Author: user

Terms of service

Privacy Policy

DESCRIPTION OF SERVICE

SocialEnable currently provides users with the trend on Social Media a.k.a Facebook. You understand and agree that the Service is provided “AS-IS” and that SocialEnable assumes no responsibility for the collecting, storing, deleting, combining and disclosing information.

In order to use the Service, you must obtain access to the World Wide Web, either directly or through devices that access web-based content. In addition, you must provide all equipment necessary to make such connection to the World Wide Web, including a computer and modem or other access device.

  • – SocialEnable are not affiliated and have nothing related with Facebook Inc.
  • – SocialEnable reserves the full authority to select Pages and Categories and has the right to delete inappropriate Pages showing consequence without cause or notice to Facebook Page owner.
  • – SocialEnable does not guarantee collecting and sorting into the correct category for every post of pages.
  • – Every displayed post from each Facebook page does not belong to the SocialEnable’s ownership. SocialEnable takes no reasonability and assumes no liability for any post that each Facebook page posts.
  • – SocialEnable may contain links to third-party websites, advertisers, services, special offers, or other event or activities that are not owned or controlled by SocialEnable. We do not endorse or assume any responsibility for any such third-party sites, information, material, products or services. If you access any third party website, service or content from SocialEnable, you do so at your own risk and you agree that SocialEnable will have no liability arising from your use of or access to any third-party website, service, or content.

COMMERCIAL USE

Unless otherwise expressly authorized by SocialEnable, you agree not to display, distribute, license, perform, publish, reproduce, duplicate, copy, create derivative works from, modify, sell, resell, exploit, transfer or upload for any commercial purposes, any portion of the Services, use of the Services or access to the Services. Unless otherwise expressly agreed by SocialEnable, the Services are for your personal use.

In the performance of SocialEnable function under this Terms of Service, SocialEnable will require to collect, store, use and the Personal Identifiable Information of the relevant User. For your information about SocialEnable Privacy Policy, please read our Privacy Policy at https://socialenable.com/privacy-policy This policy explains how SocialEnable treat your personal identifiable information and protects your privacy when you use SocialEnable.

 

socialenable logo

ทำไมการตลาดยุคนี้ต้องใช้แนวคิดแบบ “Data-Driven Marketing”

ตั้งแต่ปี 1960 เราเริ่มต้นทำการตลาดเว้ยเริ่มกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน และเริ่มมีการส่งจดหมายให้กับลูกค้า และมีการทำโฆษณาเกิดขึ้น

ในปี 2007 การทำตลาดบนอีเมลเริ่มเป็นที่นิยม เนื่องจากบริษัท Apple เปิดตัว iPhone เครื่องแรก User จึงสามารถเชื่อมต่อและใช้อีเมลกับอุปกรณ์มือถือได้ง่ายขึ้นยิ่งขึ้น

มาที่ปี 2010 ผู้คนเริ่มใช้โซเชียลมีเดียอย่างคล่องแคล่ว เริ่มหันมาใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี และอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเลตเพื่อเชื่อมต่อสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การตลาดในปัจจุบันจึงต้องใช้ข้อมูลมากมายมหาศาลมาช่วยในการทำวิจัย ทั้งพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดจึงไม่จำเป็นต้องเดาว่าลูกค้านั้นต้องการอะไรอีกต่อไป

และในยุคนี้ ที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วย Data และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทำให้บางธุรกิจเติบโต ไม่ใช่แค่เพียงเพราะมีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นๆได้อย่างตรงจุด

และนี่คือข้อดี 5 ข้อใหญ่ๆการนำข้อมูลมาใช้ในเชิงการตลาดอย่างถูกวิธี มีดังนี้

1. ช่วยในการปรับแต่งแคมเปญการตลาด ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

จากการสำรวจทั่วโลกของการตลาดและการโฆษณาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลวิจัยโดย MediaMath, The Winterberry Group และ Global DMA,
กล่าวไว้ว่า 53% ของนักการตลาด มีความต้องที่จะสื่อสารกับลูกค้า แบบ Customer Centrics คือ การเข้าใจความรู้สึกของลูกค้า และคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก ข้อมูลขนาดใหญ่และเครื่องมือวิเคราะห์เชิงนวัตกรรม จะช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างแคมเปญที่มีการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้มากยิ่งขึ้น


2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง


ด้วยการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล นักการตลาดจะสร้างแคมเปญโดยอิงจากความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จากการสำรวจจากทั่วโลก จะพบว่า 49% ของแบรนด์ใช้การตลาดแบบ Data driven เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า จึงต้องใช้ข้อมูลมากมายในการสำรวจความพึงพอใจ และพฤติกรรมของลูกค้า เปิดการให้บริการแบบ Omni channel เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการทำให้มันสอดคล้องกันไปในทุกๆช่องทาง ไม่ว่าคุณจะติดต่อลูกผ่านโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ หรือผ่านการติดต่อแบบตัวต่อตัวลูกค้าจะได้รับข้อมูลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ได้รับประสบการณ์แบบเดียวกัน


3. เพิ่มประสิทธิภาพให้กับสื่อที่มีความหลากหลาย


ผู้ใช้แต่ละแพลตฟอร์ม มีพฤติกรรมที่ต่างกัน จุดประสงค์ต่างกัน มีการตอบสนองต่อโพสต์นั้นๆต่างกันออกไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักการตลาดถึงจำเป็นต้องสร้างและใช้กลยุทธ์การตลาดที่มีการนำ Data มาช่วยวิเคราะห์ด้วย เราจะรู้ได้เลยว่าช่องทางใดมีประสิทธิภาพที่สุด และข้อความใดที่กระตุ้นพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ สามารถระบุว่า Content แบบไหนที่จะถูกใจลูกค้า แบบไหนมีประสิทธิภาพ เราควรโพสต์ในช่วงเวลาใด ช่องทางไหน


4. ช่วยเพิ่ม Engagement


การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จะช่วยให้เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสมัยนี้จะพึงพอใจต่อแบรนด์ที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้ากลุ่มๆนั้นได้ หากพวกเขาถูกใจในคอนเทนต์ ก็จะมีการแชร์ และมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์นั้นๆมากขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือนี้ ก็จะส่งผลต่อการเพิ่ม Awareness ให้กับแบรนด์ในระยะยาว สิ่งนี้นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย


5. ช่วย Focus ลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์


การทำการตลาดแบบ Data driven จะทำให้เราโฟกัสลูกค้าประจำของเราได้มากขึ้น เราจะรู้ได้ว่ากลยุทธ์แบบไหน เป็นการรักษาลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ หากเรา Service ลูกค้าให้ตรงใจในแบบที่ลูกค้าต้องการ สามารถนำเอาพฤติกรรมการซื้อมาวิเคราะห์ และสามารถตรวจสอบได้ว่าโปรโมชั่น และแผนการจูงใจใดที่ลูกค้าตอบสนองได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การรู้ทันความต้องการและสื่อสารให้ตรงจุดโดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว และส่งผลดีต่อแบรนด์ โดยลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะเป็นผู้ที่สร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ คอยปกป้องและโปรโมทแบรนด์โดยที่แบรนด์นั้นๆอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโปรโมท

User – generated content สำคัญอย่างไรในปี 2020

“ผู้บริโภค 50% กล่าวว่า User – generate content มีผลต่อการซื้อสินค้า เพิ่มโอกาสในการซื้อผลิตภัณฑ์”

หรือ User Generate Content หมายถึง ข้อมูลเนื้อหาประเภทใด ๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ภาพถ่ายดิจิทัล และสื่อประเภทอื่น ๆ ที่เป็นของแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ กล่าวคือลูกค้าสร้างคอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ด้วยตัวเอง โดยที่แบรนด์ไม่ต้องทำการจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้นั่นเอง

แล้ว User Generate Content ยังคงสำคัญอย่างไรในปี 2020 


1.เนื่องจากผู้บริโภคช่างสังเกตุขึ้นเรื่อยๆ และไม่ค่อยเชื่อโฆษณาง่ายๆเหมือนแต่ก่อน User Generate Content อาจเป็นทางออก เพราะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้คนอื่นๆมากที่สุด
 

2. เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เนื่องจากมีผู้สร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์แล้ว ยังได้ยอดแชร์ ยอดไลค์ไปเลยฟรีๆโดยไม่ต้องทำการโปรโมตโพสต์

3. ประหยัด Budget ไปได้เยอะมาก เนื่องจากแบรนด์ไม่ต้องเสียค่าจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับอินฟลูเอนเซอร์  เนื่องจากลูกค้าได้ทำการซื้อเองใช้เองและโพสต์เองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

4. คอนเทนต์ที่ถูกสร้างโดยลูกค้าหรือผู้ใช้จริงจะเป็นคอนเทนต์ที่มีความเป็นธรรมชาติ และดูเข้าถึงง่ายมากที่สุด เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะสร้างคอนเทนต์ที่คล้ายคลึงกับการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนฟัง ทำให้ภาษาดูเป็นกันเองมากกว่า

5. มีการสร้าง awareness ให้กับลูกค้าบ่อยครั้ง 

6. กระตุ้นยอดขายในระยะยาว หากแบรนด์นั้นได้ทำการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า มีทีม Customer Service ที่ดี คอยตอบคำถามลูกค้าเมื่อลูกค้ามีข้อสงสัยประการใด

เชื่อว่าหลายๆคนกำลังตั้งคำถามว่า “แล้วทำอย่างไรลูกค้าถึงจะออกมาโพสต์สิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์โดยที่เราไม่ต้องจ้าง ?”

มีอีกเหตุผลหลายประการที่ทำให้ลูกค้าของเราสร้าง UGC ขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะแพคเกจจิงที่มีลูกเล่นสนุกสนาน สวยงาม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ลูกค้าเห็นแล้วควรค่าแก่การแบ่งปันให้คนอื่นได้เชยชมด้วย ดังนั้น หากแบรนด์ได้เห็นลูกค้าท่านใดโพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์โดยตรงด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ หรือเห็นผ่าน Social listening tool นั้น ก็อย่าลืมมองหาโอกาสจาก UGC กันด้วยนะคะ 🙂

3 วิธีปกป้องแบรนด์จาก FAKE NEWS ด้วย Social Listening Tool

Step 1: Respond directly

สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือการตอบกลับถึงผู้ที่ปล่อยข่าวปลอมโดยตรง ถ้าเป็นการทวีต หรือโพสต์เฟสบุ๊ค ก็สามารถตอบกลับแบบ Reply หรือคอมเมนท์ใต้โพสต์ด้วยคำสุภาพและเป็นมิตร โดยเนื้อหาในการตอบกลับควรเป็นการไขข้อข้องใจ หรืออธิบายให้กระจ่าง มากที่สุด และชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่เป็นความจริง การตอบกลับนั้นจะไปอยู่ใต้โพสต์ของ Fake news หรืออยู่ใน thread ซึ่งจะแสดงผลใต้โพสต์ Fake news ทุกครั้งเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นๆเข้ามาอ่าน

Step 2: Find and respond to people reacting

ถึงเวลาที่เราจะต้องรับมือกับม็อบบนสื่อออนไลน์ที่เข้ามาโจมตีหรือใส่ไฟให้กับข่าวปลอม ปัญหาคือเราในอยู่ยุคที่ Internet เข้าครอบงำ ทำให้ทุกๆคอนเทนต์ง่ายต่อการเผยแพร่และง่ายต่อการเสพ แบรนด์จึงไม่มีเวลาให้แก้ปัญหาได้ทันเหมือน Crisis เมื่อ fake news ถูกเผยแพร่ออกไปบนแพลตฟอร์มแล้วนั้น ก็อาจจะต้องสูญเสียภาพลักษณ์แบรนด์ไปแล้วส่วนหนึ่ง เพราะความรวดเร็วของการแพร่กระจาย สื่อ แพลตฟอร์มต่างๆที่เอื่ออำนวย และไม่ใช่ยูสเซอร์ทุกคนที่มี media literacy อาจจะทำให้ยากต่อการเรียกคืนความไว้เนื้อเชื่อใจต่อแบรนด์ แต่ถึงกระนั้น แบรนด์ควรค้นหาลูกค้าที่เป็นบุคคลสำคัญ ลูกค้าที่เป็น Brand Loyalty เพื่อที่จะติดต่อหาโดยตรงเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับข่าวปลอม โดยใช้ Social Listening Tools เพื่อดูการแพร่กระจายของของข่าว และค้นหาผู้ใช้ที่เป็นลูกค้าของเราที่กำลังพูดถึง Fake News จากนั้นคุณสามารถตอบสนองลูกค้าเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง

Step 3 : Use content to set the facts straight

วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยหยุดยั้งความเชื่อผิดๆของผู้คน ด้วยการแทนที่ด้วยเนื้อหาที่อธิบายข้อเท็จจริง ที่จะช่วยแก้ไขข้อมูลที่ผิด และช่วยซ่อมแซมชื่อเสียงที่เสื่อมเสียไป กุญแจสำคัญคือกลยุทธ์  หรือเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิด Engagement 

หากแบรนด์กำลังโดนโจมตีเรื่องการให้บริการลูกค้าและตีความแบบผิดๆ สิ่งแรกที่ควรทำคือควรหยุดคอนเทนต์ที่แพลนเอาไว้ก่อน และสร้างคอนเทนต์ที่เป็นข้อเท็จเท่านั้น หากคุณกำลังโพสต์คอนเทนต์หัวข้ออื่นๆตามแพลนที่ได้วางไว้ โดยไม่เกี่ยวกับ Fake news ที่เกิดขึ้น  ผลคือ ผู้คนและลูกค้าอันเป็นที่รักของคุณจะมองว่าแบรนด์กำลังพยายามบ่ายเบี่ยงข้อกล่าวหานั้นๆ ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำคอนเทนต์ เราควรเช็คดูว่ามีข่าวประเภทไหนที่โจมตีเราบ้าง ประเด็นไหนที่ไม่เป็นความจริง ประเด็นไหนที่คนเข้าใจผิดเยอะที่สุด ต้นตอของข่าวปลอมอยู่ตรงไหน เราสามารถเช็คได้ด้วย Social Listening Tools ด้วยการเซ็ท Monitoring Keyword และลองดูว่าแบรนด์กำลังมีประเด็นอะไรที่กำลังกลายเป็น Talk of the town เราสามารถจับประเด็นเหล่านั้นมาทำคอนเทนต์ สมมุติว่า Fake news คือมีคนตีความนโยบายการจ้างงานของบริษัทคุณแบบผิดๆและมีการแชร์โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้จนกลายเป็นไวรัลไปเสียแล้ว คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีการสอดแทรกความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อเรียกคืนความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจกลับมา 

How to ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการทำ Personalization Marketing

เมื่อลูกค้าของคุณรู้สึกรำคาญใจเมื่อเราไปตามตอแย เสนอโปรโมชั่นแบบหว่านแห ทั้งๆที่เราเองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าจะสนใจมั้ย ทำไมแบรนด์ไม่ลองทำ Personalization เพื่อล่นระยะเวลาและเพิ่มความคุ้มค่า แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ถ้าจะให้ร่ายเรียงข้อดีของการทำ Personalization อาจจะมีเพียงสามสี่ข้อสำคัญที่ทำให้การตลาดของแบรนด์คุณนั้นพัฒนาขึ้น ข้อดีของการทำ Personalization มีดังต่อไปนี้

– การทำ Personalization จะทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์มากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

– ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้กับแบรนด์มากขึ้น

– ทำให้ relationship ของแบรนด์กับลูกค้าดีมากขึ้น

– ยุคการตลาดที่ล้วนใช้ Bigdata เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และ Technology ล้นมือ ทั้ง VR AI AR ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเข้าถึงข้อมูลพวกนั้นได้ง่ายขึ้น

นี่คือข้อดีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่อาจจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับแบรนด์ แต่ทว่าจะใช้ Social Listening tools เข้ามาช่วยในการทำ Personalization อย่างไร ทางเรามีวิธีมาบอกกล่าวกันถึง 3 วิธีด้วยกัน

1. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ชัดเจน

โดยสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ชื่อของแบรนด์ ชื่อของสินค้า หรือ Keyword อื่นๆที่ต้องการ เพื่อค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร มีทัศนคติอย่างไรบนโลกออนไลน์ ประโยชน์หลักของการใช้เครื่องมือ คือสามารถเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น และเราสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะตามความสนใจหรือพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา โดยสามารถติดตามผลได้อย่าง Real – time สิ่งที่ลูกค้าพบเจอ สิ่งที่ลูกค้าตำหนิ สิ่งที่ลูกค้าชื่นชม อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงผลทันทีบนหน้าจอ Dashboard ทำให้เราสามารถจัดระเบียบข้อมูลเพื่อทำการสรุปพฤติกรรมและบุคลิกของกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น

2. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ

Content is king คอนเทนต์คือพระเอกที่จะทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และมีเอกลักษณ์ จะสามารถสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้ดีที่สุด
เราอาจจะเริ่มด้วยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ ชื่อของแบรนด์ ชื่อของผลิตภัณฑ์ หรือ Set Keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกOnline มีทั้งการโฆษณา การรณรงค์ งาน Event ต่างๆต้องมีชื่องาน ชื่อHashtag  นอกจากนี้ ยังสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับคู่แข่ง สำรวจว่าคอนเทนต์แบบไหนประเภทใด คีย์เวิร์ดไหนที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุด  เพื่อศึกษาดังต่อไปนี้

1. หัวข้อ และประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. แฮชแท็ก และคีย์เวิร์ดใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

3. ใช้ Social Listening tools ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้า

แบรนด์อาจจะต้องมองหาช่องทางในการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าซักหน่อย หลังจากที่กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการแล้ว ก็อาจจะต้องสร้างความสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ โดยการที่เราได้ Set keyword ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกค้าของคุณใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด หากคุณมี Social Listening tools อยู่ในมือ จะช่วยให้คุณเห็นรีวิว หรือคำพูดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หากเจอคอมเมนต์ในแง่ลบ คุณสามารถตอบกลับหาลูกค้าของคุณได้ทันที และยังสามารถ Monitor ได้หลายแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น Facebook Instagram Twitter Pantip Blog และ News

นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถสอดส่องข้อมูลได้ครบ 360 องศาเลยทีเดียว

อีกทั้ง Socialenable ยังมีระบบในการติดตามและ assign งานให้ทีมต่างๆ ได้ ช่วยสร้างความพึงพอใจลูกค้าได้ในระยะยาว และยังแก้ปัญหาการตอบแชทซ้ำกัน สามารวัดผลการทำงานของ Agent เช่น วัดระยะเวลา ตอบเร็ว ตอบช้า หรือปริมาณที่ตอบ
สามารถจัดอันดับความสำคัญในการตอบคำถามได้อีกด้วย


#SocialEnable

6 วิธี ใช้เครื่องมือ Social Listening ให้เวิร์คต่อธุรกิจ!

1. ใช้ Social Listening Tool เพื่อตรวจสอบชื่อแบรนด์

สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงเมื่อมีเครื่องมือ Social Listening อยู่ในมือ คือเราต้องตั้งค่า Keyword ต่างๆที่เกี่ยวกับชื่อแบรนด์ หรือชื่อองค์กร เพื่อตรวจสอบว่าผู้คนบนโลกโซเชียลกล่าวถึงแบรนด์เราว่าอยากไรบ้าง สิ่งนี้จะช่วยในเรื่องการให้บริการลูกค้า การจัดการชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์นั้นค้นพบโอกาสในการขายหรือโอกาสทางการตลาดอื่นๆได้อีกด้วย

2. ใช้ Social Listening Tool เพื่อช่วยในการเขียน Content

58% ของนักการตลาด จำป็นต้องโพสต์หรืออัพเดทข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ  Content Marketing เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างการจดจำได้อย่างดี แต่ก็ยังมีแข่งขันกับบล็อกเกอร์หรือ YouTuber ผู้ที่สร้างเนื้อหาได้ดึงดูดและน่าสนใจ และเนื่องจากมีการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องสามารถสร้างเนื้อหาที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และยังต้อง Relate กับกลุ่มเป้าหมายด้วย ไม่เพียงแค่นั้น สิ่งที่ควรเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับการเริ่มต้นเขียน Content คือ…

1. หัวข้อ และประเภทของบทความที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. หัวข้อใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

Social Listening Tool เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบที่จะช่วยในการศึกษาแนวโน้มและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้สร้างคอนเทนต์ได้ตรงกลุ่มมากขึ้น

3. ใช้ Social Listening Tool เพื่อส่งเสริมการขาย

เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของ Social Listening Tool ที่สามารถค้นหาโอกาสในการขายบนโวเชียลมีเดีย

• เราสามารถดูได้ว่าใครกำลังหาผลิตภัณฑ์หรือ Service เหล่านี้บ้าง?
• กลุ่มเป้าหมายกำลังพูดถึงคู่แข่งในมุมไหน เช่น ลูกค้ากำลังไม่พอใจกับแบรนด์คู่แข่ง เพราะอะไร ประเด็นไหน ทำให้เราสามารถเก็บไว้เป็นกรณีศึกษา ลูกค้ากำลังค้นหาตัวเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบราคา หรือสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ
• ค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ Keyword ใดที่ผู้คนจะใช้เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น SocialEnable หรือ Social Listening Tools เพื่อดูว่า Keywords / วลีใดที่มีแนวโน้มในการหยิบนำ ใช้มากที่สุด
• ตรวจสอบชื่อแบรนด์ของคุณ ฉันได้พูดคุยกันแล้วเกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจสอบชื่อแบรนด์ของคุณออนไลน์ แต่ข้อดีอีกอย่างคือคุณอาจจับลูกค้าที่มีศักยภาพ: คนที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณเป็นทางเลือกและพูดถึงมันออนไลน์ กระโดดเข้าสู่การสนทนานี้เพื่อช่วยแปลงผู้ใช้เหล่านี้เป็นลูกค้า
หากคุณต้องการที่จะเป็นเชิงรุกมากขึ้นเกี่ยวกับการสร้างโอกาสในการขายของคุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าการค้นหาการฟังทางสังคมเหล่านี้และตั้งค่าการแจ้งเตือนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คุณสามารถเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในเวลาที่เหมาะสม

4. ใช้ Social Listening Tool เพื่อศึกษาข้อมูลของคู่แข่ง

โดยการตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของคู่แข่งคุณสามารถเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดของพวกเขา
• คู่แข่งอัพเดทข่าวสารที่ไหน แพลตฟอร์มไหนที่คู่แข่งใช้ และแพลตฟอร์มไหนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
• Content Marketing ของคู่แข่งเป็นอย่างไร คอนเทนต์ประเภทไหนที่เผยแพร่แล้วได้รับความสนใจมากที่สุด เราสารมารถตรวจสอบได้ว่าคู่แข่งของเราโพสต์คอนเทนต์บ่อยแค่ไหน • Engagement เป็นอย่างไร ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด
• แคมเปญอะไรของคู่แข่งที่ใช้แล้วได้ผล อันไหนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและน้อยที่สุด แล้วอะไรที่สามารถเรียนรู้ได้จากแคมเปญนั้นๆ
• ลูกค้าหรือคนอื่นพูดถึงแบรนด์คู่แข่งว่าอย่างไร อะไรคือจุดอ่อน
ข้อมูลนี้สามารถช่วยให้กลยุทธ์การตลาดแบรนด์ของคุณพัฒนาขึ้น ทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

การตรวจสอบคู่แข่งด้วย Social Listening Tool นั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้เข้าใจว่าอะไรที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของคู่แข่ง อะไรที่คู่แข่งทำแล้วเวิร์คหรือไม่เวิร์ค สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้คนกำลังพูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของคู่แข่งว่าอย่างไร การตรวจสอบคู่แข่งนั้นยังช่วยให้คุณค้นพบโอกาสในการสร้างลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย

5. ชี้วัดประสิทธิภาพของ Brand Ambassador และ Influencer

Social Listening Tools สามารถวัดได้ว่าใครคืออินฟลูเอนเซอร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและถูกแชร์มากที่สุด และจะช่วยให้คุณติดตามเทรนด์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากใครมี Social Listenning อยู่ในมือ ก็จะช่วยให้คุณค้นพบอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นที่เหมาะสมกับแบรนด์ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือ Social Listening สามารถปรับใช้ในการทำ Influencer marketing ได้อยู่แล้ว เพียง Set Keyword ที่ต้องการ หรือเรียกดู Insight บางส่วนของ Page ของ Influencer ก็ย่อมได้ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเอาข้อมูลส่วนไหนของ Influencer ไปช่วยในการพิจารณา

6. ใช้ Social Listening Tool เพื่อศึกษาข้อมูลของลูกค้า

หากต้องการให้แคมเปญการตลาดของคุณประสบความสำเร็จ คุณต้องรู้ว่าควรจะกำหนดเป้าหมายแบบใด เพื่อที่จะได้เข้าถึงพวกเขาหรือเนื้อหาประเภทไหนที่พวกเขาจะสนใจ

• ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเท่าไหร่ แพลตฟอร์มไหนที่ใช้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องนำเสนอคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใด
• อะไรที่เขาพูดกันอยู่ตอนนี้ เทรนด์ แนวโน้มต่างๆ หัวข้ออะไรที่พวกเขากำลังให้ความสนใจ ลูกค้าของคุณกำลังค้นหาอะไรอยู่ แชร์อะไรอยู่ ติดตามการสนทนาเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสนใจและความต้องการของพวกเขา
• กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอย่างไรกับหัวข้อนั้นๆ เครื่อง Social Listening สามารถบอกคุณได้ว่าพวกเขามีมุมมองอย่างไรและรู้สึกอย่างไร โดยดูได้จาก Sentiment

Wrap Up

จะเห็นว่า Social Listening Tools นั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายและมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก ทั้งสามารถ Monitoring คู่แข่งจะทำให้คุณได้เปรียบในการทำกลยุทธ์มากขึ้น สามารถ Monitoring แบรนด์ของคุณจะทำให้มั่นใจว่าคุณจะไม่พลาดการพูดถึงสำคัญๆเกี่ยวกับแบรนด์ สามารถ Monitoring เทรนด์ที่ศึกษาประเภทของคอนเทนต์ต่างๆและนำมาพัฒนาในเรื่องของ Content Marketing ได้ สามารถ Monitoring  ลูกค้าที่ทำให้เรารู้เท่านั้นความชอบ ความสนใจ ความพึงพอใจ ของลูกค้าได้ จุดเด่นของ Social Listening Tool  อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือ ช่วยจัดการและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาที่มีคนไม่พอใจต่อนโยบายต่างๆ​ ก็มักจะไปตั้งกระทู้ Pantip แสดงความไม่พอใจ และถ้าองค์กรแก้ไขปัญหาไม่ดีก็จะส่งผลถึงความไม่น่่าไว้วางใจ​ หรืออาจมองได้ถึงว่าประสิทธิภาพการบริหารงานไม่ดีเท่่าที่ควร​ เพราะความรู้สึกว่า “ไว้วางใจต่อองค์กร​” ไม่ได้สร้างกันได้ง่ายๆ และหากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจริงๆ​ การกระจายของข่าวสารหรือข้อมูลในโลกยุค 4.0 นั้นมีความเร็วมากและ​สามารถสร้างกระแสได้เป็นอย่างดี อาจทำให้เกิดความเสียหายที่มหาศาล​ องค์กร​จึงควรที่จะต้องวางแผนในการรับมือกับปัญหาต่างๆ​ ให้รัดกุมที่สุด​ Social Listening สามารถบริหารจัดการวิกฤตหรือความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงทีและเร็วพอที่จะคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้

ไขข้อสงสัย! เนื้อหาบน Twitter แบบใด ที่สร้าง Engagement ได้ดีที่สุด

ทวิตเตอร์ กลายเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตที่ใครๆก็ต่างเข้าไปติดตามข่าวสาร อัพเดทเรื่องราวของตนเอง ไม่แปลกที่ยอดผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์พุ่งสูงมากในประเทศไทย  กลายเป็นแพลตฟอร์ม “Look At This” เป็นสื่อกลางในการพูดคุยสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแส หรือเนื้อหาที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม หากสังเกตเทรนด์ทุกวัน จะเห็นได้ว่ามีแฮชแท็กต่างๆมากมายที่เราอาจจะเข้าไม่ถึง อาจเป็นแฮชแท็กเกี่ยวกับแฟนคลับกลุ่มใดกลุ่มนึงออกมาติดแท็กเพื่อสุขสันต์วันเกิดศิลปินที่ชื่นชอบ หรืออาจเป็นแฮชแท็กข่าวสารบ้านเมืองต่างๆก็เป็นได้

หากต้องการทำการตลาดบนทวิตเตอร์ ควรจะฟังผู้บริโภคให้มาก เกาะติดกระแสอยู่เสมอ และศึกษารูปแบบการโพสต์มากมายที่เรียกยอด Engagement ได้ดี ประเด็นไหน รูปแบบการโพสต์แบบไหน เป็นแบบที่ผู้ติดตามชอบ ทาง Quiksprout ได้ทำการสำรวจกว่า 398,582 ทวีต และได้นำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบการโพสต์

ผลคือ

1. การโพสต์แบบรูปภาพ จะได้รับ Engagement มากกว่าวิดีโอ

ผู้ใช้งานบน Twitter ทวีตภาพมากกว่าวิดีโอ มากถึง 361% สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ จำนวนที่กดไลค์และรีทวีต โพสต์แบบภาพ มักจะได้รับการรีทวีตมากกว่าวิดีโอ 128% แต่วิดีโอจะได้รับความนิยมมากกว่าภาพ 49%

video vs image twitter
image type twitter

62% เป็นรูปภาพที่ตลกขบขัน ส่วน 38% เป็นรูปภาพแบบอื่น

2. ข้อความทำงานได้ดีกว่าภาพ

ใครจะคิดว่า การโพสต์แบบข้อความนั้นจะเรียกความสนใจได้ดีกว่าภาพ 93% ของทวีตทั้งหมดที่ได้ทำการวิเคราะห์มานั้น จะเป็นแบบข้อความที่ไม่มีภาพหรือวิดีโอใด ๆ

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ 65% ของทวีตข้อความที่มีลิงค์แปะมาด้วย เพื่อเป็นการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ โดย 85% นั้นมีการรีทวิตและให้ความสนใจกับโพสต์ นอกจากนี้หากคุณสทวีตไม่เกิน 100 ตัวอักษรจะ Engagement จะเพิ่มขึ้น 17%

image video text twitter

3. มีการโพสต์ลิงค์บทความแบบ List และ How to

การโพสต์ด้วยลิงค์บทความที่เป็น List และ How to จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับทวีตนั้นๆ โดยเฉลี่ยแล้วได้รับการรีทวีตมากกว่าเนื้อหาแบบข้อความประเภทอื่นๆมากถึง 3 เท่าเลยทีเดียว เนื่องจากบทความแบบ List และ How to จะค่อนข้างสั้นกระชับได้ใจความ และจะให้ประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาอ่าน ทั้งนี้ทั้งนั้น บทความนั้นๆต้องไม่ขายของมากจนเกินไป อาจจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เข้ามาอ่านก็เป็นได้

และสิ่งที่สำคัญ อาจจะต้องมีภาพ หรือแบรนด์เนอร์ที่น่าสนใจ ดึงดูด ผู้ใช้ทวิตเตอร์บางท่าน เลื่อนดูหน้าทามไลน์ด้วยความเร็วสูง และยังมีการที่ทวิตเตอร์รีเฟรชทามไลน์ให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ เราอาจจะมีเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ที่ทำให้แบรนด์เนอร์ของบทความนั้นเตะตาผู้ใช้งาน

how to text twitter

4. ทวีต ติดโพล

การเปิดโพลล์ จะทำให้ให้ผู้ใช้ได้เข้ามามีส่วนร่วม และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนุกหรือการออกความคิดเห็น การโพสต์พร้อมการฟีเจอร์นี้จะทำให้คอนเทนต์ไม่น่าเบื่อ

นี่คือตัวอย่างทวีตที่เล่นกับโพลที่ประสบความสำเร็จ โดยโพลล์นี้มีผู้ร่วมโหวตมากถึง 132,757 ยูสเซอร์ และมีการรีทวิตมากถึงสองพันกว่ารีทวิต ถือว่าได้รับ Engagement เยอะมากเลยทีเดียว

5. โพสต์ด้วย QuotePic

เมื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับการทวีต พบว่ามีคำพูดเจ๋งๆมากมายที่มีแนวโน้มที่จะได้รับการรีทวีตมากถึง 847% เป็นตัวเลขที่เยอะมาก และก็ไม่น่าแปลกใจ ผู้ใช้ที่ทวีตเกี่ยวกับคำคม มักจะได้ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นถึง 43%

ในทางกลับกัน การโพสต์แบบตั้งคำถาม จะได้รับการตอบกลับ หรือมีการ Replay มากกว่า Quote มากถึง 1050%  ดังนั้น เราควรตระหนักก่อนโพสต์ว่าเราอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน หากอยากได้ Conversation อาจจะต้องโพสต์แบบเป็นการตั้งคำถาม หรือหากต้องการยอดแชร์ ยอดรีทวีต ก็อาจจะต้องโพสต์แบบเป็นคำคม ถ้าต้องการสร้างแบรนด์ด้วย Quote อาจจะต้องมีเทมเพลตที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และอย่าลืมติดแฮชแท็กประจำแบรนด์ หรือโลโก้ เพื่อเป็นการสร้างการตระหนักรู้

quotes


source : https://www.quicksprout.com/twitter-engagement/

Facebook ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่! “การส่งข้อความ” เพื่อการขายผ่านสื่อออนไลน์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรับ-ส่งข้อความด้วยแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องตระหนักว่าจะมีวิธีอย่างไรในการเข้าถึงเทรนด์ต่าง ๆ และทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ทางการตลาดจากกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้

ในการทำวิจัยครั้งนี้ Boston Consulting Group ได้ทำการสำรวจออนไลน์ ในกลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 8,864 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานทางข้อความ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่ใช้งานข้อความเพื่อการซื้อ-ขายสินค้า อย่างที่ทราบกันดีว่าข้อมูลสินค้าและราคาเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วความรวดเร็วในการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกัน ซึ่งนั่นชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆที่แบรนด์จะนำมาพัฒนาการบริการที่ดีขึ้น เช่น การตอบกลับลูกค้าโดยได้ทันทีทันใด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์

“ผู้บริโภคส่วนมากมีพฤติกรรมซื้อ – ขายผ่านทาง Social media และกว่า 90% การซื้อ-ขายจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Facebook (Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram)”
นั่นคือประเด็นสำคัญที่แบรนด์ต้องนำมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานให้มากขึ้น

“พฤติกรรมการซื้อ-ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นรับ-ส่งข้อความ ไม่ได้เติบโตเฉพาะแค่ในกลุ่มของผู้ซื้อขายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายอื่นๆเช่นกัน”

จากการวิจัยพบว่าการมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคแบบทันทีทันใด จะช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย ดังนั้นการใช้ข้อความตอบกลับแบบอัตโนมัติจึงช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ และยังเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่กลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ : คลิก

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/facebook-publishes-new-research-into-the-growth-of-messaging-for-commerce/563547/

6 ข้อผิดพลาดของการทำ Content marketing ที่ทำให้คุณล้มเหลว

ปัจจุบันการทำ Content marketing เป็นที่นิยมมาก อาจเป็นเพราะลงทุนในเม็ดเงินที่น้อย แต่อาจเพิ่มโอกาสในการขายได้สูง จากการสำรวจโดยสถาบันการตลาดพบว่า 92% บริษัทมองว่า content เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ดังนั้นนักการตลาดจำเป็นต้องมี Content marketing ที่ดีที่จะสามารถเพิ่ม Traffic ให้กับทุกๆแพลตฟอร์มที่เราได้ทำการตลาดลงไป และยังสามารถเพิ่ม ROI เพื่อให้ได้รับผลตอบลัพธ์ที่ดีที่สุด

1. ไม่มีการ Reusable content

การสร้าง content ที่มีคุณภาพ แน่นอนว่าต้องใช้ระยะเวลา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่นักการตลาดต้องสร้าง Content ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดบนช่องทางสื่อ social media ต่างๆ นักการตลาดสามารถเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อาจมีการปรับเปลี่ยนจากการโพสต์ใน blog เปลี่ยนเป็นการทำ infographic หรือ วิดีโอ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีในการใช้นำ content กลับมาใช้ใหม่ที่มีรูปแบบการโพสต์ลงสื่อ social ที่แตกต่างกันไป

2. ไม่มีการสร้างกลยุทธ์

นักการตลาดต้องสร้าง content ที่เป็นกลยุทธ์ในแต่ขั้นตอน และกระบวนการที่จะสามารถกระตุ้นกลุ่มผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมายได้ ให้มีการตอบสนองและการตระหนักรู้กับแบรนด์บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์บน blog หรืออาจจะเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบ E- books เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

3 ไม่ให้ความสนใจกับกลุ่ม User-generated content

User-generated content คือผู้บริโภคที่ผลิต content นั้นด้วยตัวเอง โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปจ้าง มีทั้งในรูปแบบ ถ่ายรูปสินค้า วิดีโอ หรือ blog จากการศึกษาของ Reevoo ผู้คน 70% มีความมั่นใจและเชื่อถือในสินค้าที่มาจากผู้ใช้จริงมากกว่า หากนักการตลาดไม่ให้ความสนใจในกลุ่มของ User-generated content ถือว่าพลาดโอกาสสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งนักการตลาดสามารถจัดแคมเปญที่ให้กลุ่ม User-generated content ได้มีส่วนร่วม ผ่านทางช่องทาง social media ต่างๆ เช่น Facebook และ Instagram เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์ได้มากขึ้นอีกด้วย

4. Content ไม่ได้รับอนุมัติ

ก่อนที่จะทำการเผยแพร่ content ลงบนสื่อ social media ต่างๆ นักการตลาดควรตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ เพื่อที่จะได้ทำการเผยแพร่ได้ในเวลาที่เหมาะเจาะ และนักการตลาดควรตรวจสอบการอนุมัติ content ในทุกขั้นตอนเพื่อติดตามผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย

5. ไม่มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของ Content

หนึ่งในข้อที่นักการตลาดทำผิดพลาดมากที่สุด คือการไม่ตรวจสอบประสิทธิภาพของ content บนแพลตฟอร์มก่อนโพสต์และหลังโพสต์ลงบน social media

ตัวอย่างเช่น เราควรตรวจสอบก่อนทุกครั้งว่า Content แบบไหนควรใช้กลยุทธ์แบบไหนก่อนโพสต์ทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด และควรดูผลลัพธ์หลังโพสต์ทุกครั้ง
ซึ่งนักการตลาดที่ดี ควรรอบรู้เรื่องของมาตรวัดต่างๆบนแพลตฟอร์มที่เราใช้ทำ Digital Marketing เพื่อที่จะได้นำมาวัดและประเมิณประสิทธิผล Content ทุก Content ที่เราได้ทำการอัพเดตผ่านแพลตฟอร์ม

6. ไม่มีการ Promote content

อาจเสียเปรียบอย่างมากถ้าไม่ลอง Promote Content ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง
ซึ่งมีแนวปฏิบัติ 80/20 คือใช้เวลา 20% ในการสร้าง Content และอีก 80% เพื่อ Promote ผ่าน Social media ต่างๆเช่น blog อีเมลล์ หรือที่นิยมกันก็คือการบูสต์โพสต์บนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊คอินสตาแกรม เป็นต้น

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/6-content-marketing-mistakes-youre-still-making-and-how-to-avoid-them/563047/

7 มาตรวัดสำคัญ ที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม!

 

โซเชียลมีเดียที่เราเลือกใช้ทำการตลาดนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และทำให้เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย ประกอบกับแพลตฟอร์มต่างๆนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น การใช้มาตรวัดเก่าๆเดิมๆ อาจไม่ทำให้รู้ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง การทำดิจิตอลการตลาดยุคใหม่ จึงไม่ควรดูเพียงแค่ยอด Engagement หรือ Reach การศึกษามาตรวัดอื่นๆอาจจะทำให้คุณนั้นวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

1. Social reach

การวัดจำนวนผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูลของคุณแบบไม่ซ้ำกัน หมายความว่า 1 คน อาจจะเห็นโพสต์นี้กี่ครั้งก็ได้ แต่ Reach จะนับเป็น 1 ซึ่งจะแตกต่างจากค่า Impression ที่จะแสดงให้เห็นว่าโพสต์ที่มีคนเข้าถึงไปแล้วกี่ครั้งแบบซ้ำกัน

สรุปคือ

Impression คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่ครั้ง
Reach คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่คน

สองค่านี้สำคัญอย่างไรต่อแบรนด์?

 

 

ค่า Reach เป็นค่าที่บ่งบอกว่าเนื้อหาข้อความที่โพสต์นั้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด และสามารถวัดการเข้าถึงแคมเปญโฆษณาที่คุณได้เผยแพร่ออกไป และยังบ่งชี้ได้ว่าโฆษณามีประสิทธิภาพมากเพียงใด ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยค่าตัวเลขนี้จะส่งผลต่อค่าอื่นๆ เช่น ค่า Engagement จำนวนการคลิกลิงค์ และอื่นๆ

 

2. Bounce rate

Bounce rate เป็นเครื่องมือที่เอาไว้วัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณ ว่าสวยงามพอหรือไม่ น่าสนใจพอหรือเปล่า น่าดึงดูดให้เข้าชมมากน้อยแค่ไหน โดยจะวัดเป็นอัตราส่วน และบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้าเว็ปไซต์เพียงหน้าเดียวและก็ปิดไปโดยไม่เข้าไปหน้าอื่นๆของเว็บไซต์เลย ยิ่งมีอัตราสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่งชี้ได้ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ดึงดูดให้ผู้เข้าชมนั้นเลือกเสพในส่วนอื่นๆของเว็บไซต์  เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม อาจจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและน่าดึงดูดมากขึ้น เพื่อลดอัตราของ Bounce rate และถ้าทำ SEO ก็ส่งผลให้เว็บไซต์ได้อันดับดีๆอีกด้วย

 

3. Follower growth rate

อัตราการเติบโตของผู้ติดตามเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงว่าเนื้อหาของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนหรือไม่ ช่วยให้คุณพิจารณาว่าที่โพสต์เป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมของคุณได้รึเปล่า และโพสต์ของคุณสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่

สามารถวัดและติดตามอัตราการเติบโตของผู้ติดตามได้อย่างไร ทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะแสดงจำนวนผู้ติดตามของคุณและการเติบโต เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกณฑ์มาตรฐานผู้เข้าชม และตั้งค่าช่วงเวลาที่ต้องการเพื่อวัดค่า ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการดู Feedback ของแต่ละโพสต์คุณอาจจะดูความแตกต่างของผู้เข้าชมเพียงระยะสั้นๆ แต่หากคุณต้องการทำความเข้าใจ Feedback ของแคมเปญ คุณจะต้องดูความแตกต่างในระยะยาว หากอัตราการเติบโตของคุณไม่ดีพอ ให้ลองเปลี่ยนแปลงความของถี่โพสต์ หัวข้อเนื้อหา รูปแบบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น โพสต์เนื้อหาภาพข้อความสลับกับวิดีโอ เป็นต้น

 

4. Engagement

 

 

Engagement ที่แปลว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้า แล้วค่า Engagement นั้นสำคัญไฉน?

เพราะมันแสดงให้เห็นว่า มีคนจำนวนเท่าใดที่โต้ตอบกับเนื้อหาของคุณ คุณอาจพบว่าผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ในรูปแบบวีดิโอ มากกว่า infographic หรือสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนมีแนวโน้มที่จะได้รับค่า Engagement มากในอนาคต ค่า Engagement จะบ่งชี้ว่าแบรนด์ของคุณเชื่อมโยงกับลูกค้าของคุณมากน้อยเพียงใด โดยได้มาจากยอด “ไลค์ คอมเม้นต์ แชร์ เซฟ” หรือการมึปฏิสัมพันธ์กับคอมเทนต์นั้นๆนั่นเอง

มีมากมายหลายวิธีมากมายที่ยังสามารถช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับแบรนด์ของคุณได้ วิธียอดฮิตที่เหล่า Digital Marketing ทำกันเป็นประจำ ก็ไม่พ้นการซื้อ Ad บูสท์โพสต์ แต่ก็มักจะได้ค่า Engagement ที่ไม่มีคุณภาพ วิธีเพิ่มค่า Engagement ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท คือ…

  • Content ต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูด
  • โพสต์ในเวลาที่เหมาะสม
  • ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ได้ตั้งไว้

 

 

5. Sentiment

 

 

อารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเรามีภาพลักษณ์แบบไหนในสายตาของลูกค้า  โดยผ่านกระบวนการคัดกรองข้อความบน Social Media ผ่านโครงสร้าง Algorithm ได้ Output ออกมาและแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้

  • Positive การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
  • Nuetral การแสดงความคิดเห็นแบบเป็นกลาง
  • Negative การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ

หากเราเห็นค่าของของอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายไปในทิศทางที่เป็นลบมากเกินไป แบรนด์จะต้องหาทางแก้ไขโดยการฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ คอยดูความเคลื่อนไหวต่างๆของผู้บริโภค เสียงของผู้บริโภคที่อยู่บนโลก Social ผ่านการ Monitor และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่น ลูกค้าไม่พอใจในการบริการของแบรนด์ และโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์เพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ หากแบรนด์ไม่แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจเกิดการแชร์ต่อ และอาจจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย

 

6. Social media audience demographics

บุคคลที่สำคัญต่อแบรนด์ คือ ลูกค้า  และสถิติสำคัญ ก็คือการรวบรวมข้อมูลต่างๆของกลุ่มลูกค้า Demograpic  คือ ข้อมูลประชากร หรือข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามประเภทคุณลักษณะของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น อายุ เพศ ที่อยู่อาศัย การศึกษา รายได้ ฐานะทางสังคม และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพกลุ่มประชากรเป้าหมายของคุณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มหรือโอกาสทางการตลาดได้เช่นกัน

สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่เข้าเยี่ยมชม Facebook Page หรือ Instagram Account ได้ที่ Facebook Audience Insights แล Instagram Insights หรอหากเป็นแพลตฟอร์มอื่น ก็สามารถเข้าถึงการดูข้อมูลเชิงลึกได้เช่นกัน

 

7. Fan base

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญต่อแบรนด์ ยิ่งเป็นลูกค้าที่คอยเกื้อหนุนแบรนด์ ช่วยโปรโมทแบรนด์ของคุณ เป็นแฟนคลับแบรนด์ของคุณ หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า Brand Royalty กลุ่มลูกค้าผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์  นอกจากจะรู้จำนวนและข้อมูลของกลุ่มลูกค้าคร่าวๆแล้ว ก็ควรที่จะต้องคำนวณแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณด้วย โดยสามารถวัดได้จากการที่พวกเขาติดแท็กเป็นประจำ พูดถึงแบรนด์เป็นประจำ แชร์และรีวิวด้วยทัศนคติในเชิงบวกอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะดูวิดีโอของคุณและช่วยกดแชร์อยู่เสมอ หรือติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด กดไลค์ กดแชร์ และช่วยสร้าง Engagement ที่มีคุณภาพให้กับเพจของคุณ

ทำไมถึงต้องรู้อัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มลูกค้าในระดับ Loyal Customer

เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่คอยซัพพอร์ทแบรนด์อยู่เสมอ จึงควรที่จะต้องรู้อัตราการเติบโตหรือถดถอยของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ หากมีอัตราการถดถอยของกลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดี ก็ควรเฟ้นหาวิธีรักษาฐานลูกค้าที่อยู่ในระดับ Loyal Customer  ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้ากลุ่มเก่าที่ทีที่สำคัญกว่าการสร้างฐานลูกค้าใหม่ เช่น การคิดค้นโปรโมชั่นสำหรับ Member Card   การให้ Service ที่เหนือกว่า เป็นต้น

 

 

Source :  https://contentmarketinginstitute.com/2019/07/social-media-metrics-brand/

 

 

 

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable