Category: Ads

5 ข้อดีของ Social Listening | เครื่องมือที่ช่วยฟังเสียงผู้บริโภคให้กับธุรกิจคุณ

Listen-your-Customers

การทำ Research เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ผ่านการสัมภาษณ์ หรือตอบแบบสอบถาม อาจได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพก็จริง(หรือไม่จริงก็ตาม) แต่ต้องแลกมากับการเก็บข้อมูลที่ใช้เวลานานกว่าจะได้ข้อมูล และอย่าลืมว่าพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ชอบความรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม จะดีกว่าไหมถ้าหากมีเครื่องมือที่คนถามกันอย่างมากว่า Social Listening คืออะไร เครื่องมือที่สามารถเก็บและกรองข้อมูล จากสิ่งที่ผู้บริโภคพูดถึง และแปลงให้เป็นกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค (แนะนำ: Social Listening Tools คืออะไร)


SocialEnable จะมายกตัวอย่าง ‘ 5 ข้อดีของการใช้ Social Listening ‘

Brand Reputation

         1.Branding – Brand Reputation and Crisis Management

ตรวจสอบสุขภาพของแบรนด์ ผู้บริโภคพูดถึงในแง่ลบหรือบวก(Sentiment) มากน้อยเพียงใด เพื่อรักษาภาพลักษณ์แบรนด์ (Brand Image) นอกจากนี้ยังแยกย่อยไปได้อีก ในหลายๆด้านของแบรนด์เรา เช่น มีคนพูดถึงสินค้าหรือบริการ(Product&Service) ในแง่ดีหรือแง่ลบ เพื่อนำไปปรับปรุงสินค้า หรือด้านบริการของพนักงาน โดยสามารถแตกประเด็นไปได้ตามแต่ที่เราอยากวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากดูแบรนด์ตัวเองแล้ว จุดเด่นของ Social Listening นั้นคือ เป็นเครื่องมือช่วยจัดการและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาที่ลูกค้าไม่พอในการบริการหรือสินค้า มักจะตั้งกระทู้ Pantip แสดงความไม่พอใจ หากแบรนด์แก้ไขไม่ดีจะส่งผลถึงลูกค้าหรืออนาคตลูกค้าอีกหลายท่านที่กำลังอ่านกระทู้เดียวกันอยู่อย่างแน่นอน

Customer-Insight

         2.Customer – Customer Insight and CRM

แบรนด์สามารถเริ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแบรนด์ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเก็บข้อมูล Research การมีเครื่องมือประเภท Social Listening จึงช่วยลดภาระงานในการเก็บข้อมูลของนักการตลาดดิจิตอล ข้อมูลเหล่านี้นำมาวิเคราะห์ เพื่อรู้ถึงประสิทธิภาพของแบรนด์ หรือพฤติกรรมลูกค้าแต่ละกลุ่ม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้งาน เพื่อสกัดสิ่งที่ผู้บริโภคพูดออกมาเป็น Consumer Insight ข้อมูลเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์ได้มากมาย และสามารถปรับใช้กับแผนการตลาดของตัวเองดีขึ้นและตรงกลุ่มเป้าหมายได้

การตอบช้าเร็ว บริการดีไม่ดี ให้ข้อมูลครบไม่ครบ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจเวลาได้ยินหรือพบเจอแบรนด์เรา เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่สร้าง Brand Loyalty ได้เป็นอย่างดี

Competitor-Analysis

         3.Competitor Analysis

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง บนสมรภูมิออนไลน์ เราถูกพูดถึงเท่าไหร่ คนอื่นถึงคู่แข่งพูดอย่างไร มีคนชม หรือวิจารณ์มากน้อยกว่ากัน Content ไหนที่เขาถูกโจมตี ถูกชมหรือถูกพูดถึงเป็นพิเศษ เพื่อให้เราประเมินสถานการณ์ของคู่แข่งได้ว่า ตอนนี้การแข่งขันระหว่างคุณกับคู่แข่งเป็นอย่างไร หากเราสามารถอ่านเกมหรือจับทางความเคลื่อนไหวของคู่แข่งได้ เราจะได้นำมา สร้างกลยุทธ์ วางแผนดักทาง หรือแก้เกมกัน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดกัน

4.Market Mentions in Industry

บางครั้งเราอาจจะไม่ได้สนใจแบรนด์ไหน แต่เราสนใจเรื่องที่ว่า คนพูดถึงสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเราเป็นอย่างไร เช่น หากคนต้องการจะซื้อรถ จะซื้อรถแบบไหน คนคาดหวังว่าศูนย์ไหนบริการดี ดาวน์น้อย ผ่อนนาน มีของแถมเยอะๆ ซึ่งแน่นอนว่าตัวอย่างนี้ อาจจะไม่ได้ระบุเจาะจงแบรนด์ไหนเป็นพิเศษ แต่มันก็สามารถทำให้เรารับรู้สิ่งที่คนพูดถึงในอุตสาหกรรมของเรา เพราะส่วนมากสิ่งที่คนพูดถึง และการเติบโตของตลาดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น กล้องGo-pro, Bitcoin หรืออย่าง BNK48 เป็นต้น อีกทั้งเราสามารถรู้ถึง Customer Insight, Customer Needs หรือ Customer Problem ได้เช่นกัน เพื่อที่ช่วยให้เรานำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนา วิเคราะห์ หรือแก้ไขสินค้าของธุรกิจได้

Trends-or-Future

         5.Social Trends

จะดีแค่ไหนถ้าเรารู้เทรนด์บนโลกโซเชียล ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนใครๆ Social Listening คือสิ่งที่จะช่วยคุณในการ Monitor เพื่อดูว่าตอนนี้คนฮิตอะไร พูดถึงอะไร เป็นปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถใช้เทรนด์ให้เป็นประโยชน์ เช่น คนทำ Content อาจนำไปสร้าง Real-Time Content หรือทีมการตลาดอาจจะนำเรื่องเทรนด์ต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแคมเปญต่อยอดได้


สรุป

Social Listening คือสิ่งที่มีคุณประโยชน์มหาศาล สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลได้อีกมากมาย 5 ข้อด้านบนเป็นประโยช์นเบื้องต้น จากการ Monitor สิ่งที่เราต้องการรู้ ไม่ว่าตอนนี้คุณจะประกอบธุรกิจในลักษณะไหนก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถประยุกต์ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อไปต่อยอดในด้านต่างๆ เพื่อตอบโจทย์แผนธุรกิจที่วางไว้และเตรียมแผนการสำหรับอนาคตต่อไป


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

ความต่างระหว่าง Native Advertising, Advertorials และ Sponsored Posts

เชื่อว่าหลายๆ ต่อหลายท่าน ก็ยังสับสนงงงวยกับศัพท์เทคนิค (Marketing buzzwords) ที่บรรดากูรูหลายๆ คนได้เอ่ยออกมา บทความนี้ผู้เขียนจะขออธิบายความแตกต่างสำหรับศัพท์ด้านการโฆษณาก็แล้วกัน ระหว่างคำว่า Native Advertising Advertorials และ Sponsor post กันครับเพื่อให้รู้ว่า แต่ละอย่างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แนวทางไหนเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้

Advertorials

Advertorials

Advertorial (บทความโฆษณา) เกิดจากผสานคำว่า “Advertisment” (โฆษณา) เข้าด้วยกันกับ “Editorial” (บทความแสดงความเห็นและบทวิเคราะห์ที่เห็นกันบนนิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ) ซึ่งเป็นรูปแบบการโฆษณาที่อยู่ในเชิงบทความที่ผู้ลงโฆษณาจงใจทำให้รูปร่างหน้าตาเหมือนคอลัมน์ปกติของสื่อ (นิตยสาร, หนังสือพิมพ์, blogs) นั้นๆ  และอาจเปรียบได้ว่า Advertorial ก็คือ Infomercial ที่ปรากฏอยู่บนสื่อสิ่งพิมพ์นั้นเอง ขอเสริมอีกคำที่โผล่ออกมาคือคำว่า Informercial (แต่เกิดมาก่อน Advertorial) โดย Infomercial เป็นการรวมกันจากคำว่า Information ที่หมายถึงข้อมูลและ Commercial ที่หมายถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งบ่งบอกถึงรูปแบบการโฆษณาทางโทรทัศน์ที่เน้นการให้ข้อมูล เช่น วาไรตี้ ที่มีการนำเสนอและทดลองการใช้งานสินค้าหรือบริการที่ต้องการโฆษณา พร้อมคำยืนยันจากฐานลูกค้า ให้ลองนึกถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีการขายแว่นตาที่มีไฟฉายในตัว ซึ่งเค้าจะให้ดารา และผู้ใช้ต่างๆ ขุดเอาสารพัดประโยชน์ และข้อมูลต่างๆ มาโน้มนาวให้เกิดความอยากซื้อ

เหตุที่เริ่มกลายมาเป็น Advertorial นั้น คาดว่าเนื่องจากการทำโฆษณาในรูปแบบดั้งเดิมๆ นั้น ผู้อ่านเมื่อเห็นโฆษณาแล้วก็อาจจะเปิดผ่านไปทันที ไม่ให้ความสนใจ แต่การลงในรูปแบบ Advertorial หรือเป็นคอลัมน์บทความนั้น สามารถสร้างความสนใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี และสามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้มากกว่าเดิมอีกด้วย

ในการทำ Advertorial นั้น ผู้ลงโฆษณาควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้

  • ต้องมั่นใจว่า สื่อที่จะลงโฆษณานั้น ต้องเหมาะสมกับตัว Advertorial เช่น Advertorial เกี่ยวข้องกับยางรถยนต์ ก็ไม่ควรจะไปอยู่บนนิตยสารการทำอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
  • มี headline ที่น่าสนใจมาก เพื่อให้เกิดความสนใจกับผู้บริโภค
  • มั่นใจว่าเนื้อหาของ Advertorial นั้นไม่ล้นจนเกิดไป เพราะหากล้นไปก็อาจจะลดความสนใจจากผู้บริโภคได้
  • มีภาพประกอบบ้าง เพื่อช่วยให้เกิดประโยชน์ในการขายสินค้า หรือบริการได้

Native Advertising

Native Advertising

Native advertising เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Advertorial ที่ทันสมัยกว่า และมีความเนียนกว่า ซึ่งผู้อ่านควรรับรู้ข้อมูล รับชมได้โดยไม่ทราบว่าเป็นโฆษณา จนกว่าจะได้อ่านหรือรับชมจบจน ซึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง Advertorial กับ Native Advertising ก็คือการที่ผู้อ่านเห็นโฆษณาแล้วเกิดประสบการณ์ตรงกับโฆษณานั้นอย่างไร (ระหว่างรับรู้ว่าอ่านโฆษณาอยู่ กับ รับรู้ว่าอ่านบทความที่ให้ความรู้และไม่รู้สึกว่าจะต้องซื้อ เมื่อจบบทความ)

และยิ่งปัจจุบัน เรามีแพลตฟอร์มดิจิตอลเกิดขึ้นมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้น iab หรือ Interactive Advertising Bureau ได้แบ่งรูปแบบต่างๆ ของ Native advertising ออกเป็น 6 รูปแบบ พร้อมตัวอย่างแพลตฟอร์มที่นำมาใช้ ดังนี้

  1. In Feedแสดงผลแทรกระหว่าง Feed ข้อความที่เราอ่าน

In feed Units

  1. Paid Search แสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบเดียวกับผลลัพธ์จากการค้นหาบน search engine

Paid Search Units

  1. Recommendation Widgetsแสดงผลเป็นวิดเจ็ตเพื่อโปรโมทสินค้าบริการ และการแสดงผล จะแสดงอยู่นอกส่วนของ editorial หรือ feed

Recommendation Widgets

  1. Promoted Listings  แสดงผลเป็นรายการโปรโมทสินค้าบริการที่ตรงกับรายการโปรโมทสินค้าอื่นๆ ในเว็บนั้นๆ ซึ่งแบบนี้มักจะไม่ได้อยู่ในเว็บที่เป็น editorial content เท่าไร แต่จะอยู่ในพวกที่เน้นการ browsing มากกว่า (เช่นการซื้อขาย การแสดงรายการสินค้า บริการ เป็นต้น)

Promoted Listings

5. In-Ad (IAB Standard) เป็น Ad ที่อยู่ในรูปแบบมาตรฐานของ iab container และแสดงผลนอกส่วนของ editorial แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่จัดให้ และผู้ลงโฆษณาจะรู้ว่า content รอบๆ เป็นลักษณะไหน

In-Ad (IAB Standard)

  1. Custom แสดงผลในลักษณะที่มีความสร้างสรค์ใหม่ๆ และไม่ได้ตกอยู่ใน 5 กลุ่มข้างต้น

Custom

Sponsored Posts

                    Sponsored Post หรือ Promoted post นั้น ถือเป็นโพสต์หรือบทความที่โพสต์ลงในเว็บคอมมูนิตี้ต่างๆ หรือเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบของ Community-driven หรือ Notification-oriented ซึ่งบทความนี้จะได้รับการอุดหนุน (Sponsor) ในฐานะที่เป็นโฆษณาตัวหนึ่งด้วย กล่าวง่ายๆ ก็คือ ผู้ลงโฆษณาจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับผู้แต่งบทความหรือโพสต์นั้นเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเค้า

แต่ Sponsored post เองก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือน Advertorial ซะทีเดียว เช่น Sponsored post โดย Sketchers อาจจะมาในรูปแบบของบทความเพื่อการออกกำลังกายหรือแฟชัน แต่ตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า “โพสต์นี้ Sponsored โดย Sketchers” ก็ได้

Ref.

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable