Category: Uncategorized

FACT & INSIGHT ต่างกันอย่างไร | 4 วิธีที่จะทำให้เราได้ Customer Insight มา

เราจะขายของได้ยังไง ทำยังไงลูกค้าถึงจะซื้อ เป็นการตั้งคำถามแบบเบสิคๆก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจบางอย่าง และหนึ่งในคำตอบที่ทำให้คุณรู้ว่าทำอย่างไรลูกค้าถึงจะซื้อสินค้าและบริการ คือ..การรู้ถึงเบื้องลึกในใจของลูกค้า หรือ Insight เพื่อให้แบรนด์ได้เข้าใจถึงความคิด ทัศนคติ ความเห็น และความต้องการที่แท้จริงของลูกค้านั่นเอง


แล้วเราจะแยกอย่างไร ระหว่าง Fact และ Insight

Fact คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป หรือการรับรู้และเข้าใจเรื่องเรื่องหนึ่งเบื้องต้น และผิวเผิน

Insight เกิดจากการแปลผลจากการที่เราทำ Research นั้นมาจนรู้ว่าผลลัพธ์นั้นมีค่านัยยะสำคัญ หรือมีค่าความสัมพันธ์บางอย่าง หรือเป็นความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ทัศนคติ ที่เกิดขึ้นของกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้ทำการสื่อสารออกไปได้อย่างตรงจุด และตรงใจกลุ่มลูกค้ามากที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น 

Fact : คุณภาพการนอนหลับของคนเกาหลี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศ OCED เพียง 58 นาทีเท่านั้น

Insight : คนเกาหลีในวัยทำงานที่มักจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ มักจะงีบหลับไปพร้อมกับความกังวลเวลาขึ้นโดยสาร พวกเขาต้องหลับๆ ตื่นๆ เพื่อเช็คไม่ให้เลยสถานีที่ต้องการจะลง 

จะเห็นได้ว่า Insight เกิดจากการ Deep understanding ใน Fact นั้นๆให้เข้าใจถึงปัญหาหรือจุดประสงค์ที่อยู่เบื้องลึกในใจของคนกลุ่มนั้นๆ

แบรนด์ Burger king เล็งเห็นถึง Pain point ที่เกิดขึ้น เลยพยายามที่จะทำการสื่อสารกับกลุ่มคนทำงานในประเทศเกาหลี โดยใช้ชื่อแคมเปญว่า “Morning Like a King”

โดยทางเบอร์เกอร์คิงได้ผลิตผ้าปิดตาที่ปักไปด้วยประโยค “ได้โปรดปลุก หากถึงสถานีกังนัม” “ได้โปรดปลุก หากถึงสถานีนัมชอง” เพื่อให้ผู้โดยสารนั้นพักผ่อนระหว่างเดินทางได้อย่างไร้ความกังวล มากไปกว่านั้น ทางเบอร์เกอร์คิงได้แนบคูปอง 2 ใบไว้ในผ้าปิดตา หากมีผู้ประสงค์ดีทำการปลุก ก็ให้แจกคูปองเพื่อรับกาแฟอเมริกาโน่ที่ร้านค้าเบอร์เกอร์คิงได้เลย

จะเห็นได้ว่า Burger king ได้ทำการตลาดและทำการสื่อสารอย่างแยบยล โดยนำ Insight มาต่อยอดเป็นแคมเปญในการทำการตลาด 

แล้วเราจะหา Insight ได้อย่างไร

1. Be everywhere

นักการตลาดที่ดี จะแฝงตัวในทุกๆแพลตฟอร์มที่ลูกค้าใช้อยู่ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าและมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารทั้งหมด อีเมล โทรศัพท์ โฆษณาทีวี และโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ และเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อจะนำไปสู่การค้นหา Insight ในขั้นตอนต่อๆไป ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการใช้สื่อ รับฟังเสียงผ่านโซเชียลมีเดีย หรือการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆอย่างละเอียด ฯลฯ

2. ติดตามพฤติกรรมของลูกค้า

การสังเกต อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเห็นพฤติกรรมของลูกค้าโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวมาก่อน เราจะรู้ได้เลยว่าลูกค้ามีไลฟ์สไตล์แบบไหน ชอบทำอะไร ชอบกินอะไร มีพฤติกรรมการใช้สื่อประมาณไหน การสังเกต เลยทำให้เราเห็นทั้งบริบทและสภาพแวดล้อมโดยรวมของลูกค้าเราได้ หรือ การเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าแบบเรียลไทม์ผ่าน Social listening tools เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร ผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทใดที่พวกเขาชอบ และอะไรคือปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าของเรา ลูกค้าของคู่แข่ง หรือแม้แต่กลุ่มเป้าหมายที่กำลังลังเลที่จะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ก็ควรจะสังเกตพฤติกรรมกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย

3.  In-depth interview และ Survey

ไม่มีวิธีใดที่จะศึกษาความต้องการของลูกค้าได้ดีไปกว่าการถาม ยิ่งถามก็จะยิ่งรู้ถึงเบื้องลึกในใจลูกค้า เราจะไม่มีทางรู้ว่าลูกค้าชอบสินค้าตัวไหนมากกว่ากัน และจะไม่รู้เหตุผลว่าเพราะอะไรลูกค้าถึงชอบ การสัมภาษณ์ หรือการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้ถึงพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติของลูกค้า และปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้าโดยตรง ยิ่งคุณรู้จักลูกค้ามากเท่าไหร่โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น 

ส่วนใหญ่การของลูกค้าด้วยการ In-depth Interview มักจะวิธีที่มาพร้อมกับการทำ Survey 

  • Survey

แบบสอบถาม เป็นการสำรวจที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการใช้งาน แบบสอบถามจะมาในรูปแบบกระดาษ หรือผ่าน google form ก็ได้ ปัจจุบันมีการให้กรอกแบบสอบถามผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เป็นเรื่องง่ายมากที่จะแจกจ่ายให้กลุ่มเป้าหมายได้ทำแบบสำรวจ

  • In- Depth Interview

เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล เป็นการซักถามพูดคุยกันระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อลึกล้วงคำตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน การถามนอกจากจะให้อธิบายแล้ว จะต้องถามถึงเหตุผลด้วย การสัมภาษณ์แบบนี้ จะใช้ได้ดีกับการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล เจตคติ ความต้องการ ความเชื่อ และค่านิยม 

โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จะเป็นวิธีที่เห็นผลที่สุดในการที่เราจะได้ Insight มาก เพราะการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จะทำให้เราได้คำตอบอย่างละเอียด และลึกในหัวข้อเฉพาะที่ต้องการ ติดต่อสื่อสารโดยตรง สามารถทำให้เข้าใจในข้อมูลระหว่างกันและกันได้ดี โดยผู้สัมภาษณ์ และผู้ให้สัมภาษณ์สามารถตอบสนองกันได้ทันที่ โดยขณะสัมภาษณ์ ผู้ถามสามารถใช้วิธีการสังเกตถึงพฤติกรรม สีหน้าท่าทาง ของผู้ตอบไปด้วยได้ แต่ขณะสอบถาม ต้องระวังไม่ให้ใส่ความคิดของตนเองลงไปในความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย

ทั้งนี้ การสัมภาษณ์จะเชื่อถือได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และความไว้วางใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้น ความใกล้ชิดสนิทสนม อาจมีผลต่อความไว้วางใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย

4. วิเคราะห์ข้อมูล

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะได้ Insight มา คือการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนำข้อมูลที่เราได้จากการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า บวกกับการทำ survey ประกอบกับการสัมภาษณ์ ซึ่งสามารถเอามาวิเคราะห์ทำให้เห็นภาพว่าผู้บริโภคกำลังคิดอย่างไรกับแบรนด์

เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาเป็นการง่ายที่จะเริ่มการวิเคราะห์ได้ว่าการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แล้วมาให้ประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง และ ลูกค้าแต่ละคนมีพฤติกรรม หรือมีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้งาน การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์ได้มากมาย ถ้าเจาะลึกลงไปในส่วนต่าง ๆ และสามารถปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของตัวเองให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะการสร้างการตลาดที่สามารถดึงกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาซื้อสินค้าบริการได้ สร้างการบอกต่อ (word of mouth) เพิ่มขึ้นได้

Put yourself in someone’s shoes

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้เราเข้าใจหัวอกลูกค้ามากขึ้น

Source : https://dhenrilawblog.wordpress.com/2016/01/29/oomh-fact-vs-insights-the-difference-is-clear/

https://medium.com/@thelamchop/facts-vs-insights-7fcd1d4c6649

Brand Health Check เช็คสุขภาพให้แบรนด์ด้วย Social Listening tool

Brand Health Check คืออะไร


Brand health check คือ การวัดหรือประเมิณภาพรวมของแบรนด์ วัดความสมบูรณ์ของแบรนด์ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้แบรนด์ ค่าความสนใจที่ลูกค้ามีให้กับแบรนด์ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์ การทำ Branding

How to Build a Successful Brand Identity for a Startup
Source : https://rubygarage.org/blog/concise-startup-branding-guide


brand positioning graph
Source : https://xposurecreative.uk/brand-positioning-example/?cli_action=1546153425.93


Positioning ของแบรนด์ พฤติกรรมการซื้อและการบริโภคสินค้า การรีวิว และการวิพากษ์วิจารณ์แบรนด์บนโลกออนไลน์ Brand loyalty

ทำไมต้องทำ Brand health check

เมื่อพูดถึงสุขภาพของแบรนด์ ประสิทธิภาพของแบรนด์ ทำให้เราได้มองแบรนด์เป็นภาพใหญ่มากขึ้น โดยพิจารณาองค์รวมของแบรนด์แง่มุมต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น จะช่วยให้คุณระบุจุดแข็ง และจุดอ่อน ทำให้เราได้วางกลยุทธ์แบรนด์ได้อย่างครอบคลุม

วิธีทำ Brand Health Check

1. วิเคราะห์ feedback ของลูกค้าผ่าน Social Listening Tools

หากมี Social Listening Tools ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ Brand Health Check แบรนด์สามารถตรวจสอบจำนวน mention ที่ลูกค้ากล่าวถึงแบรนด์ได้ รวมถึงความคิดเห็นต่างๆของลูกค้าได้จากหลากหลายช่องทาง และสามารถดูค่า Engagement Value ของแต่ละโพสต์ได้ นอกจากนั้น Social listening tools มีความสามารถในการแบ่งแยก Sentiment ในแต่ละโพสต์ที่ลูกค้ากล่าวถึงแบรนด์ได้ ว่ามีการกล่าวถึงแบรนด์ในเชิงบวกหรือเชิงลบมากกว่ากัน และสามารถแสดงความแตกต่างระหว่างแต่ละช่วงเวลาได้ด้วย ทั้งนี้ หากมีการพูดถึงแบรนด์ในเชิงลบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางแบรนด์ก็ควรตั้ง Alert เพื่อให้ตรวจสอบ เพื่อป้องกันการเกิด crisis ได้

โดยสามารถตรวจสอบสุขภาพของแบรนด์ด้วยเครื่องมือ SocialEnable 4 เป็นเครื่องมือ Social Listening Tools ที่สามารถตรวจจับและฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเก็บ Insight กลุ่มผู้บริโภคบนโลกโซเชียลได้ในระยะเวลาอันสั้น ท่านสามารถรู้ได้เลยว่า พวกเขาคิดอย่างไรกับแบรนด์ของคุณ มีอารมณ์[Sentiment] หรือ ความต้องการ[Purpose] ในลักษณะไหน อย่างไรบ้าง หรือเช็กสถิติและวัดค่าต่างๆก็สามารถทำได้เพียงแค่คุณมี SocialEnable 4 การตรวจสุขภาพให้กับแบรนด์ก็เป็นเรื่องง่ายๆในทันที

โดยมีหลักการ Set keyword เพื่อทำการ monitoring มีดังนี้

2. ทำ Focus group และ survey
การทำ Focus group เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์รายกลุ่ม ศึกษาถึงความคิดเห็น ความเชื่อ หรือทัศนคติ ต่อสินค้า บริการ หรือแนวคิด การทำโฟกัสแบบกลุ่ม เป็นวิธีที่นิยมที่สุด เพราะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและมีคุณภาพ ในส่วนของการทำแบบสำรวจอาจเป็นวิธีที่ยากและใช้เวลา เพราะต้องรวบรวมกลุ่มตัวอย่าง และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เต็มใจ แต่แบรนด์สามารถจูงใจให้ลูกค้าที่กรอกแบบสำรวจ โดยเสนอโค้ดส่วนลดหรือหรือแจกของรางวัลต่างๆ เป็นต้น

สรุป 4 กลยุทธ์ Data – Driven Marketing ที่นักการตลาดเลือกใช้ในปีนี้

1. Hyper-Personalization

การตลาดแแบบ Personalization ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในแบรนด์มากขึ้น แต่ในยุคสมัยนี้อาจจะไม่พอที่จะช่วงชิงเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าได้ เมื่อการตลาดต่างยึดให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราจึงต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นอันดับแรก และต้องตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็วทันใจ เมื่อมนุษย์สามารถสร้างให้ Machine learning มีความฉลาดหลักแหลมขึ้นทุกวัน หลายๆบริษัทจึงเริ่มมีการทำ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการทำ Persolization แบบเรียลไทม์ ความพร้อมของข้อมูลก็ต้องเรียลไทม์ด้วยเช่นกัน Personalization ดึงดูดผู้บริโภคได้มากถึง 90% ส่วนของ 80% ชอบให้แบรนด์ทำ Personalization

Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแบรนด์ ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง


2. Interactive Emails 

ใครๆต่างบอกว่าเทรนด์ Email Marketing กำลังจะหายไป แต่นั่นอาจไม่เป็นความจริง เมื่อ Big data ทำให้การมีอยู่ของอีเมลมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแค่ได้ข้อมูลมา DATA จะช่วยให้เราคัดกรองลูกค้า หรือแบ่งกลุ่ม และสามารถส่งข้อมูลให้ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อัตโนมัติ  นอกจากนั้น Big data สามารถทำให้เราวัดประสิทธิภาพของการทำการตลาดผ่านอีเมลได้ทันที และสามารถใช้ข้อมูลนั้นวิเคราะห์และสร้างกลยุทธิ์ต่อไปได้

ต่อให้มีการส่งสารในรูปแบบของแชทเข้ามา อีเมลก็ยังคงเป็นที่ความนิยม  อาจเป็นเพราะการส่งอีเมลมีความเป็นทางการกว่าการส่งแชท อีเมลจึงเป็นช่องทางหลักเอาไว้ติดต่อสื่อสารกันในเรื่องงาน  กล่าวได้อย่างชัดเจนว่าการตลาดผ่านอีเมลกำลังมาแรงในปีนี้

3. Focus On Micro-Moments

Micro – moment  คือช่วงเวลาที่ลูกค้าเกิดความต้องการที่จะทำในทันที

Micro-Moments จึงเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความมุ่นมั่นตั้งใจของลูกค้า เป็นตัวกำหนดรูปแบบการตัดสินใจตลอดเส้นทางของลูกค้า ช่วงเวลาเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเจอสิ่งกระตุ้นเช่น การเห็นโฆษณา การพบเจอกับปัญหา การค้นหาบางสิ่งเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ เพื่อที่จะช่วงชิงลูกค้าและตอบสนองความต้องการ แบรนด์ต่างๆต้องอยู่ในที่ที่ผู้คนค้นหาในช่วงเวลานั้นๆ การนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าช่วงไหนคือ Micro moment ความได้เปรียบของแบรนด์จะอยู่ตรงที่เรานำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้หรือไม่ แล้วแบรนด์จะทำอย่างไรกับ Micro Moment ของลูกค้า 

4. Omnichannel Marketing

หากคุณติดตามแนวโน้มการตลาดในปี 2019 คุณอาจเจอคำว่า “Omnichannel Marketing” มากกว่าหนึ่งครั้ง แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะสับสนระหว่างคำนี้กับ multi-channel Marketing แต่ทั้งสองก็มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ในขณะที่การตลาดแบบ multi-channel Marketing เป็นเกี่ยวกับการเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ การตลาดแบบ Omnichannel นั้นเกี่ยวกับการดูแลผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในช่องทางหล่านี้ ไปสู่กระบวนการซื้อ เกี่ยวกับ customer journey ขั้นตอนต่างๆของกระบวนการซื้อ และอื่น ๆ และด้วยเหตุนี้จึงเกี่ยวข้องกับ personalization และ hyper – personalization โดยนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์อีกเช่นเคย

เมื่อได้ทำการตลาดแบบ Omnichannel คุณสามารถทำให้ journey ทั้งหมดของลูกค้าดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นำเสนอประสบการณ์ใหม่แบบ hyper – personalization เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ และเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วม 

ไม่ต้องไปพึ่งพาแพลตฟอร์มอื่นเพียงอย่างเดียว หากวันหนึ่ง facebook หรือ IG ไม่ใช่สื่อหลักอีกต่อไป หรือพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิม การเตรียมระบบ OmniChannel ไว้ก็เป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ธุรกิจหรือแบรนด์ได้ เพราะมี Big Data อยู่ในมือของตัวเองจึงนำไปใช้ต่อยอดแตกไลน์รองรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Wrap up

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ ตั้งแต่ Hyper – Personalization ที่เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ หรือ Email Marketing ที่นิยมกันมาตั้งแต่ที่เราเริ่มใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างจริงจัง แต่การกลับมานิยมอีกครั้ง อาจเป็นเพราะหลายบริษัทที่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคแห่ง Data Driven ได้ไว และประสบความสำเร็จในการทำกลยุทธ์เมื่อได้นำ Big Data เข้ามาช่วย ถึงกระนั้น Big data อาจจะไม่เป็นประโยชน์สูงสุด และอาจเกิดความล้มเหลวในการวางแผนกลยุทธ์ได้ หากคุณนั้นไม่มีเป้าหมายในการใช้ Data และตอบไม่ได้ว่าจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร ใช้เครื่องมือไหนในการเก็บข้อมูล บางทีอาจจะต้องเริ่มจากตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อนที่จะวางแผนในสเตปต่อไป

สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂

Source :  https://www.smartdatacollective.com/big-data-is-shaping-huge-digital-marketing-trends/

“ความคิดเห็นเชิงลบ” มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

1. ความคิดเห็นเชิงลบสามารถสร้างความไว้วางใจของลูกค้าได้

เมื่อคุณไล่ดูคอมเมนต์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่มีแม้แต่การ Complain หรือความคิดเห็นเชิงลบเลย ก็ต้องมีสงสัยกันบ้าง ว่าสินค้าหรือเซอร์วิสอะไรที่ทำให้ลูกค้าพอใจมากขนาดนั้น จากการวิจัยของ Revoo ลูกค้า 95% สงสัยว่าการรีวิวในเชิงลบถูกเซ็นเซอร์ออกไป หรือถูกลบออกไป หรืออาจจะถูกสงสัยว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นของปลอม หากไม่เห็นรีวิวหรือความคิดเห็นในเชิงลบ และ 65% เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นเมื่อมีการรีวิวทั้งเชิงลบและเชิงบวกปนกันไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีแบรนด์ไหนสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง

2. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยให้ลูกค้าคนอื่นรู้สึกว่า “ได้รับข้อมูลใหม่”

ลูกค้าคนอื่นๆ จะเข้ามาอ่านบทวิจารณ์และอ่านคอมเมนต์เพื่อทำการตัดสินใจซื้อ เชื่อว่าหลายคนจะมองหารีวิวที่มีทั้ง Sponsored และ Non sponsored เพื่อที่จะได้นำมาพิจารณาว่าควรจะซื้อสินค้าบริการหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนไม่ได้พิจารณาจากเพียงบทความเดียว อย่างน้อยต้องมากกว่าหนึ่งบทความเพื่อชั่งน้ำหนักว่า ขอดีของสินค้าและบริการนั้นมีมากกว่าข้อเสียยังไง ยกตัวอย่างจาก Amazon เว็บ Ecommerce ชื่อดัง ได้ทำการตั้งค่าบทวิจารณ์ที่ลูกค้าสามารถดูสรุป พร้อมคะแนนโดยรวม และรายละเอียดตามระดับความชื่นชอบ โดยจะแสดง “บทวิจารณ์เชิงบวกที่เป็นประโยชน์มากที่สุด” และ “บทวิจารณ์เชิงลบที่มีประโยชน์สูงสุด” ตามที่ผู้ใช้ของ Amazon ได้ทำการโหวต

3. ความคิดเห็นเชิงลบเพิ่มโอกาสให้คุณได้ keep relationship กับลูกค้า


เป็นการดีที่แบรนด์จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเอาไว้จากการที่ลูกค้าเข้ามารีวิวไม่ว่าจะเชิงลบหรือเชิงบวก นั่นหมายความว่าแบรนด์ยังมีโอกาสได้แก้ตัวใหม่กับข้อผิดพลาด ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้าหายไปอย่างเงียบๆ หลังจากผิดหวังและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น นั่นอาจจะทำให้แบรนด์นั้น อาจสูญเสียลูกค้าไปแล้วก็เป็นได้


Jay Baer เจ้าของเว็บไซต์การตลาด กล่าวว่า ที่ธุรกิจต่างๆเลือกที่จะไม่ตอบรีวิวเชิงลบ นั้นเป็นเพราะไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นด้วยการตอบการรีวิว แบรนด์กลัวว่าหากโพสต์ตอบกลับคำร้องเรียนอาจจะเป็นการสุมไฟให้บานปลายขึ้น ซึ่งมันไม่เป็นความจริง การตอบคำวิจารณ์ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า กลับกัน การเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียน จะลดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและใหม่


4. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยเปิดเผยจุดบอด


เราจะไม่รู้เลยว่าข้อเสียของเราคืออะไร จนกระทั่งเริ่มเห็นลูกค้ารีวิวสินค้าและบริการในเชิงลบ ทำให้เผยให้เห็นจุดบอดเยอะแยะมากมายที่แบรนด์ไม่เคยรู้มาก่อน
เพราะฉะนั้น การ Complain จากลูกค้าอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้แบรนด์ของคุณนั้นพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้


Wrap up

การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ กลายเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งบนโลกออนไลน์ของลูกค้า ที่แบรนด์ควรจะรับมือให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น การชี้แจงปัญหา การวิพากษ์วิจารย์ การโจมตีแบรนด์ ซึ่งนั่นอาจจะสิ่งที่แบรนด์ไม่อยากพบเจอหรือให้เกิดขึ้นเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราไม่อาจเลี่ยงและจำเป็นที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้อย่างกล้าหาญ โดยจากข้อที่ 1 – 4 ที่กล่าวมานั้นอาจจะช่วยให้ท่านได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความคิดเห็นในเชิงลบจากลูกค้าเสียใหม่เพื่อที่จะได้รับมือกับความคิดเห็นในเชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Source : https://www.lifelearn.com/2019/09/10/the-benefits-of-negative-reviews-2/
https://www.socialmediatoday.com/news/how-to-deal-with-fake-negative-reviews-infographic/529688/


การปรับตัวของ Instagram และ youtube เมื่อ Tiktok กำลังเป็นที่นิยม

ปีที่แล้ว ทางบริษัท Facebook ได้ปล่อยแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอสั้นที่ชื่อว่า Lasso แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร Facebook จึงเล็งเห็นว่า Instagram สามารถเข้าถึงฐานของ Creator ที่มีอยู่ และจากความคุ้นเคยของ User ด้วยเครื่องมือตัดต่อวิดีโออย่าง Super zoom และ Boomerang อินสตาแกรม คิดค้นและปล่อยลูกเล่นใหม่ที่ชื่อว่า Reels ฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอสั้นคล้าย Tiktok บน Instagram ได้เปิดให้ลองใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศบราซิลเป็นประเทศแรก User ส่วนใหญ่ ต้องการให้ instagram มีการรวม Collection ของ Reels เป็นหลักเป็นแหล่ง ทั้งของ User และของคนอื่นๆ หลังจากที่ Reels ได้เริ่มเปิดให้ลองใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศษ Instrgram ได้ปรับเปลี่ยนให้ User สามารถเข้าดู Reels ของผู้อื่นได้ที่หน้า Explorer และสามารถย้อนดู Reels ของตัวเองได้ที่ Profile ความแตกต่างของ reels คือ ให้ผู้ใช้ Instagram สร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สามารถปรับความเร็วหรือเพิ่มแคปชั่นได้ และสามารถแชร์ลงฟีดหรือสตอรี่ได้ทันที วิดีโอเหล่านั้นจะยังคงความเป็นส่วนตัว ไม่สามารถดาวน์โหลด และแชร์ต่อได้อย่าง Tiktok ที่สามารถใช้เพลง เสียง ฟิลเตอร์ที่คล้ายกันเพื่อสร้างคลิปวิดีโอ ทั้งนี้ เครื่องมือการตัดต่อ ฟีเจอร์ Reels ของ Instagram อาจจะยังไม่หลากหลายเท่า Tiktok

ในส่วนของ youtube ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ และเริ่มต้นทดสอบบนมือถือที่จะให้ผู้ใช้บันทึกวิดีโอที่มีความยาว 15 วินาที เท่ากับค่าเริ่มต้นการบันทึกวิดีโอของ Tiktok
จะเห็นตัวเลือก “Create Video” มีวิธีใช้คล้ายกับ Tiktok โดยกดบันทึกค้างไว้เพื่อบันทึกคลิป และสามารถแตะอีกครั้งหรือปล่อยปุ่มเพื่อหยุดการบันทึก และทำแบบเดิมซ้ำจนกว่าคลิปวิดีโอจะครบ 15 วินาที ภายหลัง Youtube จะเพิ่มการควบคุมและคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น เอฟเฟ็กต์เพลง AR ฟิลเตอร์ต่างๆ หรือปุ่มเพื่อเปลี่ยนความเร็ววิดีโอ เป็นต้น
เชื่อว่าในยุคที่ผู้คนกำลังอินกับเทรนด์การตัดต่อวิดีโอสั้นๆกระชับแบบนี้ ที่กำลังฮิตติดกระแสในช่วงกักตัวโควิด 19 ก็ดี หรือ ช่วง New Normal ต่อจากนี้ก็ดี Platform ยอดฮิตอย่าง Youtube และ Instagram จะยังคงพัฒนาฟังค์ชั่นตัดต่อวิดีโอสั้น เพื่อให้ได้มีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์แบบสูสี Tiktok ได้อย่างแน่นอน

source : https://techcrunch.com/2020/06/25/youtubes-latest-experiment-is-a-tiktok-rival-focused-on-15-second-videos/

Terms of service

Privacy Policy

DESCRIPTION OF SERVICE

SocialEnable currently provides users with the trend on Social Media a.k.a Facebook. You understand and agree that the Service is provided “AS-IS” and that SocialEnable assumes no responsibility for the collecting, storing, deleting, combining and disclosing information.

In order to use the Service, you must obtain access to the World Wide Web, either directly or through devices that access web-based content. In addition, you must provide all equipment necessary to make such connection to the World Wide Web, including a computer and modem or other access device.

  • – SocialEnable are not affiliated and have nothing related with Facebook Inc.
  • – SocialEnable reserves the full authority to select Pages and Categories and has the right to delete inappropriate Pages showing consequence without cause or notice to Facebook Page owner.
  • – SocialEnable does not guarantee collecting and sorting into the correct category for every post of pages.
  • – Every displayed post from each Facebook page does not belong to the SocialEnable’s ownership. SocialEnable takes no reasonability and assumes no liability for any post that each Facebook page posts.
  • – SocialEnable may contain links to third-party websites, advertisers, services, special offers, or other event or activities that are not owned or controlled by SocialEnable. We do not endorse or assume any responsibility for any such third-party sites, information, material, products or services. If you access any third party website, service or content from SocialEnable, you do so at your own risk and you agree that SocialEnable will have no liability arising from your use of or access to any third-party website, service, or content.

COMMERCIAL USE

Unless otherwise expressly authorized by SocialEnable, you agree not to display, distribute, license, perform, publish, reproduce, duplicate, copy, create derivative works from, modify, sell, resell, exploit, transfer or upload for any commercial purposes, any portion of the Services, use of the Services or access to the Services. Unless otherwise expressly agreed by SocialEnable, the Services are for your personal use.

In the performance of SocialEnable function under this Terms of Service, SocialEnable will require to collect, store, use and the Personal Identifiable Information of the relevant User. For your information about SocialEnable Privacy Policy, please read our Privacy Policy at https://socialenable.com/privacy-policy This policy explains how SocialEnable treat your personal identifiable information and protects your privacy when you use SocialEnable.

 

socialenable logo

User – generated content สำคัญอย่างไรในปี 2020

“ผู้บริโภค 50% กล่าวว่า User – generate content มีผลต่อการซื้อสินค้า เพิ่มโอกาสในการซื้อผลิตภัณฑ์”

หรือ User Generate Content หมายถึง ข้อมูลเนื้อหาประเภทใด ๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ภาพถ่ายดิจิทัล และสื่อประเภทอื่น ๆ ที่เป็นของแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ กล่าวคือลูกค้าสร้างคอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ด้วยตัวเอง โดยที่แบรนด์ไม่ต้องทำการจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้นั่นเอง

แล้ว User Generate Content ยังคงสำคัญอย่างไรในปี 2020 


1.เนื่องจากผู้บริโภคช่างสังเกตุขึ้นเรื่อยๆ และไม่ค่อยเชื่อโฆษณาง่ายๆเหมือนแต่ก่อน User Generate Content อาจเป็นทางออก เพราะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้คนอื่นๆมากที่สุด
 

2. เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เนื่องจากมีผู้สร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์แล้ว ยังได้ยอดแชร์ ยอดไลค์ไปเลยฟรีๆโดยไม่ต้องทำการโปรโมตโพสต์

3. ประหยัด Budget ไปได้เยอะมาก เนื่องจากแบรนด์ไม่ต้องเสียค่าจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับอินฟลูเอนเซอร์  เนื่องจากลูกค้าได้ทำการซื้อเองใช้เองและโพสต์เองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

4. คอนเทนต์ที่ถูกสร้างโดยลูกค้าหรือผู้ใช้จริงจะเป็นคอนเทนต์ที่มีความเป็นธรรมชาติ และดูเข้าถึงง่ายมากที่สุด เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะสร้างคอนเทนต์ที่คล้ายคลึงกับการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนฟัง ทำให้ภาษาดูเป็นกันเองมากกว่า

5. มีการสร้าง awareness ให้กับลูกค้าบ่อยครั้ง 

6. กระตุ้นยอดขายในระยะยาว หากแบรนด์นั้นได้ทำการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า มีทีม Customer Service ที่ดี คอยตอบคำถามลูกค้าเมื่อลูกค้ามีข้อสงสัยประการใด

เชื่อว่าหลายๆคนกำลังตั้งคำถามว่า “แล้วทำอย่างไรลูกค้าถึงจะออกมาโพสต์สิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์โดยที่เราไม่ต้องจ้าง ?”

มีอีกเหตุผลหลายประการที่ทำให้ลูกค้าของเราสร้าง UGC ขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะแพคเกจจิงที่มีลูกเล่นสนุกสนาน สวยงาม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ลูกค้าเห็นแล้วควรค่าแก่การแบ่งปันให้คนอื่นได้เชยชมด้วย ดังนั้น หากแบรนด์ได้เห็นลูกค้าท่านใดโพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์โดยตรงด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ หรือเห็นผ่าน Social listening tool นั้น ก็อย่าลืมมองหาโอกาสจาก UGC กันด้วยนะคะ 🙂

How to ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการทำ Personalization Marketing

เมื่อลูกค้าของคุณรู้สึกรำคาญใจเมื่อเราไปตามตอแย เสนอโปรโมชั่นแบบหว่านแห ทั้งๆที่เราเองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าจะสนใจมั้ย ทำไมแบรนด์ไม่ลองทำ Personalization เพื่อล่นเวลาและเพิ่มความคุ้มค่า แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ถ้าจะให้ร่ายเรียงข้อดีของการทำ Personalization อาจจะมีเพียงสามสี่ข้อที่ทำให้การตลาดของแบรนด์คุณนั้นพัฒนาขึ้น ข้อดีของการทำ Personalization มีดังต่อไปนี้

  • การทำ Personalization จะทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์มากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
  • ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้กับแบรนด์มากขึ้น
  • ทำให้ relationship ของแบรนด์กับลูกค้าดีมากขึ้น
  • ยุคการตลาดที่ล้วนใช้ Bigdata เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และ Technology ล้นมือ ทั้ง VR AI AR ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเข้าถึงข้อมูลพวกนั้นได้ง่ายขึ้น

นี่คือข้อดีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่อาจจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับแบรนด์ แต่ทว่าจะใช้ Social Listening tools เข้ามาช่วยในการทำ Personalization อย่างไร ทางเรามีวิธีมากบอกกล่าวกันถึง 3 วิธีด้วยกัน

1. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ชัดเจน โดยสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์
เช่น ชื่อของแบรนด์ ชื่อของสินค้า หรือ Keyword อื่นๆที่ต้องการ เพื่อค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร มีทัศนคติอย่างไรบนโลกออนไลน์ ประโยชน์หลักของการใช้เครื่องมือ คือสามารถเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น และเราสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะตามความสนใจหรือพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา โดยสามารถติดตามผลได้อย่าง Real-time สิ่งที่ลูกค้าพบเจอ สิ่งที่ลูกค้าตำหนิ สิ่งที่ลูกค้าชื่นชม จะแสดงผลทันทีบนหน้าจอ Dashboard ทำให้การวางกลยุทธ์ Personalization Marketing ได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที และง่ายดายขึ้น

2. ใช้ Social Listening ช่วยในสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ
Content is king คอนเทนต์คือพระเอกที่จะทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และมีเอกลักษณ์ จะสามารถสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้ดีที่สุด
เราอาจจะเริ่มด้วยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ ชื่อของแบรนด์ ชื่อของผลิตภัณฑ์ หรือ Set Keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกOnline มีทั้งการโฆษณา การรณรงค์ งาน Event ต่างๆต้องมีชื่องาน ชื่อHashtag
เพื่อศึกษาดังต่อไปนี้
1. หัวข้อ และประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. หัวข้อใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

3. ใช้ Social Listening tools ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้า
PM จะช่วยให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น และช่วยสร้างความสันพันธ์อันดีกับลูกค้า
คุณสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยการปรับปรุงเว็บไซต์ทั้งหมดและหน้า Landing Page โดยใช้การปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ สิ่งนี้จะไม่เพียงช่วยให้คุณสร้างยอดขายและการแปลงมากขึ้น แต่ยังทำให้เว็บไซต์ของคุณรู้สึกเหมือนอยู่บ้านสำหรับลูกค้าของคุณ

6 วิธี ใช้เครื่องมือ Social Listening ให้เวิร์คต่อธุรกิจ!

1. ใช้ Social Listening Tool เพื่อตรวจสอบชื่อแบรนด์

สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงเมื่อมีเครื่องมือ Social Listening อยู่ในมือ คือเราต้องตั้งค่า Keyword ต่างๆที่เกี่ยวกับชื่อแบรนด์ หรือชื่อองค์กร เพื่อตรวจสอบว่าผู้คนบนโลกโซเชียลกล่าวถึงแบรนด์เราว่าอยากไรบ้าง สิ่งนี้จะช่วยในเรื่องการให้บริการลูกค้า การจัดการชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์นั้นค้นพบโอกาสในการขายหรือโอกาสทางการตลาดอื่นๆได้อีกด้วย

2. ใช้ Social Listening Tool เพื่อช่วยในการเขียน Content

58% ของนักการตลาด จำป็นต้องโพสต์หรืออัพเดทข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ  Content Marketing เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างการจดจำได้อย่างดี แต่ก็ยังมีแข่งขันกับบล็อกเกอร์หรือ YouTuber ผู้ที่สร้างเนื้อหาได้ดึงดูดและน่าสนใจ และเนื่องจากมีการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องสามารถสร้างเนื้อหาที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และยังต้อง Relate กับกลุ่มเป้าหมายด้วย ไม่เพียงแค่นั้น สิ่งที่ควรเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับการเริ่มต้นเขียน Content คือ…

1. หัวข้อ และประเภทของบทความที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. หัวข้อใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

Social Listening Tool เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบที่จะช่วยในการศึกษาแนวโน้มและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้สร้างคอนเทนต์ได้ตรงกลุ่มมากขึ้น

3. ใช้ Social Listening Tool เพื่อส่งเสริมการขาย

เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของ Social Listening Tool ที่สามารถค้นหาโอกาสในการขายบนโวเชียลมีเดีย

• เราสามารถดูได้ว่าใครกำลังหาผลิตภัณฑ์หรือ Service เหล่านี้บ้าง?
• กลุ่มเป้าหมายกำลังพูดถึงคู่แข่งในมุมไหน เช่น ลูกค้ากำลังไม่พอใจกับแบรนด์คู่แข่ง เพราะอะไร ประเด็นไหน ทำให้เราสามารถเก็บไว้เป็นกรณีศึกษา ลูกค้ากำลังค้นหาตัวเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบราคา หรือสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ
• ค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ Keyword ใดที่ผู้คนจะใช้เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น SocialEnable หรือ Social Listening Tools เพื่อดูว่า Keywords / วลีใดที่มีแนวโน้มในการหยิบนำ ใช้มากที่สุด
• ตรวจสอบชื่อแบรนด์ของคุณ ฉันได้พูดคุยกันแล้วเกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจสอบชื่อแบรนด์ของคุณออนไลน์ แต่ข้อดีอีกอย่างคือคุณอาจจับลูกค้าที่มีศักยภาพ: คนที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณเป็นทางเลือกและพูดถึงมันออนไลน์ กระโดดเข้าสู่การสนทนานี้เพื่อช่วยแปลงผู้ใช้เหล่านี้เป็นลูกค้า
หากคุณต้องการที่จะเป็นเชิงรุกมากขึ้นเกี่ยวกับการสร้างโอกาสในการขายของคุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าการค้นหาการฟังทางสังคมเหล่านี้และตั้งค่าการแจ้งเตือนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คุณสามารถเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในเวลาที่เหมาะสม

4. ใช้ Social Listening Tool เพื่อศึกษาข้อมูลของคู่แข่ง

โดยการตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของคู่แข่งคุณสามารถเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดของพวกเขา
• คู่แข่งอัพเดทข่าวสารที่ไหน แพลตฟอร์มไหนที่คู่แข่งใช้ และแพลตฟอร์มไหนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
• Content Marketing ของคู่แข่งเป็นอย่างไร คอนเทนต์ประเภทไหนที่เผยแพร่แล้วได้รับความสนใจมากที่สุด เราสารมารถตรวจสอบได้ว่าคู่แข่งของเราโพสต์คอนเทนต์บ่อยแค่ไหน • Engagement เป็นอย่างไร ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด
• แคมเปญอะไรของคู่แข่งที่ใช้แล้วได้ผล อันไหนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและน้อยที่สุด แล้วอะไรที่สามารถเรียนรู้ได้จากแคมเปญนั้นๆ
• ลูกค้าหรือคนอื่นพูดถึงแบรนด์คู่แข่งว่าอย่างไร อะไรคือจุดอ่อน
ข้อมูลนี้สามารถช่วยให้กลยุทธ์การตลาดแบรนด์ของคุณพัฒนาขึ้น ทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

การตรวจสอบคู่แข่งด้วย Social Listening Tool นั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้เข้าใจว่าอะไรที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของคู่แข่ง อะไรที่คู่แข่งทำแล้วเวิร์คหรือไม่เวิร์ค สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้คนกำลังพูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของคู่แข่งว่าอย่างไร การตรวจสอบคู่แข่งนั้นยังช่วยให้คุณค้นพบโอกาสในการสร้างลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย

5. ชี้วัดประสิทธิภาพของ Brand Ambassador และ Influencer

Social Listening Tools สามารถวัดได้ว่าใครคืออินฟลูเอนเซอร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและถูกแชร์มากที่สุด และจะช่วยให้คุณติดตามเทรนด์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากใครมี Social Listenning อยู่ในมือ ก็จะช่วยให้คุณค้นพบอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นที่เหมาะสมกับแบรนด์ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือ Social Listening สามารถปรับใช้ในการทำ Influencer marketing ได้อยู่แล้ว เพียง Set Keyword ที่ต้องการ หรือเรียกดู Insight บางส่วนของ Page ของ Influencer ก็ย่อมได้ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเอาข้อมูลส่วนไหนของ Influencer ไปช่วยในการพิจารณา

6. ใช้ Social Listening Tool เพื่อศึกษาข้อมูลของลูกค้า

หากต้องการให้แคมเปญการตลาดของคุณประสบความสำเร็จ คุณต้องรู้ว่าควรจะกำหนดเป้าหมายแบบใด เพื่อที่จะได้เข้าถึงพวกเขาหรือเนื้อหาประเภทไหนที่พวกเขาจะสนใจ

• ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเท่าไหร่ แพลตฟอร์มไหนที่ใช้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องนำเสนอคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใด
• อะไรที่เขาพูดกันอยู่ตอนนี้ เทรนด์ แนวโน้มต่างๆ หัวข้ออะไรที่พวกเขากำลังให้ความสนใจ ลูกค้าของคุณกำลังค้นหาอะไรอยู่ แชร์อะไรอยู่ ติดตามการสนทนาเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสนใจและความต้องการของพวกเขา
• กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอย่างไรกับหัวข้อนั้นๆ เครื่อง Social Listening สามารถบอกคุณได้ว่าพวกเขามีมุมมองอย่างไรและรู้สึกอย่างไร โดยดูได้จาก Sentiment

Wrap Up

จะเห็นว่า Social Listening Tools นั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายและมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก ทั้งสามารถ Monitoring คู่แข่งจะทำให้คุณได้เปรียบในการทำกลยุทธ์มากขึ้น สามารถ Monitoring แบรนด์ของคุณจะทำให้มั่นใจว่าคุณจะไม่พลาดการพูดถึงสำคัญๆเกี่ยวกับแบรนด์ สามารถ Monitoring เทรนด์ที่ศึกษาประเภทของคอนเทนต์ต่างๆและนำมาพัฒนาในเรื่องของ Content Marketing ได้ สามารถ Monitoring  ลูกค้าที่ทำให้เรารู้เท่านั้นความชอบ ความสนใจ ความพึงพอใจ ของลูกค้าได้ จุดเด่นของ Social Listening Tool  อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือ ช่วยจัดการและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาที่มีคนไม่พอใจต่อนโยบายต่างๆ​ ก็มักจะไปตั้งกระทู้ Pantip แสดงความไม่พอใจ และถ้าองค์กรแก้ไขปัญหาไม่ดีก็จะส่งผลถึงความไม่น่่าไว้วางใจ​ หรืออาจมองได้ถึงว่าประสิทธิภาพการบริหารงานไม่ดีเท่่าที่ควร​ เพราะความรู้สึกว่า “ไว้วางใจต่อองค์กร​” ไม่ได้สร้างกันได้ง่ายๆ และหากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจริงๆ​ การกระจายของข่าวสารหรือข้อมูลในโลกยุค 4.0 นั้นมีความเร็วมากและ​สามารถสร้างกระแสได้เป็นอย่างดี อาจทำให้เกิดความเสียหายที่มหาศาล​ องค์กร​จึงควรที่จะต้องวางแผนในการรับมือกับปัญหาต่างๆ​ ให้รัดกุมที่สุด​ Social Listening สามารถบริหารจัดการวิกฤตหรือความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงทีและเร็วพอที่จะคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้

Facebook ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่! “การส่งข้อความ” เพื่อการขายผ่านสื่อออนไลน์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรับ-ส่งข้อความด้วยแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องตระหนักว่าจะมีวิธีอย่างไรในการเข้าถึงเทรนด์ต่าง ๆ และทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ทางการตลาดจากกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้

ในการทำวิจัยครั้งนี้ Boston Consulting Group ได้ทำการสำรวจออนไลน์ ในกลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 8,864 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานทางข้อความ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่ใช้งานข้อความเพื่อการซื้อ-ขายสินค้า อย่างที่ทราบกันดีว่าข้อมูลสินค้าและราคาเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วความรวดเร็วในการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกัน ซึ่งนั่นชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆที่แบรนด์จะนำมาพัฒนาการบริการที่ดีขึ้น เช่น การตอบกลับลูกค้าโดยได้ทันทีทันใด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์

“ผู้บริโภคส่วนมากมีพฤติกรรมซื้อ – ขายผ่านทาง Social media และกว่า 90% การซื้อ-ขายจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Facebook (Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram)”
นั่นคือประเด็นสำคัญที่แบรนด์ต้องนำมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานให้มากขึ้น

“พฤติกรรมการซื้อ-ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นรับ-ส่งข้อความ ไม่ได้เติบโตเฉพาะแค่ในกลุ่มของผู้ซื้อขายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายอื่นๆเช่นกัน”

จากการวิจัยพบว่าการมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคแบบทันทีทันใด จะช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย ดังนั้นการใช้ข้อความตอบกลับแบบอัตโนมัติจึงช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ และยังเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่กลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ : คลิก

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/facebook-publishes-new-research-into-the-growth-of-messaging-for-commerce/563547/

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable