Author: Pakapok Perabull

4 เทคนิค | การทำ Lead Generation เพิ่มฐานลูกค้าในปี 2018

Lead Generation

การทำให้คนที่ยังไม่รู้จักเรามาเป็นลูกค้าของเรา รวมถึงดูแลลูกค้าปัจจุบันของเราไปด้วย เพราะการรักษาฐานลูกค้าปัจจุบันให้คงอยู่กับแบรนด์ก็ยากอยู่แล้ว แต่การที่เราจะเพิ่มฐานลูกค้าใหม่นี่สิยากกว่า!! แล้วมีทางไหนบ้างที่ช่วยให้เราเพิ่มฐานลูกค้ารายใหม่ ? ทาง SocialEnable จะพามาลองมาดูเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าให้คุณโดยการทำ Lead Generation ในปี 2018 กันดีกว่าค่ะ

(Lead Generation คือ ผู้มุ่งหวังในสินค้าหรือบริการนั้นๆ หรือถ้าให้เข้าใจง่ายๆ คือ ”คนที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้าของเรา” ดังนั้นนักการตลาดจะคุยกันถึง ”การสร้าง Lead” หรือ Lead Generation นั้นเอง)

Content Review

1.รีวิวเพื่อเตรียมความพร้อม(Review)

เพื่อให้เราทราบถึงสถานะปัจจุบันของแบรนด์เราเป็นอย่างไร มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะเตรียมรับมือกับสิ่งใหม่ๆ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น มีสิ่งไหนที่สามารถแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้บ้าง

  • รีวิวเป้าหมาย : ว่าที่ผ่านมาได้ทำตามเป้าที่เราตั้งหรือตรงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือเปล่า
  • รีวิวเว็บไซต์ : ดูว่าเว็บไซต์ทิศทางเดียวกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือเปล่า หากมีผู้ใช้หน้าใหม่เข้ามาในเว็บไซต์จะงงหรือเปล่าว่าเราต้องการที่จะสื่ออะไร และหลังจากผู้ใช้ได้ทำการกรอกข้อมูลของเขามาแล้วเขาจะเห็นอะไรในเว็บไซต์ของเรา เพื่อที่จะเปลี่ยนจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้เป็นลูกค้าให้เร็วที่สุด
  • รีวิว Content : เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นแรงดึงดูดให้คนอยากเข้ามากรอกข้อมูลให้เรา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือการเผยแพร่ใน Social media ช่องทางต่างๆ โดยเนื้อหามีควรมีความสอดคล้องกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ, หัวข้อตรงประเด็นและน่าสนใจ, มีการใช้ Keyword และ Hashtags ในแต่ละโพสต์ เพื่อสื่อสารให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไป

Listen-your-Customers

  1. กำหนดตัวตนของลูกค้า(Target)

วิธีในเราใช้ในการกำหนดกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันจะเป็นการแบ่งโดยเพศ อายุ เช่น หากเราขายเครื่องสำอาง จะกำหนดเป็น เพศหญิง อายุ 24-50 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้ปิดโอกาสในการขายกับคนกลุ่มอื่นที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้าของเรา  หากเราแบ่งให้เป็นตามพฤติกรรมจะทำให้แบ่งกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้นได้หลาย Segment เช่นลิปสติกสีแดง ลักษณะเป็นคนชอบปาร์ตี้ตามสถานบันเทิง หรือออกงานยามค่ำคืน ซึ่งอาจหมายถึงเพศที่สามด้วยไม่ได้เฉพาะแค่ผู้หญิง โดยนำข้อมูลจากการที่เราได้เรียนรู้มาลงรายละเอียดให้ลึกขึ้นเพื่อให้เห็นออกมาเป็นภาพของกลุ่มลูกค้าในลักษณะของ Personas ซึ่งหากข้อมูลที่คุณมียังไม่เพียงพอ อาจจะมีการทำ Research เพิ่ม เช่น Survey เพื่อหาคนที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของคุณจริงๆ

Monitoring Competitor

  1. แอบส่องคู่แข่ง (Competitor Analysis)

อย่างที่ทราบกันดีว่าคู่แข่งก็เหมือนอาจารย์เรา ถ้าหากไม่มีคู่แข่งอาจจะทำให้เราไม่ได้พัฒนาอะไรเลยก็ได้ ดังนั้นเพื่อรู้จักตลาดและสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจของคุณ ลองทำการ Research คู่แข่งดูว่าเขาทำอะไรอยู่บ้าง เพื่อมาดูว่าเรายังขาดเหลืออะไรอีกบ้าง รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราอาจจะมองข้ามไปและไม่มีในแบรนด์ของเรา แต่ไม่ใช่การ Copy ของคู่แข่งมาใช้กับเรา เป็นการศึกษาเพื่อทำให้แบรนด์ของคุณดูแตกต่างออกไปแต่คลอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

Planning

  1. จัดทำแผน (Planning)

หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ต้องมีการจัดทำแผนทั้ง Content และ Promotions ว่าจะมีวิธีการใช้ Content หรือ promotions รูปแบบใดเพื่อที่จะช่วยหา Lead ให้ได้มากที่สุด และมีคุณภาพที่สุด แล้วถ้าหากแผนที่ 1 ใช้ไม่ได้ผล จะมีการวางแผน 2  หรือแผนต่อๆ ไป ในการหา Lead อีกหรือไม่


สรุป

การสร้าง Lead Generation นั้นเป็นกระบวนการที่ลูกค้ารู้จักเราแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้ารายหนึ่งของเรา สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าใจความต้องการลูกค้าของคุณว่าลูกค้าของคุณสนใจอะไร ต้องการอะไร แล้วธุรกิจของเรา หรือสินค้าของเราตรงหรือสามารถช่วยเหลืออะไรเขาเหล่านั้นได้บ้าง ”อย่าให้เขาเป็นเพียงคนที่เข้ามาแวะดูและจากไป”


Facebook


 

– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

 

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Content Marketing Framework

การทำ Content Marketing ในยุคนี้ที่ใคร ๆ ก็สามารถผลิต Content กันได้ เพียงคุณมีมือถือสมาร์ทโฟน เอาไว้ถ่ายรูปและโพสต์ หรือมีสกิลแต่งภาพเบื้องต้น คุณก็สามารถทำ Content เจ๋งๆได้แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงคือ การแข่งขันของ การทำ Content Marketing นั้นสูงมาก ยังไม่รวมกับ Facebook ที่ปรับฟีดให้คนเห็นโพสต์ของเพจน้อยลง หรือทำ Content เจ๋งๆมาแล้ว ได้แต่ยอดไลค์ยอดแชร์ แต่ยอดขายไม่พุ่งเลยจะทำยังไงดี ? วันนี้ SocialEnable จะพาไปดูขั้นตอนการทำ Content พร้อมยกตัวอย่างการทำ Content Marketing แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ 🙂

Content Marketing คืออะไร? 

Content Marketing คือ การทำการตลาด ผ่านการสร้าง Content ที่มี ” คุณค่า (Value) ” หรือที่เราเรียกว่าเป็น Quality Content สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่าน หรือสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตของผู้อ่านได้

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Understand Content Marketing Framework

  1. Set Objective

อีกแล้วหรอ!! แน่นอนครับ อย่างแรกคือ การวางเป้าหมาย(Objective) ลองถามตัวเองดูนะครับว่าการที่เราจะทำ Content สักชิ้นหนึ่ง ทำไปเพื่ออะไรและลูกค้าได้อะไร การมีเป้าหมายนั้นเหมือนมีกรอบไว้ไม่ให้เราออกนอกลู่นอกทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ราบรื่นที่สุดลองดูตัวอย่างนี้นะครับ

Set Objective for Content marketing

Brand Awareness – ทำให้ Brand หรือ Product เป็นที่รู้จัก หรือให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับ Product เรา ตัวอย่างเช่น Social Listening คืออะไร? | สำคัญกับธุรกิจเรายังไง สร้างความอยากรู้ให้กับคนที่เข้ามาเจอ
Thought leadership – สร้างความแตกต่างและความเป็นผู้นำเทรนด์ด้านที่ถนัดและเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ได้ตามใคร หรือเป็นข้อมความรู้ชุดใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยเจอ
Lead Generation – เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าเรา เช่น เปรียบเทียบแบรนด์ AและB, Review จากผู้ใช้งานจริง (แนะนำ: 4เทคนิค การทำ Lead Generation)
Sales – เพิ่มยอดขายจากการทำ Content เช่น รวมราคาโปรโมชั่นในเดือนมีนา ที่คุณจับต้องได้, 5 เหตุผลที่คุณต้องซื้อ

2.Understand Customer Needs

กำหนดเป้าหมายเพียงข้อมูลทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปคือ ข้อมูลพื้นฐานอย่าง อายุ,เพศ,ที่อยู่,การศึกษา,ความสนใจ แล้ว อย่าลืมแต่มองให้ลึกถึงภายใน ข้อมูล Insight คือ สิ่งที่ผู้บริโภครู้สึกภายในเช่น ชอบดูละครบุพเพสันนิวาส แต่ชอบดูแบบย้อนหลัง เพราะในช่วงเวลาที่ออกอากาศยังไม่ถึงบ้าน

How to crate Persona Profile

Customer Persona : คือการสร้างลูกค้าในอุดมคติ เพื่อทำให้เห็นชัดเจนว่าลูกค้าว่าเป็นใคร ทำงานอะไร อยู่ที่ไหน ชอบไม่ชอบอะไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร สิ่งที่เขากังวลคืออะไร รวมถึงเราสามารถเข้าถึงเขาได้ทางไหนบ้าง การสร้างลูกค้าในอุดมคติ ช่วยให้เราสามารถวางแผนกลุยทธ์ได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

Understand Customer Journey

Customer Journey คือ การเดินทางของผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง โดยตัวอย่างด้านบน บอกถึงแต่ละขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้านั้นเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร(Touch Point) โดยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนตามภาพ

Awareness – ใช้ Content ที่ลูกค้าไม่เคยรู้ ไม่เคยทราบว่าก่อนเกี่ยวกับ Brand หรือ Product ของเรา
Consideration – ใช้ Content เชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่ง, ข้อดีข้อเสียของสินค้า, รีวิวจากผู้ใช้งานจริง หรือทดลองใช้งาน
Purchase – ใช้ Content เกี่ยวกับ วิธีจ่ายเงินที่ง่ายที่สุด, ร้านค้าที่ใกล้ลูกค้า หรือโปรโมชั่น
Retention –  ใช้ Content ที่มอบข้อมูลหรือโปรโมชั่นให้กับคนที่เป็นลูกค้าเท่านั้น
Advocacy – ใช้ Content กระตุ้นการแชร์ ชวนให้คนมารีวิว Product เรา แล้วได้แต้ม เป็นต้น

เราควรจะทำ Content เพื่อตอบสนองในทุกขั้นตอนของ Customer Journey

3.Content Strategy

เมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายคือใครแล้ว ถึงเวลาวางแผนทำ Content เพื่อให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค แบรนด์ส่วนใหญ่อยากขายสินค้า หรืออยากพูด (Brand Talk) จนลืมนึกถึงผู้บริโภคว่าอยากฟังรึเปล่า ช่วยอะไรเขาได้(Audience Interests) หากผู้บริโภคไม่สนใจก็จบตั้งแต่สไลด์มาเจอโพสต์ของเรา ดังนั้นมาดูรูปตัวอย่างกันว่าเราจะหา Value Content ที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภคได้อย่างไร

Creating Content Strategy

Brand Talk คือ สิ่งที่แบรนด์อยากจะพูด อยากจะเล่า ว่าแบรนด์เราทำอะไรบ้าง สินค้าเรามันดียังไง มันใช้งานยังไง (หัวใจสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้คนมาสนใจเรื่องที่เราเล่า)
Audience Interests คือ สิ่งที่ลูกค้าอยากฟังหรือสนใจ เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตเขาได้ แต่ส่วนนี้แบรนด์จะรู้ข้อมูลได้อย่างไร ว่าเป้าหมายของเราสนใจเรื่องอะไร แบรนด์อาจต้องติดตามเทรนด์ของกลุ่มหมายเหล่านั้น หรืออาจใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening Tools ในการหาข้อมูลว่ามีคนพูดถึงแบรนด์เราอย่างไรบนโลก Social เครื่องมืออย่าง Social Listening สามารถใช้ได้หลายแง่มุม (อ่านต่อ : 5 ข้อดีของ Social Listening)
Value Content : ตรงกลางระหว่างสิ่งที่แบรนด์ต้องการต้องบอก และผู้บริโภคสนใจอยากฟังด้วย ถือว่าเป็น Content ที่มีคุณค่า เราต้องหาให้เจอ และ ทำมันอย่างต่อเนื่อง

Content Formats : จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเลือกรูปแบบ Content ที่เราจะนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแบบรูปภาพ บทความ [short-long form] หรือวีดีโอ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ อย่างผู้บริโภคบางคนชอบอ่านบทความ ในการทำความเข้าใจมากขึ้น แต่บางคนไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะๆ เราจึงต้องเลือกรูปแบบในการจะสื่อออกไปให้เหมาะสม

Creating Content Distribution Channels

Content Distribution Channels : เลือกสื่อหรือแพลตฟอร์มที่จะสามารถกระจาย Content ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าผู้หญิง อาจเลือก Content ลงใน Instragram หรือธุรกิจอย่าง B2B อาจจะเน้นไปที่การทำเว็บไซต์ของตัวเอง ผสมกับการทำ SEOและSEM เพื่อถูกค้นหาเจอได้ง่ายบน Google เป็นต้น

4.Measurement

Measurement&KPIs

เมื่อทำ Content ไปแล้วสิ่งสำคัญคือดูกระแสตอบรับ หาวิธีการวัดผล Content ที่เราทำว่าสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่เราวางไว้แต่แรกได้หรือไม่ หากเป้าหมายคือ Brand Awareness  เราสามารถยึดเกณฑ์ในการวัดผลคือ เข้าถึงคนได้กี่คน(Reach) แล้วมีคนดูกี่คน(Views) Engagement รวมเท่าไหร่(ในวิชา Facebook คือ Reaction ,Comments, Shares) คนดูวิดีโอดูจบกี่เปอร์เซ็นต์ บางครั้งต้องเจาะลึกดูถึง Sentiment ว่าแต่ละ Comment หรือคนที่ Share มีคนพูดถึงแบรนด์เราในด้านดีไม่ดีอย่างไร  จะเห็นว่าเกณฑ์การวัดผลอาจไม่ตายตัวนัก แต่จะต้องสะท้อนหรือวัดผลเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อนำผลที่ไปปรับปรุงหรือแก้ไขให้ Content ดีขึ้น โดยใช้เครื่องมือวัดผล Fanpage อย่าง SocialEnable : Social Media Management Tools


สรุป                                                                         

คีย์เวิร์ดหลักๆ ในการทำ Content Marketing คือคำว่า ” คุณค่า (Value) ” ต้องเป็น Quality Content ที่สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่านได้ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของเหล่า Marketer ที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนจากผู้อ่าน >> ผู้ติดตาม >> เป็นลูกค้าผู้น่ารัก

โดยทั้ง 4 ขั้นตอนนี้คือการทำ Content Marketing พร้อมมีตัวอย่างประกอบ ใครที่อยากจะลองทำ Content ลองนำ ขั้นตอนเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ เพื่อทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

5 ข้อดีของ Social Listening | เครื่องมือที่ช่วยฟังเสียงผู้บริโภคให้กับธุรกิจคุณ

Listen-your-Customers

การทำ Research เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ผ่านการสัมภาษณ์ หรือตอบแบบสอบถาม อาจได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพก็จริง(หรือไม่จริงก็ตาม) แต่ต้องแลกมากับการเก็บข้อมูลที่ใช้เวลานานกว่าจะได้ข้อมูล และอย่าลืมว่าพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ชอบความรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม จะดีกว่าไหมถ้าหากมีเครื่องมือที่คนถามกันอย่างมากว่า Social Listening คืออะไร เครื่องมือที่สามารถเก็บและกรองข้อมูล จากสิ่งที่ผู้บริโภคพูดถึง และแปลงให้เป็นกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค (แนะนำ: Social Listening Tools คืออะไร)


SocialEnable จะมายกตัวอย่าง ‘ 5 ข้อดีของการใช้ Social Listening ‘

Brand Reputation

         1.Branding – Brand Reputation and Crisis Management

ตรวจสอบสุขภาพของแบรนด์ ผู้บริโภคพูดถึงในแง่ลบหรือบวก(Sentiment) มากน้อยเพียงใด เพื่อรักษาภาพลักษณ์แบรนด์ (Brand Image) นอกจากนี้ยังแยกย่อยไปได้อีก ในหลายๆด้านของแบรนด์เรา เช่น มีคนพูดถึงสินค้าหรือบริการ(Product&Service) ในแง่ดีหรือแง่ลบ เพื่อนำไปปรับปรุงสินค้า หรือด้านบริการของพนักงาน โดยสามารถแตกประเด็นไปได้ตามแต่ที่เราอยากวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากดูแบรนด์ตัวเองแล้ว จุดเด่นของ Social Listening นั้นคือ เป็นเครื่องมือช่วยจัดการและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาที่ลูกค้าไม่พอในการบริการหรือสินค้า มักจะตั้งกระทู้ Pantip แสดงความไม่พอใจ หากแบรนด์แก้ไขไม่ดีจะส่งผลถึงลูกค้าหรืออนาคตลูกค้าอีกหลายท่านที่กำลังอ่านกระทู้เดียวกันอยู่อย่างแน่นอน

Customer-Insight

         2.Customer – Customer Insight and CRM

แบรนด์สามารถเริ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแบรนด์ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเก็บข้อมูล Research การมีเครื่องมือประเภท Social Listening จึงช่วยลดภาระงานในการเก็บข้อมูลของนักการตลาดดิจิตอล ข้อมูลเหล่านี้นำมาวิเคราะห์ เพื่อรู้ถึงประสิทธิภาพของแบรนด์ หรือพฤติกรรมลูกค้าแต่ละกลุ่ม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้งาน เพื่อสกัดสิ่งที่ผู้บริโภคพูดออกมาเป็น Consumer Insight ข้อมูลเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์ได้มากมาย และสามารถปรับใช้กับแผนการตลาดของตัวเองดีขึ้นและตรงกลุ่มเป้าหมายได้

การตอบช้าเร็ว บริการดีไม่ดี ให้ข้อมูลครบไม่ครบ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจเวลาได้ยินหรือพบเจอแบรนด์เรา เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่สร้าง Brand Loyalty ได้เป็นอย่างดี

Competitor-Analysis

         3.Competitor Analysis

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง บนสมรภูมิออนไลน์ เราถูกพูดถึงเท่าไหร่ คนอื่นถึงคู่แข่งพูดอย่างไร มีคนชม หรือวิจารณ์มากน้อยกว่ากัน Content ไหนที่เขาถูกโจมตี ถูกชมหรือถูกพูดถึงเป็นพิเศษ เพื่อให้เราประเมินสถานการณ์ของคู่แข่งได้ว่า ตอนนี้การแข่งขันระหว่างคุณกับคู่แข่งเป็นอย่างไร หากเราสามารถอ่านเกมหรือจับทางความเคลื่อนไหวของคู่แข่งได้ เราจะได้นำมา สร้างกลยุทธ์ วางแผนดักทาง หรือแก้เกมกัน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดกัน

4.Market Mentions in Industry

บางครั้งเราอาจจะไม่ได้สนใจแบรนด์ไหน แต่เราสนใจเรื่องที่ว่า คนพูดถึงสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเราเป็นอย่างไร เช่น หากคนต้องการจะซื้อรถ จะซื้อรถแบบไหน คนคาดหวังว่าศูนย์ไหนบริการดี ดาวน์น้อย ผ่อนนาน มีของแถมเยอะๆ ซึ่งแน่นอนว่าตัวอย่างนี้ อาจจะไม่ได้ระบุเจาะจงแบรนด์ไหนเป็นพิเศษ แต่มันก็สามารถทำให้เรารับรู้สิ่งที่คนพูดถึงในอุตสาหกรรมของเรา เพราะส่วนมากสิ่งที่คนพูดถึง และการเติบโตของตลาดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น กล้องGo-pro, Bitcoin หรืออย่าง BNK48 เป็นต้น อีกทั้งเราสามารถรู้ถึง Customer Insight, Customer Needs หรือ Customer Problem ได้เช่นกัน เพื่อที่ช่วยให้เรานำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนา วิเคราะห์ หรือแก้ไขสินค้าของธุรกิจได้

Trends-or-Future

         5.Social Trends

จะดีแค่ไหนถ้าเรารู้เทรนด์บนโลกโซเชียล ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนใครๆ Social Listening คือสิ่งที่จะช่วยคุณในการ Monitor เพื่อดูว่าตอนนี้คนฮิตอะไร พูดถึงอะไร เป็นปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถใช้เทรนด์ให้เป็นประโยชน์ เช่น คนทำ Content อาจนำไปสร้าง Real-Time Content หรือทีมการตลาดอาจจะนำเรื่องเทรนด์ต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแคมเปญต่อยอดได้


สรุป

Social Listening คือสิ่งที่มีคุณประโยชน์มหาศาล สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลได้อีกมากมาย 5 ข้อด้านบนเป็นประโยช์นเบื้องต้น จากการ Monitor สิ่งที่เราต้องการรู้ ไม่ว่าตอนนี้คุณจะประกอบธุรกิจในลักษณะไหนก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถประยุกต์ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อไปต่อยอดในด้านต่างๆ เพื่อตอบโจทย์แผนธุรกิจที่วางไว้และเตรียมแผนการสำหรับอนาคตต่อไป


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

ความต่างระหว่าง Native Advertising, Advertorials และ Sponsored Posts

เชื่อว่าหลายๆ ต่อหลายท่าน ก็ยังสับสนงงงวยกับศัพท์เทคนิค (Marketing buzzwords) ที่บรรดากูรูหลายๆ คนได้เอ่ยออกมา บทความนี้ผู้เขียนจะขออธิบายความแตกต่างสำหรับศัพท์ด้านการโฆษณาก็แล้วกัน ระหว่างคำว่า Native Advertising Advertorials และ Sponsor post กันครับเพื่อให้รู้ว่า แต่ละอย่างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แนวทางไหนเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้

Advertorials

Advertorials

Advertorial (บทความโฆษณา) เกิดจากผสานคำว่า “Advertisment” (โฆษณา) เข้าด้วยกันกับ “Editorial” (บทความแสดงความเห็นและบทวิเคราะห์ที่เห็นกันบนนิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ) ซึ่งเป็นรูปแบบการโฆษณาที่อยู่ในเชิงบทความที่ผู้ลงโฆษณาจงใจทำให้รูปร่างหน้าตาเหมือนคอลัมน์ปกติของสื่อ (นิตยสาร, หนังสือพิมพ์, blogs) นั้นๆ  และอาจเปรียบได้ว่า Advertorial ก็คือ Infomercial ที่ปรากฏอยู่บนสื่อสิ่งพิมพ์นั้นเอง ขอเสริมอีกคำที่โผล่ออกมาคือคำว่า Informercial (แต่เกิดมาก่อน Advertorial) โดย Infomercial เป็นการรวมกันจากคำว่า Information ที่หมายถึงข้อมูลและ Commercial ที่หมายถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งบ่งบอกถึงรูปแบบการโฆษณาทางโทรทัศน์ที่เน้นการให้ข้อมูล เช่น วาไรตี้ ที่มีการนำเสนอและทดลองการใช้งานสินค้าหรือบริการที่ต้องการโฆษณา พร้อมคำยืนยันจากฐานลูกค้า ให้ลองนึกถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีการขายแว่นตาที่มีไฟฉายในตัว ซึ่งเค้าจะให้ดารา และผู้ใช้ต่างๆ ขุดเอาสารพัดประโยชน์ และข้อมูลต่างๆ มาโน้มนาวให้เกิดความอยากซื้อ

เหตุที่เริ่มกลายมาเป็น Advertorial นั้น คาดว่าเนื่องจากการทำโฆษณาในรูปแบบดั้งเดิมๆ นั้น ผู้อ่านเมื่อเห็นโฆษณาแล้วก็อาจจะเปิดผ่านไปทันที ไม่ให้ความสนใจ แต่การลงในรูปแบบ Advertorial หรือเป็นคอลัมน์บทความนั้น สามารถสร้างความสนใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี และสามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้มากกว่าเดิมอีกด้วย

ในการทำ Advertorial นั้น ผู้ลงโฆษณาควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้

  • ต้องมั่นใจว่า สื่อที่จะลงโฆษณานั้น ต้องเหมาะสมกับตัว Advertorial เช่น Advertorial เกี่ยวข้องกับยางรถยนต์ ก็ไม่ควรจะไปอยู่บนนิตยสารการทำอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
  • มี headline ที่น่าสนใจมาก เพื่อให้เกิดความสนใจกับผู้บริโภค
  • มั่นใจว่าเนื้อหาของ Advertorial นั้นไม่ล้นจนเกิดไป เพราะหากล้นไปก็อาจจะลดความสนใจจากผู้บริโภคได้
  • มีภาพประกอบบ้าง เพื่อช่วยให้เกิดประโยชน์ในการขายสินค้า หรือบริการได้

Native Advertising

Native Advertising

Native advertising เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Advertorial ที่ทันสมัยกว่า และมีความเนียนกว่า ซึ่งผู้อ่านควรรับรู้ข้อมูล รับชมได้โดยไม่ทราบว่าเป็นโฆษณา จนกว่าจะได้อ่านหรือรับชมจบจน ซึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง Advertorial กับ Native Advertising ก็คือการที่ผู้อ่านเห็นโฆษณาแล้วเกิดประสบการณ์ตรงกับโฆษณานั้นอย่างไร (ระหว่างรับรู้ว่าอ่านโฆษณาอยู่ กับ รับรู้ว่าอ่านบทความที่ให้ความรู้และไม่รู้สึกว่าจะต้องซื้อ เมื่อจบบทความ)

และยิ่งปัจจุบัน เรามีแพลตฟอร์มดิจิตอลเกิดขึ้นมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้น iab หรือ Interactive Advertising Bureau ได้แบ่งรูปแบบต่างๆ ของ Native advertising ออกเป็น 6 รูปแบบ พร้อมตัวอย่างแพลตฟอร์มที่นำมาใช้ ดังนี้

  1. In Feedแสดงผลแทรกระหว่าง Feed ข้อความที่เราอ่าน

In feed Units

  1. Paid Search แสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบเดียวกับผลลัพธ์จากการค้นหาบน search engine

Paid Search Units

  1. Recommendation Widgetsแสดงผลเป็นวิดเจ็ตเพื่อโปรโมทสินค้าบริการ และการแสดงผล จะแสดงอยู่นอกส่วนของ editorial หรือ feed

Recommendation Widgets

  1. Promoted Listings  แสดงผลเป็นรายการโปรโมทสินค้าบริการที่ตรงกับรายการโปรโมทสินค้าอื่นๆ ในเว็บนั้นๆ ซึ่งแบบนี้มักจะไม่ได้อยู่ในเว็บที่เป็น editorial content เท่าไร แต่จะอยู่ในพวกที่เน้นการ browsing มากกว่า (เช่นการซื้อขาย การแสดงรายการสินค้า บริการ เป็นต้น)

Promoted Listings

5. In-Ad (IAB Standard) เป็น Ad ที่อยู่ในรูปแบบมาตรฐานของ iab container และแสดงผลนอกส่วนของ editorial แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่จัดให้ และผู้ลงโฆษณาจะรู้ว่า content รอบๆ เป็นลักษณะไหน

In-Ad (IAB Standard)

  1. Custom แสดงผลในลักษณะที่มีความสร้างสรค์ใหม่ๆ และไม่ได้ตกอยู่ใน 5 กลุ่มข้างต้น

Custom

Sponsored Posts

                    Sponsored Post หรือ Promoted post นั้น ถือเป็นโพสต์หรือบทความที่โพสต์ลงในเว็บคอมมูนิตี้ต่างๆ หรือเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบของ Community-driven หรือ Notification-oriented ซึ่งบทความนี้จะได้รับการอุดหนุน (Sponsor) ในฐานะที่เป็นโฆษณาตัวหนึ่งด้วย กล่าวง่ายๆ ก็คือ ผู้ลงโฆษณาจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับผู้แต่งบทความหรือโพสต์นั้นเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเค้า

แต่ Sponsored post เองก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือน Advertorial ซะทีเดียว เช่น Sponsored post โดย Sketchers อาจจะมาในรูปแบบของบทความเพื่อการออกกำลังกายหรือแฟชัน แต่ตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า “โพสต์นี้ Sponsored โดย Sketchers” ก็ได้

Ref.

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable