3 Step | Email Marketing Personalization ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วเกี่ยวกับการทำ Email Marketing ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย คราวนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปที่การทำ Email Personalization มากขึ้น โดยที่จะแบ่งเป็น Step ของการทำ Email Personalization ให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งอีเมลของคุณได้ไม่มากก็น้อยเลยครับ
- ( การทำ Email Personalization คือ การส่งเมล์ไปหาบุคคลคนนั้นได้แบบเฉพาะเจาะจง ผ่านการสมัครสมาชิกหรือกดรับติดตามข่าวสาร โดยการใช้อีเมล์เป็นตัวยืนยันข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อดีของการทำ Email Personalization คือสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่าแบรนด์ให้ความสำคัญแบบส่วนตัว รวมถึงการเสนอสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ที่ตรงใจกับลูกค้า )\
กำหนดทิศทางของ Email ที่เราจะส่งออกไป
สิ่งสำคัญที่สุด ควรเริ่มจากการวางทิศทางของ การทำ Email Personalization ว่าจุดประสงค์เราทำเพื่อจะให้ผู้อ่านเห็นอะไร ที่ผู้อ่านอยากเห็นมากที่สุด เพราะเขาเหล่านั้นมีโอกาส Unsubscribe ได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราต้องรู้ที่มาของ Email ที่เราได้มา เช่น ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าที่มียอดซื้อบ่อยที่สุด ซื้อจำนวนมากที่สุด หรือลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าที่ลงทะเบียนในงาน event ของเรา เป็นต้น และทำการจัดกลุ่มของลูกค้าเหล่านั้น และคิดเนื้อหาที่ต้องการจะนำเสนอ
รีวิว Email ที่ใช้ในการส่งไปหาลูกค้า
ใน Email 1 ฉบับประกอบด้วยหลายส่วน เราลองมารีวิวทีละส่วนของ Email เพื่อใช้ใน การทำ Email Personalization โดยเริ่มจาก
- Subject line – ควรใช้ข้อความที่น่าสนใจดึงดูดให้คนกดเข้ามาอ่าน ใช้ข้อความที่ต้องการจะสื่ออยู่ประโยคแรกสุด เพราะข้อความจะถูกตัดลดลงเมื่ออยู่ในมือถือ
- Preview text – เป็นส่วนที่อยู่ต่อจาก subject line ที่หลายคนมองข้าม แต่เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนคลิกเข้ามาอ่านไม่แพ้กับ subject line ซึ่งส่วนนี้ อาจจะใส่ชื่อของลูกค้า หรือข้อความเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ลูกค้ากดเข้ามาอ่านได้
- Hero – ในส่วนของ Hero คือเนื้อบนสุดหลังจากลูกค้าคลิกเข้ามาเพื่ออ่านข้อความใน Email แล้ว สิ่งสำคัญในการทำ Email Personalization นั้น Hero ควรจะพูดถึงสิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมทำเป็นรูปภาพ เพราะมีความน่าสนใจและทำให้ลูกค้าอยากกดมากกว่าเป็น text ธรรมดา ซึ่งหากจำเป็นต้องใช้แค่ text จริงๆ ก็ควรขยายตัวอักษรหรือเน้นเพื่อให้ลูกค้าเห็นส่วนที่เราต้องการจะสื่อนี้เป็นอันดับแรก
- Call-to-action – จุดประสงค์ในการส่ง Email ของเรา คือการที่เราอยากให้เขาคลิกไปยังเว็บไซต์เราต่อเพื่อทำการดูหรือซื้อสินค้า หรือกดโทรฯ กด add line ดังนั้นอย่าลืมที่จะใส่ Call-to-action ให้ลูกค้าทราบว่าส่วนนี้สามารถกดไปต่อได้ เพื่อให้การส่ง Email นั้นไม่เสียเปล่า
- Related – เมื่อลูกค้าได้อ่านข้อมูลที่เราต้องการจะสื่อสารแล้ว แต่ถ้าหากมีสินค้าหรือเนื้อหาที่เราอยากจะนำเสนอลูกค้า หรือนำสินค้าอื่นๆที่ลูกค้าเคยเข้าไปดูแต่ไม่ได้ทำการซื้อมาใส่ อาจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น
3.ตรวจสอบ ติดตามผล และปรับปรุง
ไม่ใช่แค่เฉพาะการทำ Email personalization งานทุกๆอย่างควรมีการตรวจสอบว่าข้อความไม่ผิด เนื้อหาเป็นไปอย่างที่ต้องการ Design สวยงาม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแบรนด์ ข้อมูล Email ที่จะทำการส่งมีความถูกต้องไม่เป็น Email spam
การทำ A/B Test เพื่อให้ Performance ของ Email personalization ออกมาดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ test เวลาที่ส่ง Design ของ Artwork หรือแม้กระทั่งเนื้อหาที่ส่งออกไป เพื่อให้การส่ง Email personalization ของเราออกไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ตัวอย่างการทำ Email Marketing Personalization :
adidas – ใช้วิธีส่งอีเมล์ไปหาลูกค้าโดยใช้เพศเป็นเกณฑ์ในการส่งอีเมล์ เพื่อให้สินค้านั้นตรงกลุ่มเป้าหมาย
สรุป
ในขณะมีที่ข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ การกำหนดเป้าหมายก็ยากขึ้นเช่นกัน เพื่อดึงดูดความสนใจของคนที่ได้รับ การที่จะโดดเด่นได้คุณจะต้องเน้นข้อความและส่งไปในเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นการทำ Email Personalization จึงสำคัญมากในยุคที่ข้อมูลหลากหลายและรวดเร็ว การที่เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ถูกกลุ่มจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะคนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเป็นลูกค้าเราได้ง่ายกว่า ทั้งนี้การออกแบบ Email ที่ดีสามารถสร้างความแตกต่างจากอีเมล์อื่นๆได้อีกด้วย
Q : ดังนั้นถึงเวลาที่คุณควรที่จะเปลี่ยนการส่งเมล์ของคุณให้เป็นแบบ Personalization ได้หรือยัง?