็นเชิงลบเลย ก็ต้องมีสงสัยกันบ้าง ว่าสินค้าหรือเซอร์วิสอะไรที่ทำให้ลูกค้าพอใจมากขนาดนั้น จากการวิจัยของ Revoo ลูกค้า 95% สงสัยว่าการรีวิวในเชิงลบถูกเซ็นเซอร์ออกไป หรือถูกลบออกไป หรืออาจจะถูกสงสัยว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นของปลอม หากไม่เห็นรีวิวหรือความคิดเห็นในเชิงลบ และ 65% เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นเมื่อมีการรีวิวทั้งเชิงลบและเชิงบวกปนกันไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีแบรนด์ไหนสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง

2. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยให้ลูกค้าคนอื่นรู้สึกว่า “ได้รับข้อมูลใหม่”

ลูกค้าคนอื่นๆ จะเข้ามาอ่านบทวิจารณ์และอ่านคอมเมนต์เพื่อทำการตัดสินใจซื้อ เชื่อว่าหลายคนจะมองหารีวิวที่มีทั้ง Sponsored และ Non sponsored เพื่อที่จะได้นำมาพิจารณาว่าควรจะซื้อสินค้าบริการหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนไม่ได้พิจารณาจากเพียงบทความเดียว อย่างน้อยต้องมากกว่าหนึ่งบทความเพื่อชั่งน้ำหนักว่า ขอดีของสินค้าและบริการนั้นมีมากกว่าข้อเสียยังไง ยกตัวอย่างจาก Amazon เว็บ Ecommerce ชื่อดัง ได้ทำการตั้งค่าบทวิจารณ์ที่ลูกค้าสามารถดูสรุป พร้อมคะแนนโดยรวม และรายละเอียดตามระดับความชื่นชอบ โดยจะแสดง “บทวิจารณ์เชิงบวกที่เป็นประโยชน์มากที่สุด” และ “บทวิจารณ์เชิงลบที่มีประโยชน์สูงสุด” ตามที่ผู้ใช้ของ Amazon ได้ทำการโหวต

3. ความคิดเห็นเชิงลบเพิ่มโอกาสให้คุณได้ keep relationship กับลูกค้า


เป็นการดีที่แบรนด์จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเอาไว้จากการที่ลูกค้าเข้ามารีวิวไม่ว่าจะเชิงลบหรือเชิงบวก นั่นหมายความว่าแบรนด์ยังมีโอกาสได้แก้ตัวใหม่กับข้อผิดพลาด ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้าหายไปอย่างเงียบๆ หลังจากผิดหวังและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น นั่นอาจจะทำให้แบรนด์นั้น อาจสูญเสียลูกค้าไปแล้วก็เป็นได้


Jay Baer เจ้าของเว็บไซต์การตลาด กล่าวว่า ที่ธุรกิจต่างๆเลือกที่จะไม่ตอบรีวิวเชิงลบ นั้นเป็นเพราะไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นด้วยการตอบการรีวิว แบรนด์กลัวว่าหากโพสต์ตอบกลับคำร้องเรียนอาจจะเป็นการสุมไฟให้บานปลายขึ้น ซึ่งมันไม่เป็นความจริง การตอบคำวิจารณ์ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า กลับกัน การเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียน จะลดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและใหม่


4. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยเปิดเผยจุดบอด


เราจะไม่รู้เลยว่าข้อเสียของเราคืออะไร จนกระทั่งเริ่มเห็นลูกค้ารีวิวสินค้าและบริการในเชิงลบ ทำให้เผยให้เห็นจุดบอดเยอะแยะมากมายที่แบรนด์ไม่เคยรู้มาก่อน
เพราะฉะนั้น การ Complain จากลูกค้าอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้แบรนด์ของคุณนั้นพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้


Wrap up

การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ กลายเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งบนโลกออนไลน์ของลูกค้า ที่แบรนด์ควรจะรับมือให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น การชี้แจงปัญหา การวิพากษ์วิจารย์ การโจมตีแบรนด์ ซึ่งนั่นอาจจะสิ่งที่แบรนด์ไม่อยากพบเจอหรือให้เกิดขึ้นเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราไม่อาจเลี่ยงและจำเป็นที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้อย่างกล้าหาญ โดยจากข้อที่ 1 – 4 ที่กล่าวมานั้นอาจจะช่วยให้ท่านได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความคิดเห็นในเชิงลบจากลูกค้าเสียใหม่เพื่อที่จะได้รับมือกับความคิดเห็นในเชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Source : https://www.lifelearn.com/2019/09/10/the-benefits-of-negative-reviews-2/
https://www.socialmediatoday.com/news/how-to-deal-with-fake-negative-reviews-infographic/529688/


การปรับตัวของ Instagram และ youtube เมื่อ Tiktok กำลังเป็นที่นิยม

ปีที่แล้ว ทางบริษัท Facebook ได้ปล่อยแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอสั้นที่ชื่อว่า Lasso แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร Facebook จึงเล็งเห็นว่า Instagram สามารถเข้าถึงฐานของ Creator ที่มีอยู่ และจากความคุ้นเคยของ User ด้วยเครื่องมือตัดต่อวิดีโออย่าง Super zoom และ Boomerang อินสตาแกรม คิดค้นและปล่อยลูกเล่นใหม่ที่ชื่อว่า Reels ฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอสั้นคล้าย Tiktok บน Instagram ได้เปิดให้ลองใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศบราซิลเป็นประเทศแรก User ส่วนใหญ่ ต้องการให้ instagram มีการรวม Collection ของ Reels เป็นหลักเป็นแหล่ง ทั้งของ User และของคนอื่นๆ หลังจากที่ Reels ได้เริ่มเปิดให้ลองใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศษ Instrgram ได้ปรับเปลี่ยนให้ User สามารถเข้าดู Reels ของผู้อื่นได้ที่หน้า Explorer และสามารถย้อนดู Reels ของตัวเองได้ที่ Profile ความแตกต่างของ reels คือ ให้ผู้ใช้ Instagram สร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สามารถปรับความเร็วหรือเพิ่มแคปชั่นได้ และสามารถแชร์ลงฟีดหรือสตอรี่ได้ทันที วิดีโอเหล่านั้นจะยังคงความเป็นส่วนตัว ไม่สามารถดาวน์โหลด และแชร์ต่อได้อย่าง Tiktok ที่สามารถใช้เพลง เสียง ฟิลเตอร์ที่คล้ายกันเพื่อสร้างคลิปวิดีโอ ทั้งนี้ เครื่องมือการตัดต่อ ฟีเจอร์ Reels ของ Instagram อาจจะยังไม่หลากหลายเท่า Tiktok

ในส่วนของ youtube ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ และเริ่มต้นทดสอบบนมือถือที่จะให้ผู้ใช้บันทึกวิดีโอที่มีความยาว 15 วินาที เท่ากับค่าเริ่มต้นการบันทึกวิดีโอของ Tiktok
จะเห็นตัวเลือก “Create Video” มีวิธีใช้คล้ายกับ Tiktok โดยกดบันทึกค้างไว้เพื่อบันทึกคลิป และสามารถแตะอีกครั้งหรือปล่อยปุ่มเพื่อหยุดการบันทึก และทำแบบเดิมซ้ำจนกว่าคลิปวิดีโอจะครบ 15 วินาที ภายหลัง Youtube จะเพิ่มการควบคุมและคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น เอฟเฟ็กต์เพลง AR ฟิลเตอร์ต่างๆ หรือปุ่มเพื่อเปลี่ยนความเร็ววิดีโอ เป็นต้น
เชื่อว่าในยุคที่ผู้คนกำลังอินกับเทรนด์การตัดต่อวิดีโอสั้นๆกระชับแบบนี้ ที่กำลังฮิตติดกระแสในช่วงกักตัวโควิด 19 ก็ดี หรือ ช่วง New Normal ต่อจากนี้ก็ดี Platform ยอดฮิตอย่าง Youtube และ Instagram จะยังคงพัฒนาฟังค์ชั่นตัดต่อวิดีโอสั้น เพื่อให้ได้มีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์แบบสูสี Tiktok ได้อย่างแน่นอน

source : https://techcrunch.com/2020/06/25/youtubes-latest-experiment-is-a-tiktok-rival-focused-on-15-second-videos/

How to ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการทำ Personalization Marketing

เมื่อลูกค้าของคุณรู้สึกรำคาญใจเมื่อเราไปตามตอแย เสนอโปรโมชั่นแบบหว่านแห ทั้งๆที่เราเองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าจะสนใจมั้ย ทำไมแบรนด์ไม่ลองทำ Personalization เพื่อล่นระยะเวลาและเพิ่มความคุ้มค่า แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ถ้าจะให้ร่ายเรียงข้อดีของการทำ Personalization อาจจะมีเพียงสามสี่ข้อสำคัญที่ทำให้การตลาดของแบรนด์คุณนั้นพัฒนาขึ้น ข้อดีของการทำ Personalization มีดังต่อไปนี้

– การทำ Personalization จะทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์มากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

– ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้กับแบรนด์มากขึ้น

– ทำให้ relationship ของแบรนด์กับลูกค้าดีมากขึ้น

– ยุคการตลาดที่ล้วนใช้ Bigdata เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และ Technology ล้นมือ ทั้ง VR AI AR ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเข้าถึงข้อมูลพวกนั้นได้ง่ายขึ้น

นี่คือข้อดีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่อาจจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับแบรนด์ แต่ทว่าจะใช้ Social Listening tools เข้ามาช่วยในการทำ Personalization อย่างไร ทางเรามีวิธีมาบอกกล่าวกันถึง 3 วิธีด้วยกัน

1. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ชัดเจน

โดยสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ชื่อของแบรนด์ ชื่อของสินค้า หรือ Keyword อื่นๆที่ต้องการ เพื่อค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร มีทัศนคติอย่างไรบนโลกออนไลน์ ประโยชน์หลักของการใช้เครื่องมือ คือสามารถเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น และเราสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะตามความสนใจหรือพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา โดยสามารถติดตามผลได้อย่าง Real – time สิ่งที่ลูกค้าพบเจอ สิ่งที่ลูกค้าตำหนิ สิ่งที่ลูกค้าชื่นชม อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงผลทันทีบนหน้าจอ Dashboard ทำให้เราสามารถจัดระเบียบข้อมูลเพื่อทำการสรุปพฤติกรรมและบุคลิกของกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น

2. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ

Content is king คอนเทนต์คือพระเอกที่จะทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และมีเอกลักษณ์ จะสามารถสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้ดีที่สุด
เราอาจจะเริ่มด้วยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ ชื่อของแบรนด์ ชื่อของผลิตภัณฑ์ หรือ Set Keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกOnline มีทั้งการโฆษณา การรณรงค์ งาน Event ต่างๆต้องมีชื่องาน ชื่อHashtag  นอกจากนี้ ยังสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับคู่แข่ง สำรวจว่าคอนเทนต์แบบไหนประเภทใด คีย์เวิร์ดไหนที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุด  เพื่อศึกษาดังต่อไปนี้

1. หัวข้อ และประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. แฮชแท็ก และคีย์เวิร์ดใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

3. ใช้ Social Listening tools ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้า

แบรนด์อาจจะต้องมองหาช่องทางในการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าซักหน่อย หลังจากที่กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการแล้ว ก็อาจจะต้องสร้างความสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ โดยการที่เราได้ Set keyword ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกค้าของคุณใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด หากคุณมี Social Listening tools อยู่ในมือ จะช่วยให้คุณเห็นรีวิว หรือคำพูดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หากเจอคอมเมนต์ในแง่ลบ คุณสามารถตอบกลับหาลูกค้าของคุณได้ทันที และยังสามารถ Monitor ได้หลายแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น Facebook Instagram Twitter Pantip Blog และ News

นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถสอดส่องข้อมูลได้ครบ 360 องศาเลยทีเดียว

อีกทั้ง Socialenable ยังมีระบบในการติดตามและ assign งานให้ทีมต่างๆ ได้ ช่วยสร้างความพึงพอใจลูกค้าได้ในระยะยาว และยังแก้ปัญหาการตอบแชทซ้ำกัน สามารวัดผลการทำงานของ Agent เช่น วัดระยะเวลา ตอบเร็ว ตอบช้า หรือปริมาณที่ตอบ
สามารถจัดอันดับความสำคัญในการตอบคำถามได้อีกด้วย


#SocialEnable

Facebook ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่! “การส่งข้อความ” เพื่อการขายผ่านสื่อออนไลน์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรับ-ส่งข้อความด้วยแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องตระหนักว่าจะมีวิธีอย่างไรในการเข้าถึงเทรนด์ต่าง ๆ และทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ทางการตลาดจากกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้

ในการทำวิจัยครั้งนี้ Boston Consulting Group ได้ทำการสำรวจออนไลน์ ในกลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 8,864 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานทางข้อความ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่ใช้งานข้อความเพื่อการซื้อ-ขายสินค้า อย่างที่ทราบกันดีว่าข้อมูลสินค้าและราคาเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วความรวดเร็วในการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกัน ซึ่งนั่นชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆที่แบรนด์จะนำมาพัฒนาการบริการที่ดีขึ้น เช่น การตอบกลับลูกค้าโดยได้ทันทีทันใด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์

“ผู้บริโภคส่วนมากมีพฤติกรรมซื้อ – ขายผ่านทาง Social media และกว่า 90% การซื้อ-ขายจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Facebook (Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram)”
นั่นคือประเด็นสำคัญที่แบรนด์ต้องนำมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานให้มากขึ้น

“พฤติกรรมการซื้อ-ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นรับ-ส่งข้อความ ไม่ได้เติบโตเฉพาะแค่ในกลุ่มของผู้ซื้อขายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายอื่นๆเช่นกัน”

จากการวิจัยพบว่าการมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคแบบทันทีทันใด จะช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย ดังนั้นการใช้ข้อความตอบกลับแบบอัตโนมัติจึงช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ และยังเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่กลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ : คลิก

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/facebook-publishes-new-research-into-the-growth-of-messaging-for-commerce/563547/

6 ข้อผิดพลาดของการทำ Content marketing ที่ทำให้คุณล้มเหลว

ปัจจุบันการทำ Content marketing เป็นที่นิยมมาก อาจเป็นเพราะลงทุนในเม็ดเงินที่น้อย แต่อาจเพิ่มโอกาสในการขายได้สูง จากการสำรวจโดยสถาบันการตลาดพบว่า 92% บริษัทมองว่า content เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ดังนั้นนักการตลาดจำเป็นต้องมี Content marketing ที่ดีที่จะสามารถเพิ่ม Traffic ให้กับทุกๆแพลตฟอร์มที่เราได้ทำการตลาดลงไป และยังสามารถเพิ่ม ROI เพื่อให้ได้รับผลตอบลัพธ์ที่ดีที่สุด

1. ไม่มีการ Reusable content

การสร้าง content ที่มีคุณภาพ แน่นอนว่าต้องใช้ระยะเวลา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่นักการตลาดต้องสร้าง Content ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดบนช่องทางสื่อ social media ต่างๆ นักการตลาดสามารถเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อาจมีการปรับเปลี่ยนจากการโพสต์ใน blog เปลี่ยนเป็นการทำ infographic หรือ วิดีโอ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีในการใช้นำ content กลับมาใช้ใหม่ที่มีรูปแบบการโพสต์ลงสื่อ social ที่แตกต่างกันไป

2. ไม่มีการสร้างกลยุทธ์

นักการตลาดต้องสร้าง content ที่เป็นกลยุทธ์ในแต่ขั้นตอน และกระบวนการที่จะสามารถกระตุ้นกลุ่มผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมายได้ ให้มีการตอบสนองและการตระหนักรู้กับแบรนด์บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์บน blog หรืออาจจะเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบ E- books เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

3 ไม่ให้ความสนใจกับกลุ่ม User-generated content

User-generated content คือผู้บริโภคที่ผลิต content นั้นด้วยตัวเอง โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปจ้าง มีทั้งในรูปแบบ ถ่ายรูปสินค้า วิดีโอ หรือ blog จากการศึกษาของ Reevoo ผู้คน 70% มีความมั่นใจและเชื่อถือในสินค้าที่มาจากผู้ใช้จริงมากกว่า หากนักการตลาดไม่ให้ความสนใจในกลุ่มของ User-generated content ถือว่าพลาดโอกาสสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งนักการตลาดสามารถจัดแคมเปญที่ให้กลุ่ม User-generated content ได้มีส่วนร่วม ผ่านทางช่องทาง social media ต่างๆ เช่น Facebook และ Instagram เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์ได้มากขึ้นอีกด้วย

4. Content ไม่ได้รับอนุมัติ

ก่อนที่จะทำการเผยแพร่ content ลงบนสื่อ social media ต่างๆ นักการตลาดควรตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ เพื่อที่จะได้ทำการเผยแพร่ได้ในเวลาที่เหมาะเจาะ และนักการตลาดควรตรวจสอบการอนุมัติ content ในทุกขั้นตอนเพื่อติดตามผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย

5. ไม่มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของ Content

หนึ่งในข้อที่นักการตลาดทำผิดพลาดมากที่สุด คือการไม่ตรวจสอบประสิทธิภาพของ content บนแพลตฟอร์มก่อนโพสต์และหลังโพสต์ลงบน social media

ตัวอย่างเช่น เราควรตรวจสอบก่อนทุกครั้งว่า Content แบบไหนควรใช้กลยุทธ์แบบไหนก่อนโพสต์ทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด และควรดูผลลัพธ์หลังโพสต์ทุกครั้ง
ซึ่งนักการตลาดที่ดี ควรรอบรู้เรื่องของมาตรวัดต่างๆบนแพลตฟอร์มที่เราใช้ทำ Digital Marketing เพื่อที่จะได้นำมาวัดและประเมิณประสิทธิผล Content ทุก Content ที่เราได้ทำการอัพเดตผ่านแพลตฟอร์ม

6. ไม่มีการ Promote content

อาจเสียเปรียบอย่างมากถ้าไม่ลอง Promote Content ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง
ซึ่งมีแนวปฏิบัติ 80/20 คือใช้เวลา 20% ในการสร้าง Content และอีก 80% เพื่อ Promote ผ่าน Social media ต่างๆเช่น blog อีเมลล์ หรือที่นิยมกันก็คือการบูสต์โพสต์บนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊คอินสตาแกรม เป็นต้น

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/6-content-marketing-mistakes-youre-still-making-and-how-to-avoid-them/563047/

มีผลกระทบอย่างไร หาก Facebook ซ่อนยอดไลค์อย่างเป็นทางการ?

 

 

 

หากคุณนั้นดีใจกับยอดไลค์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้ลงรูปซักรูป และรู้สึกนอยด์ถ้าหากยอดไลค์น้อยตามที่ได้คาดหวังไว้ คุณอาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Platform ยอดนิยมอย่าง Instagram และ Facebook เมื่อในงาน F8 developer conference งานสัมมนาที่ทางบริษัทได้จัดขึ้นทุกปีเพื่ออัพเดทข่าวสารและนวัตกรรมใหม่ เผยถึงประเด็น Digital Well Being และอิงถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ที่มักจะโหยหาและเสพติดยอดไลค์เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบถึงสภาพจิตใจ และอาจเป็นปัญหาสะสม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นได้

 

 

(credit: https://techcrunch.com/2019/04/30/instagram-hidden-like-counter/)

 

เมื่อไม่นานมานี้ Instagram จึงเริ่มทดลองซ่อนจำนวนไลค์ โดยทดสอบที่ประเทศแคนาดาเป็นที่แรก และขยายเพิ่มอีก 6 ประเทศ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่เผยข้อมูลใด ๆ และยังไม่มีใครทราบได้ว่าการซ่อนสถิติที่เรียกว่า “ Like” ในอินสตาแกรมนั้นเวิร์คหรือไม่

ล่าสุดการซ่อนยอดไลค์ได้ลามมาถึงแพลตฟอร์ม Facebook เมื่อ Jane Manchun Wong นักวิจัยแอพพลิเคชั่นและบล็อคเกอร์ด้านเทคโนโลยี ได้โพสต์เกี่ยวกับยอดไลค์ที่ถูกซ่อนบนโพสต์ของเธอ ปรากฏเพียงแค่ชื่อของผู้ที่มา React และ Emoticon เท่านั้น

 

Image

(credit: https://twitter.com/wongmjane/)

 

จะเห็นได้ว่า Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับการซ่อนยอดไลค์ถึงขนาดลองเปิดใช้งานทั้งสองแพลตฟอร์มยอดฮิต จึงทำให้ชาวเน็ตตื่นตัวกับการทดสอบครั้งนี้ไม่น้อย แต่ทว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างหากมีการซ่อนยอดไลค์จริง? มีผลกระทบอย่างไรกับแบรนด์หาก Facebook ซ่อนยอดไลค์อย่างเป็นทางการ? ทาง SocialEnable ได้สรุปไว้ 4 ข้อ ดังนี้

1. หากยอดไลค์นั้นหายไป จะไม่สามารถวัดความความน่าสนใจของ Content ได้จากยอดไลค์ แต่ข้อดีคือ ผู้ใช้จะหันมาสนใจในเนื้อหา Content ของแบรนด์มากขึ้น

2. มีผลกระทบถึงการเลือก Influencer สำหรับโปรโมตแบรนด์ หรือการวัดผลของเนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์ที่ Influencer ได้ทำการโพสต์ไป เนื่องจากแบรนด์จะไม่สามารถเปรียบเทียบความนิยมของ Content ต่างๆได้จากยอดไลค์อีกต่อไป

3. ความกังวลเรื่องยอดไลค์ของผู้ใช้จะลดลง ยอดไลค์จะเริ่มไม่มีอิทธิพลในใจของผู้ใช้อีกต่อไป มาตรวัดอื่นจะมีบทบาทมากขึ้น

4. ไม่สามารถวัดความน่าเชื่อถือของโพสต์ หรือสร้าง First Impression ที่ดีได้จากยอดไลค์ ผู้ใช้อาจวัดความน่าเชื่อถือของโพสต์ได้จากมาตรวัดอื่น

 

เมื่อไม่นานมานี้ ทาง Techcrunch สำนักข่าวด้านเทคโนโลยีได้ติดต่อสอบถามทางบริษัท Facebook เกี่ยวกับการซ่อนยอดไลค์ครั้งนี้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และได้รับการตอบกลับมาว่าได้ทำการทดสอบจริง แต่ยังไม่ได้คอนเฟิร์มว่าจะดำเนินการซ่อนยอดไลค์ต่อไปในอนาคต อาจจะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะได้รับผลกระทบในทางลบน้อยที่สุด

 

 

 

7 มาตรวัดสำคัญ ที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม!

 

โซเชียลมีเดียที่เราเลือกใช้ทำการตลาดนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และทำให้เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย ประกอบกับแพลตฟอร์มต่างๆนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น การใช้มาตรวัดเก่าๆเดิมๆ อาจไม่ทำให้รู้ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง การทำดิจิตอลการตลาดยุคใหม่ จึงไม่ควรดูเพียงแค่ยอด Engagement หรือ Reach การศึกษามาตรวัดอื่นๆอาจจะทำให้คุณนั้นวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

1. Social reach

การวัดจำนวนผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูลของคุณแบบไม่ซ้ำกัน หมายความว่า 1 คน อาจจะเห็นโพสต์นี้กี่ครั้งก็ได้ แต่ Reach จะนับเป็น 1 ซึ่งจะแตกต่างจากค่า Impression ที่จะแสดงให้เห็นว่าโพสต์ที่มีคนเข้าถึงไปแล้วกี่ครั้งแบบซ้ำกัน

สรุปคือ

Impression คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่ครั้ง
Reach คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่คน

สองค่านี้สำคัญอย่างไรต่อแบรนด์?

 

 

ค่า Reach เป็นค่าที่บ่งบอกว่าเนื้อหาข้อความที่โพสต์นั้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด และสามารถวัดการเข้าถึงแคมเปญโฆษณาที่คุณได้เผยแพร่ออกไป และยังบ่งชี้ได้ว่าโฆษณามีประสิทธิภาพมากเพียงใด ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยค่าตัวเลขนี้จะส่งผลต่อค่าอื่นๆ เช่น ค่า Engagement จำนวนการคลิกลิงค์ และอื่นๆ

 

2. Bounce rate

Bounce rate เป็นเครื่องมือที่เอาไว้วัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณ ว่าสวยงามพอหรือไม่ น่าสนใจพอหรือเปล่า น่าดึงดูดให้เข้าชมมากน้อยแค่ไหน โดยจะวัดเป็นอัตราส่วน และบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้าเว็ปไซต์เพียงหน้าเดียวและก็ปิดไปโดยไม่เข้าไปหน้าอื่นๆของเว็บไซต์เลย ยิ่งมีอัตราสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่งชี้ได้ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ดึงดูดให้ผู้เข้าชมนั้นเลือกเสพในส่วนอื่นๆของเว็บไซต์  เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม อาจจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและน่าดึงดูดมากขึ้น เพื่อลดอัตราของ Bounce rate และถ้าทำ SEO ก็ส่งผลให้เว็บไซต์ได้อันดับดีๆอีกด้วย

 

3. Follower growth rate

อัตราการเติบโตของผู้ติดตามเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงว่าเนื้อหาของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนหรือไม่ ช่วยให้คุณพิจารณาว่าที่โพสต์เป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมของคุณได้รึเปล่า และโพสต์ของคุณสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่

สามารถวัดและติดตามอัตราการเติบโตของผู้ติดตามได้อย่างไร ทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะแสดงจำนวนผู้ติดตามของคุณและการเติบโต เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกณฑ์มาตรฐานผู้เข้าชม และตั้งค่าช่วงเวลาที่ต้องการเพื่อวัดค่า ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการดู Feedback ของแต่ละโพสต์คุณอาจจะดูความแตกต่างของผู้เข้าชมเพียงระยะสั้นๆ แต่หากคุณต้องการทำความเข้าใจ Feedback ของแคมเปญ คุณจะต้องดูความแตกต่างในระยะยาว หากอัตราการเติบโตของคุณไม่ดีพอ ให้ลองเปลี่ยนแปลงความของถี่โพสต์ หัวข้อเนื้อหา รูปแบบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น โพสต์เนื้อหาภาพข้อความสลับกับวิดีโอ เป็นต้น

 

4. Engagement

 

 

Engagement ที่แปลว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้า แล้วค่า Engagement นั้นสำคัญไฉน?

เพราะมันแสดงให้เห็นว่า มีคนจำนวนเท่าใดที่โต้ตอบกับเนื้อหาของคุณ คุณอาจพบว่าผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ในรูปแบบวีดิโอ มากกว่า infographic หรือสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนมีแนวโน้มที่จะได้รับค่า Engagement มากในอนาคต ค่า Engagement จะบ่งชี้ว่าแบรนด์ของคุณเชื่อมโยงกับลูกค้าของคุณมากน้อยเพียงใด โดยได้มาจากยอด “ไลค์ คอมเม้นต์ แชร์ เซฟ” หรือการมึปฏิสัมพันธ์กับคอมเทนต์นั้นๆนั่นเอง

มีมากมายหลายวิธีมากมายที่ยังสามารถช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับแบรนด์ของคุณได้ วิธียอดฮิตที่เหล่า Digital Marketing ทำกันเป็นประจำ ก็ไม่พ้นการซื้อ Ad บูสท์โพสต์ แต่ก็มักจะได้ค่า Engagement ที่ไม่มีคุณภาพ วิธีเพิ่มค่า Engagement ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท คือ…

  • Content ต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูด
  • โพสต์ในเวลาที่เหมาะสม
  • ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ได้ตั้งไว้

 

 

5. Sentiment

 

 

อารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเรามีภาพลักษณ์แบบไหนในสายตาของลูกค้า  โดยผ่านกระบวนการคัดกรองข้อความบน Social Media ผ่านโครงสร้าง Algorithm ได้ Output ออกมาและแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้

  • Positive การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
  • Nuetral การแสดงความคิดเห็นแบบเป็นกลาง
  • Negative การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ

หากเราเห็นค่าของของอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายไปในทิศทางที่เป็นลบมากเกินไป แบรนด์จะต้องหาทางแก้ไขโดยการฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ คอยดูความเคลื่อนไหวต่างๆของผู้บริโภค เสียงของผู้บริโภคที่อยู่บนโลก Social ผ่านการ Monitor และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่น ลูกค้าไม่พอใจในการบริการของแบรนด์ และโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์เพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ หากแบรนด์ไม่แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจเกิดการแชร์ต่อ และอาจจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย

 

6. Social media audience demographics

บุคคลที่สำคัญต่อแบรนด์ คือ ลูกค้า  และสถิติสำคัญ ก็คือการรวบรวมข้อมูลต่างๆของกลุ่มลูกค้า Demograpic  คือ ข้อมูลประชากร หรือข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามประเภทคุณลักษณะของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น อายุ เพศ ที่อยู่อาศัย การศึกษา รายได้ ฐานะทางสังคม และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพกลุ่มประชากรเป้าหมายของคุณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มหรือโอกาสทางการตลาดได้เช่นกัน

สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่เข้าเยี่ยมชม Facebook Page หรือ Instagram Account ได้ที่ Facebook Audience Insights แล Instagram Insights หรอหากเป็นแพลตฟอร์มอื่น ก็สามารถเข้าถึงการดูข้อมูลเชิงลึกได้เช่นกัน

 

7. Fan base

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญต่อแบรนด์ ยิ่งเป็นลูกค้าที่คอยเกื้อหนุนแบรนด์ ช่วยโปรโมทแบรนด์ของคุณ เป็นแฟนคลับแบรนด์ของคุณ หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า Brand Royalty กลุ่มลูกค้าผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์  นอกจากจะรู้จำนวนและข้อมูลของกลุ่มลูกค้าคร่าวๆแล้ว ก็ควรที่จะต้องคำนวณแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณด้วย โดยสามารถวัดได้จากการที่พวกเขาติดแท็กเป็นประจำ พูดถึงแบรนด์เป็นประจำ แชร์และรีวิวด้วยทัศนคติในเชิงบวกอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะดูวิดีโอของคุณและช่วยกดแชร์อยู่เสมอ หรือติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด กดไลค์ กดแชร์ และช่วยสร้าง Engagement ที่มีคุณภาพให้กับเพจของคุณ

ทำไมถึงต้องรู้อัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มลูกค้าในระดับ Loyal Customer

เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่คอยซัพพอร์ทแบรนด์อยู่เสมอ จึงควรที่จะต้องรู้อัตราการเติบโตหรือถดถอยของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ หากมีอัตราการถดถอยของกลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดี ก็ควรเฟ้นหาวิธีรักษาฐานลูกค้าที่อยู่ในระดับ Loyal Customer  ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้ากลุ่มเก่าที่ทีที่สำคัญกว่าการสร้างฐานลูกค้าใหม่ เช่น การคิดค้นโปรโมชั่นสำหรับ Member Card   การให้ Service ที่เหนือกว่า เป็นต้น

 

 

Source :  https://contentmarketinginstitute.com/2019/07/social-media-metrics-brand/

 

 

 

ทำไมแบรนด์ต้องสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer ?

 

 

ผู้บริโภคลังเลที่จะเชื่อ Message ที่แบรนด์จะสื่อบนโลกออนไลน์ มากกว่า 25% ของนักท่องอินเทอร์เน็ต มักจะบล็อกโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่กลับให้ความสนใจกับ Influencer บุคคลที่มีสไตล์ส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป และความสามารถในการดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า สิ่งที่พวกเขาใส่ ที่ที่พวกเขาไปเที่ยว และ สิ่งที่พวกเขาฟัง ทั้งหมดนี้อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้เหล่า Followers ได้ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องมองหาโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยการแทรกผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ลงไปใน Content ต่างๆ ของ Influencer

นักการตลาดมักมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำหรับโฆษณาที่มีต้นทุนต่ำ จากมุมมองนี้ Influencer เป็นเพียงแค่กลยุทธ์แรกในการผลักดันยอดขาย ด้วยการสร้างการรับรู้และการมองเห็นผ่านนำเสนอผลิตภัณฑ์บนสื่อออนไลน์ บนพื้นฐานแล้วนั้น แบรนด์เลือก Influencer จากจำนวนของผู้เข้าชม (View) และเจรจาแต่ละสัญญาตามเกณฑ์ของในแต่ละแคมเปญ จากนั้น แบรนด์จะติดตาม และประเมินประสิทธิภาพของ Influencer รายนั้น ๆ หาก Influencer ไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นในแคมเปญถัดไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Influencer หลายคนได้ผันตัวเป็น Influencer มืออาชีพ และปรารถนาที่จะร่วมมือกับแบรนด์ในฐานะพาร์ทเนอร์มากขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกรวมกันทั้งหมด 27 ครั้งกับ Influencer และกรณีศึกษาเพิ่มเติม ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องสำอาง เผยให้เห็นว่า influencer นั้น ไม่พอใจและรู้สึกหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาและนักการตลาด

    

 

‘มาเรียน’ บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามมากถึง 129,000 คนในอินสตาแกรมกล่าวว่า “เมื่อแบรนด์ได้ติดต่อฉันมา อย่างแรกที่ฉันจะดู คือหัวอีเมล ถ้าพวกเขาพิมพ์มาว่า “Hello” หรือ “Dear, Blogger” ฉันไม่แม้แต่จะอ่านมันเลย แถมลบมันทิ้งด้วยซ้ำ ชื่อของฉันคือมาเรียน และถ้าคุณติดตามบล็อก คุณก็ต้องรู้จักชื่อฉันสิ ฉันต้องดูว่าคุณรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับฉันมากน้อยแค่ไหน”

L ‘Oréal  Paris ก็ใช้วิธีเดียวกันโดยการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับ Influencer ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและ Ambassador ที่เข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ เผยแพร่ด้วย Content “How to” เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับแพลตฟอร์มทั้งหมดของ L ‘Oréal  การร่วมมือได้ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์และ Influencer

และแน่นอน วิธีการใช้ Influencer มาพร้อมกับเงินมากมายที่เราต้องจ่าย และเพื่อความคุ้มค่าที่สุด แบรนด์จึงต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของ Influencer ให้ถ่องแท้ พึงพิจารณาอยู่เสมอว่าใครกันที่มีภาพลักษณ์นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ตรงตามคอนเสปที่ต้องการมากที่สุด เลือกเหล่า Influencer ดั่งเราเลือก Ambassdors ปฏิบัติและให้ความสำคัญเปรียบเสมือนเพื่อนที่คุณสนิท แสดงความจริงใจกับเหล่า Influencer อยู่เสมอ เพราะพวกเขาคืออีกหนึ่งตัวแทนในการสื่อสาร และเป็นบุคคลที่จะช่วยสนับสนุนแบรนด์ได้จากความต้องการของตัวเอง หากแบรนด์นั้นทำให้ Influencer ประทับใจ พวกเขาก็พร้อมเต็มใจเป็นกระบอกเสียง สื่อสารและนำเสนอแบรนด์ให้กับแฟน ๆ หรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตามการวัดผลวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพของ Influencer ในแต่ละแคมเปญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์อาจจะต้องใช้เครื่องมือในการติดตามความเคลื่อนไหวของ Influencer และติดตาม Social Voice ต่างๆ เกี่ยวกับบิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ และบล็อกเกอร์อื่นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียหลาย ๆ แพลตฟอร์ม  ‘SocialEnable 4.0’ เครื่องมือที่สามารถบริหารจัดการทั้ง Owned Media ของตัวเอง และ Social Listening Tools (หรือที่เรียกกันว่า Earned Media)  เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหา Influencer ที่เข้ามาช่วยโปรโมทผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกโซเชียลว่า “คิดอย่างไร” และวัดได้ว่า “Influencer คนไหนกำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้” อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และวัดผล Influencer ที่ได้ร่วมมือกับทางแบรนด์ในแคมเปญต่าง ๆได้ ว่า แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ถือว่าครบวงจรในเครื่องมือเดียว

 

source : https://hbr.org/2019/04/how-brands-can-build-successful-relationships-with-influencers

 

 

แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!

เชื่อว่าหลายๆท่านที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องเคยเขียน Caption [คำบรรยายใต้ภาพ] มากันบ้างพอสมควร

SocialEnable ขอนำเสนอวิธีการเขียน Caption แบบ ปกติ แต่โพสออกไปถึง 2 ภาษา

มีวิธีการง่ายๆดังนี้ครับ Continue reading “แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!”

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable