Tag: #SocialEnable #SocialListeningTools #Influencer

4 Steps สร้าง Content ยังไงให้โดนใจลูกค้า ด้วย Empathy Map

Content คือ หัวใจสำคัญของการสื่อสารในยุค Digital จึงทำให้เกิดประโยคที่ว่า Content is King

คอนเทนต์ที่ดี จะต้องเป็นคอนเทนต์ที่สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า และปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า บวกกับใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปให้มีความน่าสนใจ โดยสิ่งที่ห้ามลืมในการสร้างคอนเทนต์ คือการใส่ Empathy ลงไปในการทุกๆไอเดีย

Empathy ที่แปลในภาษาอังกฤษว่า ความเข้าอกเข้าใจ

การคิดอย่างมี Empathy จึงมีความสำคัญ เพราะมันคือ เคล็ดลับที่ทำให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้

โดย Empathy เป็นเรื่องของความเข้าใจ หรือการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” และการเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้า ความรู้สึกของลูกค้า ทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อหรือใช้บริการไปแล้ว ความสามารถในการเข้าใจ นับว่าบทเรียนพื้นฐานที่ควรเรียนรู้ เมื่อเราเข้าใจถึงการมี Empathy ก็จะส่งผลดีในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความเข้าอกเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆและทีมงาน เพื่อที่บริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการขายสินค้าบริการที่จะต้องเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างคอนเทนต์ที่ดี ที่จะต้องรู้ถึงความต้องการ และความสนใจของลูกค้าก่อนจะสร้างคอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่ง

นับว่า Empathy เป็นกล้ามเนื้อที่สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และเป็นรากฐานที่ทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆนั้นแข็งแรง แต่ก่อนอื่น เราอาจจะต้องออกกำลังกาย ฝึกฝนที่จะเข้าอกเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น ฟังผู้เสียงลูกค้าให้มากขึ้นเสียก่อน การสร้างคอนเทนต์ที่ต้องใช้ความเข้าใจลูกค้า ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียว

เคล็ดลับ 5 ข้อเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณได้ไอเดียสำหรับคิด Content น่าสนใจๆได้โดย โดยใช้หลัก Empathy map

1. รับฟังเสียงลูกค้าบนโลกออนไลน์

ทุกๆแพลตฟอร์มใหญ่เป็นส่วนหนึ่งใน Customer Journey ลูกค้ามักใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์เสียส่วนใหญ่ ทั้งการเสพ และอัพเดตข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และอื่นๆ นับว่าในยุค Internet Of things ทุกๆแพลตฟอร์มที่ลูกค้าอยู่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากขึ้น นับได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งในการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ และใช้เป็นการบอกต่อหลังได้ซื้อสินค้าและบริการแล้ว ทำให้เราต้องคอยสอดส่องลูกค้าบนโลกออนไลน์อยู่เสมอ เพื่อให้ได้ Insight มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าต่อไป การฟังเสียงลูกค้า ทำให้เราได้รู้ Insight โดยไม่ต้องเสียเวลาทำ Servey และนั่นเป็นข้อดีที่ทำให้แบรนด์ใหญ่ๆหันมาใช้ Tool นี้กันมากขึ้น

เมื่อเรารู้ Insight หรือความต้องการลึกๆในใจของลูกค้าแล้ว ก็คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำการสื่อสาร หรือสร้างคอนเทนต์ปังๆให้ตรงใจลูกค้าทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่

2. หาจุดสนใจ จากความต้องการของลูกค้า และจุดแข็งของแบรนด์

แม้ว่าเราอาจจะผุดไอเดียที่น่าสนใจสำหรับการสร้างคอนเทนต์ที่ดีได้แล้วแล้ว การเน้นเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะคุณยังขาดความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าของคุณอยู่ หากไม่ต้องการให้คอนเทนต์ที่โพสต์ไปนั้นเปล่าประโยชน์ ก็อาจจะต้องคำนึงถึงความต้องการจริงๆของลูกค้าเสียก่อน การใส่ใจลูกค้า ไปพร้อมกับการคิดคอนเทนต์ อาจเริ่มง่ายๆโดยการ วาดแผนภาพเป็นวงกลมสองวง ในวงแรกให้ระบุสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจในแบรนด์เกี่ยวกับแบรนด์ มีพฤติกรรมและมีความคิดอย่างไรเกรี่ยวกับแบรนด์ และวงที่สองให้ระบุถึงจุดแข็งของแบรนด์ ข้อแตกต่างที่เรามีจากคู่แข่งในพื้นที่ที่วงกลมทั้งสองประสานกันที่เรียกว่า Sweet spot ให้จับคู่กลุ่มเป้าหมายและความสนใจที่มาจากแบรนด์อาจจะลองใช้ประเด็นสำคัญเหล่านั้น มาต่อยอดในการคิด Topic หรือเนื้อหาคอนเทนต์ได้


3. สร้าง Empathy Map

Empathy Map อีกวิธีที่ช่วยในการทำความเข้าใจ และแสดงให้เห็นภาพว่าลูกค้าคิดและรู้สึกอย่างไร หยิบแผ่นกระดาษและสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัส ในแต่ละส่วนให้จดสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้ลงไปใน Map

  • Think and Feel อะไรที่กลุ่มเป้าหมายคิด และรู้สึกในขณะที่กำลังใช้สินค้า อะไรที่เป็นปัญหาตอนที่กำลังใช้สินค้าหรือบริการ เช่น สินค้าใช้ไม่ดีเหมือนที่ได้บอกสรรพคุณไว้
  • See Touchpoint ต่างๆที่ลูกค้าเห็น โฆษณา หน้าร้าน ชุดพนักงาน การให้บริการ สี โลโก้ หรือสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้ด้วยการมอง เช่น เห็นพนักงานบริการกับลูกค้าอีกท่านหนึ่งไม่ดี
  • Does & Says อะไรที่กลุ่มเป้าหมายอาจจะพูด หรือทำในขณะที่กำลังใช้สินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์นี้ใช้ดีจนต้องบอกต่อให้เพื่อนไปซื้อมาใช้บ้าง
  • Hear การรับรู้ผ่านการได้ยิน และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ได้ยินเพื่อนบอกมาว่ามีโปรโมชั่นใหม่
  • Pain ปัญหาของลูกค้าที่เจอขณะใช้สินค้าและบริการคืออะไร อะไรที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อสินค้าและบริการ อุปสรรคในขณะที่ใช้สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง
  • Gain สินค้าและบริการมีประโยชน์อะไร ตอบโจทย์ตรงไหนบ้าง บอกถึงประสบการณ์ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในแง่บวก

โดยเราสามารถวิเคราะห์แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างคอนเทนต์ได้ เช่น หากลูกค้าได้ยินว่ามีโปรโมชั่นจากการบอกปากต่อปาก แบรนด์อาจจะทำการสร้าง Awarness ในเรื่องของ Promotion ผ่านการโพสต์คอนเทนต์อัพเดตโปรโมชั่นรายเดือน เพื่อย้ำเตือนลูกค้าอีกครั้ง หรือหากพบเจอปัญหาส่วนใหญ่ของลูกค้า ว่าไม่ค่อยเข้าใจการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หรือสรรพคุณเท่าที่ควร แบรนด์อาจจะโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบของ How to และการให้ information เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ


4. สร้างคอนเทนต์ให้ตรงใจ

  • คิด Concept Idea ก่อนสร้างคอนเทนต์
    ก่อนจะเขียนคอนเทนต์ เราต้องคิดคอนเสปไอเดียก่อน เพื่อตีกรอบให้กับการสร้างสรรค์เนื้อหาทุกรูปแบบ เราอาจจะต้องกำหนดไอเดีย เป็นการกำหนดกรอบของการเล่าเรื่อง เพื่อที่จะได้เขียนเนื้อหาภายใต้กรอบของไอเดียนั้นๆ หลังจากนั้นเลือกแพลตฟอร์มและประเภทคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า
  • วางมู้ดแอนด์โทนในการนำเสนอคอนเทนต์ ว่าต้องการให้มีมู้ดแบบไหน จริงอยู่ที่ภาษาไม่มีเสียง แต่บางประโยคหรือบางข้อความก็ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านได้เลย
  • เรียงลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง ลูกค้าจะใช้เวลาตัดสินใจในการเลือกที่จะเสพคอนเทนต์หรือไม่ เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น การจัดรูปแบบเนื้อหาจึงเป็นเรื่องสำคัญ การเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อ ต้องมีความน่าสนใจดึงดูดให้ลูกค้ากดเข้าไปอ่านได้ทันที เกริ่นนำ เนื้อหา และบทสรุป ต้องแยกชัดเจน หรืออาจเป็นเป็น Bullet ให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยบทสรุปอาจจะต้องมีการสรุปหรือย่อให้สั้นลง หรือเป็นการทิ้งท้ายให้ผู้อ่านได้คิดตาม
  • หาวิธีสร้าง Lead จากคอนเทนต์ อาจจะมีการสร้าง Call to action หรือเปิดช่องทางการให้คำแนะนำ หรือซื้อสินค้าได้เลยทันที โดยสามารถสร้าง Call to action หรือ Landing page เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าไปสู่ขั้นตอนของการให้คำแนะนำและบริการ และการตัดสินใจซื้อ


Wrap – Up

สุดท้ายนี้ คอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพ อาจไม่ใช่คอนเทนต์ที่ยอด Engagement สูง หรือคอนเทนต์ที่เป็นไวรัล แต่เป็นคอนเทนต์ที่สร้างโอกาสในการขายให้กับแบรนด์ เพราะถ้ายอดไลค์สูง หรือมีคนเข้ามาคอมเม้นต์ใต้โพสต์เยอะๆ แต่ไม่มี Lead เข้ามาซักราย ก็เปล่าประโยชน์ใช่มั้ยล่ะคะ เพราะฉะนั้น ต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายในธุรกิจของตัวเอง ไปพร้อมกับหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วยว่าทำไมถึงต้องซื้อหรือใช้บริการของแบรนด์คุณ หากเรียนรู้ทุกความต้องการของลูกค้า ค่อยฟังเสียงลูกค้าซักหน่อย นอกจากจะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มลูกค้าเดิมได้แล้ว ก็ยังดึงดูดให้ลูกค้าใหม่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการ และอาจจะกลายเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีให้กับแบรนด์ของคุณในอนาคตก็ได้นะคะ



Source : https://contentmarketinginstitute.com/2020/06/empathetic-content-brand-examples/

3 วิธีปกป้องแบรนด์จาก FAKE NEWS ด้วย Social Listening Tool

Step 1: Respond directly

สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือการตอบกลับถึงผู้ที่ปล่อยข่าวปลอมโดยตรง ถ้าเป็นการทวีต หรือโพสต์เฟสบุ๊ค ก็สามารถตอบกลับแบบ Reply หรือคอมเมนท์ใต้โพสต์ด้วยคำสุภาพและเป็นมิตร โดยเนื้อหาในการตอบกลับควรเป็นการไขข้อข้องใจ หรืออธิบายให้กระจ่าง มากที่สุด และชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่เป็นความจริง การตอบกลับนั้นจะไปอยู่ใต้โพสต์ของ Fake news หรืออยู่ใน thread ซึ่งจะแสดงผลใต้โพสต์ Fake news ทุกครั้งเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นๆเข้ามาอ่าน

Step 2: Find and respond to people reacting

ถึงเวลาที่เราจะต้องรับมือกับม็อบบนสื่อออนไลน์ที่เข้ามาโจมตีหรือใส่ไฟให้กับข่าวปลอม ปัญหาคือเราในอยู่ยุคที่ Internet เข้าครอบงำ ทำให้ทุกๆคอนเทนต์ง่ายต่อการเผยแพร่และง่ายต่อการเสพ แบรนด์จึงไม่มีเวลาให้แก้ปัญหาได้ทันเหมือน Crisis เมื่อ fake news ถูกเผยแพร่ออกไปบนแพลตฟอร์มแล้วนั้น ก็อาจจะต้องสูญเสียภาพลักษณ์แบรนด์ไปแล้วส่วนหนึ่ง เพราะความรวดเร็วของการแพร่กระจาย สื่อ แพลตฟอร์มต่างๆที่เอื่ออำนวย และไม่ใช่ยูสเซอร์ทุกคนที่มี media literacy อาจจะทำให้ยากต่อการเรียกคืนความไว้เนื้อเชื่อใจต่อแบรนด์ แต่ถึงกระนั้น แบรนด์ควรค้นหาลูกค้าที่เป็นบุคคลสำคัญ ลูกค้าที่เป็น Brand Loyalty เพื่อที่จะติดต่อหาโดยตรงเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับข่าวปลอม โดยใช้ Social Listening Tools เพื่อดูการแพร่กระจายของของข่าว และค้นหาผู้ใช้ที่เป็นลูกค้าของเราที่กำลังพูดถึง Fake News จากนั้นคุณสามารถตอบสนองลูกค้าเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง

Step 3 : Use content to set the facts straight

วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยหยุดยั้งความเชื่อผิดๆของผู้คน ด้วยการแทนที่ด้วยเนื้อหาที่อธิบายข้อเท็จจริง ที่จะช่วยแก้ไขข้อมูลที่ผิด และช่วยซ่อมแซมชื่อเสียงที่เสื่อมเสียไป กุญแจสำคัญคือกลยุทธ์  หรือเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิด Engagement 

หากแบรนด์กำลังโดนโจมตีเรื่องการให้บริการลูกค้าและตีความแบบผิดๆ สิ่งแรกที่ควรทำคือควรหยุดคอนเทนต์ที่แพลนเอาไว้ก่อน และสร้างคอนเทนต์ที่เป็นข้อเท็จเท่านั้น หากคุณกำลังโพสต์คอนเทนต์หัวข้ออื่นๆตามแพลนที่ได้วางไว้ โดยไม่เกี่ยวกับ Fake news ที่เกิดขึ้น  ผลคือ ผู้คนและลูกค้าอันเป็นที่รักของคุณจะมองว่าแบรนด์กำลังพยายามบ่ายเบี่ยงข้อกล่าวหานั้นๆ ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำคอนเทนต์ เราควรเช็คดูว่ามีข่าวประเภทไหนที่โจมตีเราบ้าง ประเด็นไหนที่ไม่เป็นความจริง ประเด็นไหนที่คนเข้าใจผิดเยอะที่สุด ต้นตอของข่าวปลอมอยู่ตรงไหน เราสามารถเช็คได้ด้วย Social Listening Tools ด้วยการเซ็ท Monitoring Keyword และลองดูว่าแบรนด์กำลังมีประเด็นอะไรที่กำลังกลายเป็น Talk of the town เราสามารถจับประเด็นเหล่านั้นมาทำคอนเทนต์ สมมุติว่า Fake news คือมีคนตีความนโยบายการจ้างงานของบริษัทคุณแบบผิดๆและมีการแชร์โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้จนกลายเป็นไวรัลไปเสียแล้ว คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีการสอดแทรกความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อเรียกคืนความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจกลับมา 

ทำไมแบรนด์ต้องสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer ?

 

 

ผู้บริโภคลังเลที่จะเชื่อ Message ที่แบรนด์จะสื่อบนโลกออนไลน์ มากกว่า 25% ของนักท่องอินเทอร์เน็ต มักจะบล็อกโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่กลับให้ความสนใจกับ Influencer บุคคลที่มีสไตล์ส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป และความสามารถในการดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า สิ่งที่พวกเขาใส่ ที่ที่พวกเขาไปเที่ยว และ สิ่งที่พวกเขาฟัง ทั้งหมดนี้อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้เหล่า Followers ได้ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องมองหาโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยการแทรกผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ลงไปใน Content ต่างๆ ของ Influencer

นักการตลาดมักมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำหรับโฆษณาที่มีต้นทุนต่ำ จากมุมมองนี้ Influencer เป็นเพียงแค่กลยุทธ์แรกในการผลักดันยอดขาย ด้วยการสร้างการรับรู้และการมองเห็นผ่านนำเสนอผลิตภัณฑ์บนสื่อออนไลน์ บนพื้นฐานแล้วนั้น แบรนด์เลือก Influencer จากจำนวนของผู้เข้าชม (View) และเจรจาแต่ละสัญญาตามเกณฑ์ของในแต่ละแคมเปญ จากนั้น แบรนด์จะติดตาม และประเมินประสิทธิภาพของ Influencer รายนั้น ๆ หาก Influencer ไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นในแคมเปญถัดไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Influencer หลายคนได้ผันตัวเป็น Influencer มืออาชีพ และปรารถนาที่จะร่วมมือกับแบรนด์ในฐานะพาร์ทเนอร์มากขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกรวมกันทั้งหมด 27 ครั้งกับ Influencer และกรณีศึกษาเพิ่มเติม ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องสำอาง เผยให้เห็นว่า influencer นั้น ไม่พอใจและรู้สึกหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาและนักการตลาด

    

 

‘มาเรียน’ บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามมากถึง 129,000 คนในอินสตาแกรมกล่าวว่า “เมื่อแบรนด์ได้ติดต่อฉันมา อย่างแรกที่ฉันจะดู คือหัวอีเมล ถ้าพวกเขาพิมพ์มาว่า “Hello” หรือ “Dear, Blogger” ฉันไม่แม้แต่จะอ่านมันเลย แถมลบมันทิ้งด้วยซ้ำ ชื่อของฉันคือมาเรียน และถ้าคุณติดตามบล็อก คุณก็ต้องรู้จักชื่อฉันสิ ฉันต้องดูว่าคุณรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับฉันมากน้อยแค่ไหน”

L ‘Oréal  Paris ก็ใช้วิธีเดียวกันโดยการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับ Influencer ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและ Ambassador ที่เข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ เผยแพร่ด้วย Content “How to” เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับแพลตฟอร์มทั้งหมดของ L ‘Oréal  การร่วมมือได้ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์และ Influencer

และแน่นอน วิธีการใช้ Influencer มาพร้อมกับเงินมากมายที่เราต้องจ่าย และเพื่อความคุ้มค่าที่สุด แบรนด์จึงต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของ Influencer ให้ถ่องแท้ พึงพิจารณาอยู่เสมอว่าใครกันที่มีภาพลักษณ์นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ตรงตามคอนเสปที่ต้องการมากที่สุด เลือกเหล่า Influencer ดั่งเราเลือก Ambassdors ปฏิบัติและให้ความสำคัญเปรียบเสมือนเพื่อนที่คุณสนิท แสดงความจริงใจกับเหล่า Influencer อยู่เสมอ เพราะพวกเขาคืออีกหนึ่งตัวแทนในการสื่อสาร และเป็นบุคคลที่จะช่วยสนับสนุนแบรนด์ได้จากความต้องการของตัวเอง หากแบรนด์นั้นทำให้ Influencer ประทับใจ พวกเขาก็พร้อมเต็มใจเป็นกระบอกเสียง สื่อสารและนำเสนอแบรนด์ให้กับแฟน ๆ หรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตามการวัดผลวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพของ Influencer ในแต่ละแคมเปญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์อาจจะต้องใช้เครื่องมือในการติดตามความเคลื่อนไหวของ Influencer และติดตาม Social Voice ต่างๆ เกี่ยวกับบิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ และบล็อกเกอร์อื่นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียหลาย ๆ แพลตฟอร์ม  ‘SocialEnable 4.0’ เครื่องมือที่สามารถบริหารจัดการทั้ง Owned Media ของตัวเอง และ Social Listening Tools (หรือที่เรียกกันว่า Earned Media)  เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหา Influencer ที่เข้ามาช่วยโปรโมทผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกโซเชียลว่า “คิดอย่างไร” และวัดได้ว่า “Influencer คนไหนกำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้” อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และวัดผล Influencer ที่ได้ร่วมมือกับทางแบรนด์ในแคมเปญต่าง ๆได้ ว่า แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ถือว่าครบวงจรในเครื่องมือเดียว

 

source : https://hbr.org/2019/04/how-brands-can-build-successful-relationships-with-influencers

 

 

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable