Category: Ads

Digital Trends In 2018 | จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ? มาดู

Digital Trends in 2018

 Digital Trends in 2018 กับสิ่งที่กำลังมาแรง

เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นธุรกิจต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่เสมอ วันนี้ SocialEnable จะพามาดู เทรนด์ดิจิทัลปี 2018 ที่มาอย่างแน่นอน แล้วเราจะรับมือกับมือมันอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านกันได้เลยครับ

Aritificial Intelligence[AI]

  1. AI (Artificial Intelligence)

เริ่มต้นขึ้นแล้วกับการใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการศึกษารูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภค เรียนรู้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย เพื่อวิเคราะห์ประมวลผล หรือคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ในปี 2018 เริ่มมีการใช้ AI มากขึ้น และพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การใช้ Facebook Chatbot ในการบริการลูกค้า ผ่านทาง Message เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่เปิดเพจทำธุรกิจบน Facebook ซึ่งในสมัยก่อนนั้นต้องใช้วิธีการเขียนโค้ด ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยในการสร้าง Chatbot  โดยคาดว่าภายในปี 2018 ผู้บริโภคจะเริ่มซื้อสินค้าผ่านตัว AI มากกว่ามนุษย์ด้วยกัน

Internet of thing 2018

  1. IOT (Internet of things)

เป็นกระแสที่มาแรงอย่างมาก และคาดว่าจะยังร้อนแรงอย่างต่อเนื่องในปี 2018 โดย IoT เป็นการเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น Smart Device มีตั้งแต่ของใช้ภายในบ้านอย่างตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ หรือในปี 2018 อาจถึงขั้นพัฒนาไปสู่ความเป็น Smart City เลยก็เป็นได้ ดังนั้นจะเริ่มเห็นว่า IoT จะค่อยๆคืบคลานเข้ามาเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของผู้คน

VR vs. AR

  1. VR (Virtual Reality) & AR (Augmented Reality)

สำหรับประเทศไทยในปี 2018 VRและAR ถือว่ายังใช้งานได้ไม่กว้างนัก จะเห็นได้ในวงการเกมก่อนเช่น Pokémon Go จาก AR หรือเกมรถไฟเหาะ เกมแนวสยองขวัญ จาก VR เป็นต้น แต่เรื่องการศึกษา ยังไม่มีผู้ผลิตคอนเทนต์แนวนี้มากนัก ส่วนด้านภาพยนตร์ อาจจะมีให้เห็นในปี 2018 นี้ นอกจากนั้นก็จะเห็นได้จากวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการนำเริ่ม VR และ AR มาใช้งานบ้าง แต่อาจจะน้อยอยู่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ หากมีไอเดียและคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจมานำเสนอผ่าน VRหรือAR ได้ก็จะดีไม่น้อย

ดังนั้นอีกไม่นานประเทศไทย ปี 2018 เราน่าจะได้เห็น Developer เก่งๆ หรือสินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่อนคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคหลายๆแบรนด์ นำ VRหรือAR ไปใช้ในการตลาดได้อย่างน่าสนใจ

Payment in 2018

  1. Payment

พวกเราน่าจะเคยได้ยินคำว่า ‘‘สังคมไร้เงินสด’’กันมาบ้างแล้ว เป็นการชำระเงิน ค่าบริการหรือซื้อสินค้าต่างๆ แบบดิจิตอลผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งในปี 2018 QR code จะมาแทนบาร์โค้ดอย่างแน่นอน ธนาคารเกือบทุกแบรนด์เริ่มครอบคลุมในการให้บริการชำระเงินออนไลน์กันแล้ว รวมถึงร้านค้าหลายๆแบรนด์ทั้งแบรนด์ใหญ่-เล็ก จะเริ่มแพร่หลายไปทุกๆช่องทาง (จริงๆ ตั้งแต่ปีนี้แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมมากนัก) ซึ่งการชำระเงินออนไลน์เป็นการอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยเก็บข้อมูลการชำระเงิน ประวัติการทำธุรกิรรม และที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Website-in-2018

  1. Website

ปีหน้า Facebook ยังคงเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง แต่ต้องแลกมากับค่าโฆษณา ที่จะถีบตัวขึ้นสูงไปอีกเพราะปัจจุบัน Organic Reach ได้ถูกปรับลดลงอย่างมาก ที่แฟนเพจนั้นจะเห็นโพสต์ของคุณ  ดังนั้นการทำการตลาดบน Facebook จะไม่ใช่การทำการตลาดงบน้อยๆ อีกต่อไป

เว็บไซต์หลักจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเหมือนบ้านของตัวเอง ส่วน Facebook เหมือนกับไปเช่าหอเขาอยู่ นับวันๆราคายิ่งขึ้น เพราะมีคนแย่งกันเช่ามากขึ้น ที่สำคัญในการทำเว็บไซต์คือ ต้องทบทวนกลยุทธ์การทำเว็บไซต์หลักผ่านทางมือถือมากขึ้น เพราะเว็บไซต์ตอนนี้คนดูในมือถือ มากกว่าบน Desktop ไปแล้ว ดังนั้นการทำเว็บไซต์บนอุปกรณ์มือถือ เป็นตัวเลือกแรกๆของนักการตลาดในปัจจุบัน เช่นการทำเว็บไซต์ให้ซัพพอร์ทกับเฟสบุ๊ค นอกจากการทำเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์มือถือแล้ว

การทำ SEO นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญในปี 2018 เช่นกัน (ที่จริงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ แต่เมื่อก่อนธุรกิจเน้นใช้แต่บน Facebook) เป็นการช่วยให้เว็บไซต์ถูกค้นหาได้อย่างง่ายดายผ่าน Google แต่การทำ SEO ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากต้องใช้ความชำนาญและเวลาอยู่บ้างในการทำ แต่ก็ไม่ได้ยากถึงขนาดว่าเรียนรู้ไม่ได้เลยเช่นกัน หากทำให้เว็บไซต์อยู่หน้าแรกๆได้ จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมกับกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ รวมไปถึงการเรียกให้ลูกค้าเก่ากลับมาเยี่ยมเว็บไซต์อีกครั้งได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจบนออนไลน์์ควรให้ความสนใจและลงทุนในด้านนี้เป็นอย่างมาก

Social-Media-Mangement-Tools-in-2018

  1. Social Media Management Tools

ในปีหน้าธุรกิจบนโลกออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้นไปอีก การแข่งขันนั้นจะยิ่งเข้มข้นขึ้นอีก ดังนั้นการเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง (Consumer Insight) จึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงผู้บริโภคมีความเป็น Personalization และกึ่งๆ เป็น Influencer  เพราะหากผู้บริโภคเจอสินค้าหรือประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ก็จะบอกเรื่องราวต่อๆกัน ปากต่อปาก หรือถึงขั้นร้องเรียนให้ธุรกิจนั้นๆ รับผิดชอบ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนส่วนใหญ่พูดถึงธุรกิจเราในด้านใด ปัญหาที่เกิดขึ้นมานี้ ทำให้เกิดเครื่องมือที่เรียกว่า ‘‘Social Listening หรือ Monitoring Tools’’ (อยู่ในประเภท Social Media Management) ที่ค่อยดูหรือตรวจสิ่งที่ผู้บริโภคพูดถึงธุรกิจของเรา (Mention) ทั้งในด้านดีและไม่ดี ได้หลายช่องทางบน Social Media  (Facebook,Twitter,Youtube,Instagram) เพื่อเข้าใจความต้องการหรือจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Hootsuite ส่วนในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก แต่ในปี 2018 นี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าจับตามองอย่างมากในวงการธุรกิจ IT

สรุป                                                       

SocialEnable จะขอวิเคราะห์ Digital Trends เพื่อช่วยให้ผู้อ่านปรับตัวได้เร็วขึ้น

-AI : มีบทบาทมากขึ้น คนจะซื้อของผ่าน Chatbot กันมากขึ้นไม่ใช่แค่ใน Message Facebook อย่างแน่นอน ผลก็คือลดพนักงานที่ต้องมาคอยตอบ Inbox รวมถึงการบริการที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น

-IOT : ในประเทศยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่ Smart City อาจจะยังไกลตัวไป ส่วนอีกไม่กี่ปี Smart Home มีความสำคัญอย่างคนยุค Baby Boomer แน่นอน

-VR&AR : ปีหน้าเริ่มใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆมากขึ้น นักการตลาดคงจะสนุกกับเครื่องมือนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษให้ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจจัดอีเว้นท์หรืออสังหาริมทรัพย์ ใช้กล้อง 360 องศา

-Payment : ที่จริงเริ่มตั้งแต่ปีนี้แล้วอย่าง SCB เดินหน้า’สังคมไร้เงินสด’ แต่ปีหน้าจะครอบคลุมถึงร้านค้าพ่อค้าแม่ค้ารายเล็ก ให้ได้ใช้ QR Code ในการซื้อสินค้ากันอย่างแน่นอน

-Website : เทรนด์อันนี้ไม่พูดถึงไม่ได้แน่นอน มันเกิดมาจาก Facebook เริ่มที่จะลด Organic Rech ลงมาก เพื่อให้คนจ่ายแบบ Paid มากขึ้น ดังนั้นเลยทำให้ Website เป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้น เพราะคือบ้านของเราตั้งแต่เริ่มต้น สามารถควบคุมจัดการได้ เมื่อ Website สำคัญ SEO จึงสำคัญ สุดท้าย Content จึงสำคัญที่สุด จะเห็นว่า 3 สิ่งนี้ไปด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ (แนะนำ SEO อย่าเดินทางสายดำ [Black Hat] กันนะครับ)

Social Media Management Tools : ในปีหน้าข้อมูลจะเยอะมากกว่าเดิม ผู้บริโภคจะเลือกเสพ Content มีความเป็น Personalization และ มีความ Influencer ในตัว ดังนั้นเครื่องมือ Social Listening Tools เป็นเครื่องมือที่น่าจับตามองอย่างมาก

สรุป

แน่นอนว่าปี 2018 จะเป็นปีแห่งการแข่งขันอย่างเข้มข้นบนโลกดิจิทัล ใครที่ไม่สามารถปรับตัวหรือรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ยากและตามความต้องการผู้บริโภคไม่ทัน

#DigitalTrend #Trend2018 #WebSite #SEO #Content #SocialEnable #tools

Credit : https://goo.gl/XscEcu
https://goo.gl/sutWLk

Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

4 ปัญหายอดฮิต Social Commerce ที่ทุกคนต้องรู้

Social-Commerce1

4 ปัญหายอดฮิตใน Social Commerce  ที่พ่อค้าแม่ค้า และเหล่านักช้อปออนไลน์ ต้องรู้!!

พวกเราเชื่อว่า ท่านที่อ่านบทความนี้อยู่นั้น ต้องเคยซื้อสินค้าทาง Online มากกว่า 1 ครั้งมาแล้วอย่างแน่นอน หลายท่านที่ได้สินค้าดี ส่งสินค้าเร็ว บริการถูกอกถูกใจ เราขอแสดงความยินดีด้วย หากมีร้านค้าดี ๆ เยอะๆ ก็จะส่งเสริมกันไปทั้งวงการ Social Commerce ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศก็จะไปในทิศทางที่ดีขึ้นไปอีกในฐานะที่เราเฝ้าดูข้อมูลจากทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายมาพักใหญ่แล้ว วันนี้เราขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันครับ ลุยกันเลย!!

problem

Problem – ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในการซื้อขาย Online

  1. ลูกค้าได้รับสินค้าช้า
  2. ส่งสินค้าไม่ตรงตามกำหนด
  3. ได้รับสินค้าแล้วลูกค้าไม่พอใจ ขอคืนเงิน
  4. ไม่สามารถติดตามสถานะการส่งของได้

Solution

Solution – วิธีแก้ไขปัญหาของการซื้อขาย Online

  1. ควรแจ้งระยะรับสินค้าให้ชัดเจน
  2. เมื่อนัดหมายแล้วหากไม่ตรงตามนัด ควรแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนเสมอ
  3. หากลูกค้าไม่พึงพอใจ ควรสอบถามถึงเหตุผล และดูแลตามสมควรอย่างรวดเร็ว
  4. การแก้ไขปัญหาการติดตามสถานะการส่งของโดยง่ายที่สุดคือการกลับแจ้งเลขที่ติดตามให้ลูกค้าทราบเร็วที่สุด

ยกตัวอย่าง เช่น

‘‘คุณอั๋นครับ ทางร้านได้ทำการส่งสินค้าให้เรียบร้อยแล้วนะครับ
เลขที่ EMS ในการติดตามของและรหัสในการรับของนะครับ : 12345CG
สามารถตรวจสอบได้จาก Link นี้นะครับ > http://track.thailandpost.co.th/tracking/default.aspx’’

จะเห็นได้ว่าการตอบลักษณะนี้ ลูกค้าจะสามารถ Copy เลข EMS และไปที่ Link เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันที และจากปัญหาที่กล่าวมา การใช้ Social Media Marketing Tools หรือ Social listening Tools จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระได้ ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่ลูกค้าไป Complain ที่ Pantip.com หรือ Social App อย่าง Twitter ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที  นอกจากนี้การใช้ Chat Bot เพื่อตอบคำถามที่พบบ่อย ๆ หรือใช้ขายของแทนในเวลาที่เราต้องพักผ่อน เป็นทางเลือกที่ดี ประหยัดแรงคนไปได้เยอะพอสมควรเช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอให้พ่อค้าแม่ค้า คิดถึงลูกค้าคนแรกที่เราปิดขายได้สำเร็จ น่าจะเป็นกำลังใจที่ดีพอสมควร สำหรับฝั่งลูกค้าอย่างเราๆ ร้านไหนดี ร้านไหนดัง อย่าลืมมาแจ้งเบาะแสให้ผมเข้าไปช้อปบ้างนะครับ 🙂

#SocialCommerce #ECommerce #Computerlogy #SocialEnable #SocialListening

Facebook Watch เวทีสำหรับบรรดาวีดีโอคอนเทนต์บน Facebook

การดูเนื้อหาวีดีโอบน Facebook นั้น เดิมทีก็เป็นส่วนที่ผลักดันให้ผู้คนเกิดการมีปฏิสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดการสร้างบทสนทนาใหม่ๆ ซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดเป็น Community ได้และผู้คนต่างก็ให้ความชื่นชอบกับประสบการณ์ใหม่ๆ เหล่านี้ ด้วยดังนั้น Facebook จึงปล่อย Video Tab ขึ้นมาเพื่อนำเสนอ Videos ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตนชื่นชอบและเกี่ยวข้องกันได้อย่างง่าย

Facebook-Watch

Facebook Watch คืออะไร ?

Watch คือ เวที (platform) หรือแพลต์ฟอร์มสำหรับ รายการ (Shows) บน Facebook ที่สนับสนุนการแสดงผลทั้งบนอุปกรณ์โมบายล์ บนเดสก์ทอป รวมถึงบนแอพพลิเคชันทีวี (TV Apps) ของ Facebook เอง ซึ่งรายการต่างๆ ดังกล่าว จะประกอบด้วยตอนต่างๆ (Episodes) ไม่ว่าจะเป็นแบบรายการสด หรือที่บันทึกเก็บไว้ก็ได้ และรายการต่างๆ นั้นจะต้องมี  Theme หรือ Storyline เดียวกัน

Watchlist

ตัวอย่าง ​Watchlist ที่แสดงบน Facebook.com

Watch ถูกออกแบบมาเฉพาะเจาะจงบุคคล (Personalized) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บน Facebook สามารถค้นพบรายการใหม่ๆ และรับรู้ว่าเพื่อนหรือชุมชนกำลับรับชมอะไรอยู่ ตัวอย่างเช่น หากคุณสนใจว่า “อะไรที่ทำให้ผู้คนหัวเราะได้” แล้ว Facebook ก็จะนำเสนอรายการที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมให้ Reaction เป็น haha กับรายการนั้น หรือหากคุณสนใจว่า “เพื่อเรากำลังดูอะไรอยู่”  Facebook ก็จะแสดงรายการที่เพื่อนคุณกำลังรับชม และให้คุณได้รับชมอีกด้วย อีกทั้งยังให้เราได้คุยกันกับเพื่อนระหว่างที่กำลังรับชมรายการ หรือเปิด Facebook Group เฉพาะรายการนั้นได้อีก

ใน Watch จะแบ่งการแสดงเป็นส่วนที่เรียกว่า Watchlist ที่จะทำให้คุณสามารถติดตามรายการที่ต้องการ และไม่พลาดรายการตอนล่าสุดได้ และ Discover ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สามารถพบรายการใหม่ที่เหมาะกับตนได้

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ Facebook เองได้เรียนรู้จาก Facebook Live ซึ่ง comment และ reactions ที่มีต่อ Video นั้นมักจะเป็นส่วนหนึ่งในประสบการณ์รับชม Video เฉกเช่นเดียวกับตัว Video เอง ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่คุณรับชมรายการ คุณก็จะเห็น comments และสามารถติดต่อกับเพื่อนๆ รวมทั้งผู้ชมท่านอื่น ในขณะที่กำลังรับชมได้อีกด้วย หรือแม้กระทั้งมีส่วนร่วมใน Facebook Group ที่เปิดพิเศษสำหรับรายการนั้นได้อีก เบื้องต้น Watch จะเริ่มให้บริการกับกลุ่มคนบางกลุ่มใน US ก่อน และค่อยๆ ทยอยนำเสนอประสบการณ์นี้ไปยังส่วนที่เหลือ

การผลักดันให้ Watch เติบโตได้นั้น Facebook มีหลายนโยบายทั้งการมอบเงินสนับสนุนแก่ผู้ผลิตวีดีโอคอนเทนต์ โดยแบ่งจากค่าโฆษณาระหว่าง Facebook 45% และผู้ผลิตวีดีโอคอนเทนต์ 55%) หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากหัวข้อ Watch บน Techcrunsh และ thumbsup

credit: Facebook

Facebook : Admin Page แบ่งหน้าที่กันอย่างไร ?

การกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนในแต่ละเนื้องานมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ หากเรากำหนดขอบเขต และ วิธีการวัดผลกันอย่างชัดเจน จะทำให้เราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และส่งผลให้งานเสร็จตามกำหนด

Facebook ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ตามความเข้าใจปกติคิดว่าเป็น Admin Page ก็จะสามารถทำได้ทุกๆอย่างใน Page แต่ข้อเท็จจริงนั้น เราจำเป็นต้องแบ่งงาน หรือแบ่งสิทธิ์ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ของแต่ละคน แต่ละสิทธิ์จะเป็นอย่างไรนั้น ตามไปอ่านกันต่อได้เลยครับ

Facebook แบ่งสิทธิ์ Admin ออกเป็น 6 รูปแบบดังนี้

Admin-Facebook-fanpage

Admin

  • สิทธิ์สูงสุดได้ยินคุ้นหูมากที่สุด ตามปกติที่ชาว Social จะเรียก แอดมินๆ สามารถดำเนินการได้ทุกอย่างใน Page เช่น เพิ่มผู้ดูแล,ปรับเปลี่ยนPage, สร้างโพส,ลบโพส,ถ่ายทอดสด, ตอบเพจ,แบนUser,ซื้อโฆษณา, ดูข้อมูล Insight ฯลฯ

Editor

  • มีสิทธิ์สามาถดำเนินการได้เหมือน Admin เกือบทุกประการ ยกเว้น การแต่งตั้ง Admin ใหม่

Moderator

  • ตำแหน่งนี้ใช้สำหรับตอบคำถามแฟนเพจ แต่จะไม่สามารถสร้างโพสหรือลบโพสได้

Advertiser

  • ตำแหน่งนี้สามารถซื้อโฆษณา และดูInsight ได้เท่านั้น เหมาะสำหรับ Agency ที่จะเข้าไปในเพจ Influencer ต่างๆเพื่อทำการซื้อโฆษณาเพียงอย่างเดียว

Analyst

  • สามารถดู Insight ได้เท่านั้น เหมาะสำหรับนักการตลาดเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูล

 

ตำแหน่งใหม่ล่าสุด “ Live Contributior “ หน้าที่ของเจ้า  Live Contributior นั้นคือ สามารถ ถ่ายทอดสด ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ใช้ในกรณี เราหา KOL,Micro Influencer และ ต้องการนำเขาเหล่านั้นมา Live ที่เพจของเรา โดยไม่ต้องการให้เห็นข้อมูลอื่นๆ เหมาะมากในปี 2017 ที่ Facebook ออกมาประกาศว่า ประชาชนชาวFacebook ดู Live มากขึ้นถึง 4 เท่า

ในกรณีที่เราเป็น Admin สามารถเข้าไปดำเนินการ แต่งตั้งเลือกสิทธิ์เพื่อให้เหมาะสมกับงานได้ที่ Settings >>> Page Roles สามารถอ่านประเภทของโฆษณา แยกตาม Marketing Buzzwords ได้ที่นี่ คลิก

ขอพลังจงสถิตอยู่กับAdminทุกท่าน 🙂

#Facebook #SocialEnable #SociaMedia #SocialMarketing #HappyListening

 

News Feed จาก Facebook เน้นลดการล่อคลิกด้วยวีดีโอ

เนื่องจาก Facebook เองมีความพยายามในการต่อสู้กับเรื่องการล่อคลิก (Clickbait) และเพื่อเพิ่มความถูกต้องของข้อมูล Facebook เองด้วย [Clickbait อธิบายไว้ตอนท้าย] ตลอด แต่ที่ผ่านมา Facebook ประสบปัญหาด้าน Video Clickbait ซึ่งส่วนใหญ่แตกเป็นสองรูปแบบ

  • ใช้ภาพหลอกให้ดูเสมือนเป็น Video ซึ่งภาพหลอกนั้นจะมีรูปปุ่ม Play อยู่บนพื้นหลัง Preview ที่น่าสนใจ มี description ที่น่าสนใจ แต่แท้จริงแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งหลอกให้เกิดการคลิกกลับไปที่เว็บไซต์ปลายทางแทน (เปรียบเสมือนการแชร์ลิงค์)
  • Video ที่เป็นแสดงภาพนิ่งเดียวนั้นตลอดคลิป

Clickbait on Facebook

Facebook จะเริ่มลดอันดับของ Story บน News Feed ที่มีวีดีโอปลอมนั้นอยู่ โดยจะเน้นพิจารณาเรื่อง Authentic Communication (ความเป็นเนื้อแท้ของการสื่อสาร) ที่เป็นหลักและเป็นส่วนหนึ่งของ ค่านิยมบนฟีดข่าวนั้น (News Feed Values)

[Clickbait หรือ ล่อคลิก คือ โดยทั่วไปแล้วเป็นการที่เว็บไซต์ทำเนื้อหาเพื่อล่อให้คนสนใจและกดเข้าไปดู โดยวัตถุประสงค์แอบแฝงคือการสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ที่ต้องการเนื่องจากมียอดคลิกเข้ามาชมโฆษณาในเว็บนั้นมากๆ  โดยเนื้อหาจะถูกพาดหัวด้วยคำโปรยที่น่าสนใจ น่าดึงดูดมากๆ และเกิดการกระตุ้นให้แชร์ต่อ]

กระทบ Page อย่างไรบ้าง?

Publisher ผู้ที่เจตนาเผยแพร่ด้วยวิธีการ Clickbait เหล่านั้น จะพบกับการลดลงของการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ บน News Feed นั้นอีก ซึ่ง Publiher ควรอิงถึงแนวทางปฏิบัติในการ Publish เสมอ (publishing best practices).

example for Clickbait

Credit: Facebook

3 เทคนิคการซื้อโฆษณาบน Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน

อาชีพหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากคือ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่หันมาเปิดร้านค้าออนไลน์บน Social Media เพราะสะดวก ไม่ต้องเสียค่าเช่า อยู่ที่ไหนก็สามารถขายได้ ซื้อโฆษณาก็สามารถวัดผลได้ง่าย แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีหน้าร้านค้าอยู่แล้ว อาจจะเป็นเรื่องยากในการวัดผล(Measurement) ซึ่งปัจจุบัน Facebook เองก็ทำออกมาเพื่อให้วัดผลได้ง่ายขึ้น งั้นเราลองมาดูเทคนิคง่ายๆ สำหรับการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับหน้าร้านค้ากัน ^^

3 เทคนิคการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน

  1. บอกร้านของเราให้ลูกค้าทราบ(Awareness)

    Facebook ads for Locations
    เพื่อให้ลูกค้าทราบสถานที่ตั้งร้านค้าของเรา จึงควรทำการเพิ่มที่อยู่ของร้านและสาขาใน Fanpage ของเราก่อน เพื่อให้ลูกค้าสามารถรู้ได้ตั้งแต่กดเข้ามายังเพจของเรา รวมถึงควรระบุเวลาเปิด-ปิด และรายละเอียดต่างๆ ของร้าน เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่า ร้านค้าของเราตั้งอยู่ที่ไหน ติดต่อได้อย่างไร และมีประโยชน์ในการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้านต่อไป

  2. เลือกใช้รูปแบบโฆษณาให้ตรงกับวัตถุประสงค์ (Objective)

    Set ads on Facebookแน่นอนว่าหลายๆ คน หากทำการซื้อโฆษณามักจะเลือกในรูปแบบ Boostpost เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ Facebook Ads มีอีกหนึ่ง Objective ให้คุณเลือกใช้ นั่นคือ Store Visits
    How to Set ads on facebookซึ่งประโยชน์หลักๆของการซื้อโฆษณา Facebook สำหรับหน้าร้านแบบ Store Visits นั้นคือถ้าหากกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่ใกล้กับสาขาใดก็ตามของร้านค้าเรา จะขึ้นชื่อสาขาที่เรากำหนดไว้ในเพจ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเข้ามาเพิ่มโฆษณาสำหรับทุกสาขา และยังสามารถกำหนดขนาดของกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนคนหรือระยะทางได้อีกด้วย

  3. การวัดผล(Measurement)

    ads Managerสิ่งสำคัญที่สุดของการซื้อโฆษณาคือ การวัดผลว่าโฆษณาที่เราซื้อไป มีลูกค้าเห็นกี่คน แล้วมาใช้งานยังหน้าร้านค้าเราจริงๆ กี่คน เป็นต้น การวัดผลเหล่านี้มีข้อมูลที่รองรับตลอด นอกจากเราจะได้ลูกค้ากลุ่มที่เราต้องการในสถานที่นั้นๆ แล้ว ยังสามารถดึงดูดลูกค้ากลุ่มอื่นๆ ที่อยู่นอกบริเวณนั้นได้อื่นด้วย เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับเงินที่ลงโฆษณาบน Facebook อีกด้วย

    สรุป

    ไม่ว่าจะใช้ Objective ใดๆในการซื้อโฆษณาก็ตาม การวัดผลนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะการวัดผลบนโลกออนไลน์มีค่าสถิติหรือข้อมูลที่รองรับไว้แต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งแตกต่างกับโลกออฟไลน์ที่มีการวัดผลที่ไม่ชัดเจนนัก เป็นต้น โดยเราจะมาพูดถึงกันอย่างละเอียดในบทความต่อ ๆ ไปกันนะครับ ^^

     

     

เครื่องมือ Social Media Management Tools บริษัทควรเตรียมตัวใช้อย่างไร

ณ พ.ศ.2561 นี้ ทุกองค์กรน่าจะต้องมี Social Media Channel เป็น Own Asset ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook Fanpage,Twitter Official Account คำว่า Digital Transformation ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยหลายๆบริษัทเลือกใช้ Digital Agency เข้ามาบริหารจัดการ แต่หลายๆแห่งก็เริ่มจะฟอร์มทีม Digital Marketing ขึ้นมาดูแลเอง

แล้วเหล่า Marketer ต้องเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องใช้เครื่องมือ Social Media Management Tools มาเริ่มกันเลย 

1.สร้าง Goal&Objective

ก่อนจะเริ่มทำสิ่งใดการตั้งเป้าหมายและผลสำเร็จเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเป็นลำดับแรก
ยกกภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เป้าหมายและวัตถุประสงค์นั้นต้องชัดเจน

Different goal and objective

  1. สำรวจความพร้อมของทีม

    คนที่มีความรู้ ความสามารถ และ ที่สำคัญที่สุดคือเวลา “ ในการใช้เครื่องมือในลักษณะนี้
    ยกตัวอย่างเช่นการเลือกใช้ Social Listening Tools ต้องใช้ Data Analyst มาวิเคราะห์ข้อมูลรวมไปถึงการให้ทีม Social  Media หรือ Customer service คอย Monitor โลก Online เพื่อป้องกัน Brand Reputation และ Crisis Management

3.การรายงาน และ การวัดผล

การออก Report ต้องมีรูปแบบรายงานที่ตอบสนองความต้องการของแต่ละรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น Agency ต้องการทราบความนิยมในตัว Coach ของ The Voice Thailand ใน Season นี้

Mentions of The voice

จากกราฟจะสังเกตุได้ถึงการถูกพูดถึงบนโลก Online ของ Coach แต่ละท่านเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในกรณีที่จะเลือกใช้ Influencer ท่านไหน หรือ วัดผลหลังจากที่ทำ Campaign การใช้เครื่องมือ Social Media Management Tools และ Social Listening Tools ระหว่างทางที่ใช้งานนั้น ต้องทำการ Monitor&Optimise อย่างต่อเนื่อง ทั้ง Trend หรือ Keyword ต่างๆ ต้องคอยเพิ่มในระบบเพื่อนำมาทำ Real-Time Content อย่างมีประสิทธิภาพ


Computerlogy สร้าง SocialEnable จาก Requirement ของลูกค้า และยินดีรับฟังทุกความต้องการของลูกค้าเสมอมั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานพร้อมได้รับคำแนะนำและการดูแลจากทีมที่ปรึกษามืออาชีพ


#SocialEnable #Computerlogy #SocialMadiaManagementTools #SocialListeningTools

4 เทคนิค | การทำ Lead Generation เพิ่มฐานลูกค้าในปี 2018

Lead Generation

การทำให้คนที่ยังไม่รู้จักเรามาเป็นลูกค้าของเรา รวมถึงดูแลลูกค้าปัจจุบันของเราไปด้วย เพราะการรักษาฐานลูกค้าปัจจุบันให้คงอยู่กับแบรนด์ก็ยากอยู่แล้ว แต่การที่เราจะเพิ่มฐานลูกค้าใหม่นี่สิยากกว่า!! แล้วมีทางไหนบ้างที่ช่วยให้เราเพิ่มฐานลูกค้ารายใหม่ ? ทาง SocialEnable จะพามาลองมาดูเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าให้คุณโดยการทำ Lead Generation ในปี 2018 กันดีกว่าค่ะ

(Lead Generation คือ ผู้มุ่งหวังในสินค้าหรือบริการนั้นๆ หรือถ้าให้เข้าใจง่ายๆ คือ ”คนที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้าของเรา” ดังนั้นนักการตลาดจะคุยกันถึง ”การสร้าง Lead” หรือ Lead Generation นั้นเอง)

Content Review

1.รีวิวเพื่อเตรียมความพร้อม(Review)

เพื่อให้เราทราบถึงสถานะปัจจุบันของแบรนด์เราเป็นอย่างไร มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะเตรียมรับมือกับสิ่งใหม่ๆ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น มีสิ่งไหนที่สามารถแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้บ้าง

  • รีวิวเป้าหมาย : ว่าที่ผ่านมาได้ทำตามเป้าที่เราตั้งหรือตรงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือเปล่า
  • รีวิวเว็บไซต์ : ดูว่าเว็บไซต์ทิศทางเดียวกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือเปล่า หากมีผู้ใช้หน้าใหม่เข้ามาในเว็บไซต์จะงงหรือเปล่าว่าเราต้องการที่จะสื่ออะไร และหลังจากผู้ใช้ได้ทำการกรอกข้อมูลของเขามาแล้วเขาจะเห็นอะไรในเว็บไซต์ของเรา เพื่อที่จะเปลี่ยนจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้เป็นลูกค้าให้เร็วที่สุด
  • รีวิว Content : เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นแรงดึงดูดให้คนอยากเข้ามากรอกข้อมูลให้เรา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือการเผยแพร่ใน Social media ช่องทางต่างๆ โดยเนื้อหามีควรมีความสอดคล้องกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ, หัวข้อตรงประเด็นและน่าสนใจ, มีการใช้ Keyword และ Hashtags ในแต่ละโพสต์ เพื่อสื่อสารให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไป

Listen-your-Customers

  1. กำหนดตัวตนของลูกค้า(Target)

วิธีในเราใช้ในการกำหนดกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันจะเป็นการแบ่งโดยเพศ อายุ เช่น หากเราขายเครื่องสำอาง จะกำหนดเป็น เพศหญิง อายุ 24-50 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้ปิดโอกาสในการขายกับคนกลุ่มอื่นที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้าของเรา  หากเราแบ่งให้เป็นตามพฤติกรรมจะทำให้แบ่งกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้นได้หลาย Segment เช่นลิปสติกสีแดง ลักษณะเป็นคนชอบปาร์ตี้ตามสถานบันเทิง หรือออกงานยามค่ำคืน ซึ่งอาจหมายถึงเพศที่สามด้วยไม่ได้เฉพาะแค่ผู้หญิง โดยนำข้อมูลจากการที่เราได้เรียนรู้มาลงรายละเอียดให้ลึกขึ้นเพื่อให้เห็นออกมาเป็นภาพของกลุ่มลูกค้าในลักษณะของ Personas ซึ่งหากข้อมูลที่คุณมียังไม่เพียงพอ อาจจะมีการทำ Research เพิ่ม เช่น Survey เพื่อหาคนที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของคุณจริงๆ

Monitoring Competitor

  1. แอบส่องคู่แข่ง (Competitor Analysis)

อย่างที่ทราบกันดีว่าคู่แข่งก็เหมือนอาจารย์เรา ถ้าหากไม่มีคู่แข่งอาจจะทำให้เราไม่ได้พัฒนาอะไรเลยก็ได้ ดังนั้นเพื่อรู้จักตลาดและสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจของคุณ ลองทำการ Research คู่แข่งดูว่าเขาทำอะไรอยู่บ้าง เพื่อมาดูว่าเรายังขาดเหลืออะไรอีกบ้าง รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราอาจจะมองข้ามไปและไม่มีในแบรนด์ของเรา แต่ไม่ใช่การ Copy ของคู่แข่งมาใช้กับเรา เป็นการศึกษาเพื่อทำให้แบรนด์ของคุณดูแตกต่างออกไปแต่คลอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

Planning

  1. จัดทำแผน (Planning)

หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ต้องมีการจัดทำแผนทั้ง Content และ Promotions ว่าจะมีวิธีการใช้ Content หรือ promotions รูปแบบใดเพื่อที่จะช่วยหา Lead ให้ได้มากที่สุด และมีคุณภาพที่สุด แล้วถ้าหากแผนที่ 1 ใช้ไม่ได้ผล จะมีการวางแผน 2  หรือแผนต่อๆ ไป ในการหา Lead อีกหรือไม่


สรุป

การสร้าง Lead Generation นั้นเป็นกระบวนการที่ลูกค้ารู้จักเราแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้ารายหนึ่งของเรา สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าใจความต้องการลูกค้าของคุณว่าลูกค้าของคุณสนใจอะไร ต้องการอะไร แล้วธุรกิจของเรา หรือสินค้าของเราตรงหรือสามารถช่วยเหลืออะไรเขาเหล่านั้นได้บ้าง ”อย่าให้เขาเป็นเพียงคนที่เข้ามาแวะดูและจากไป”


Facebook


 

– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

 

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Content Marketing Framework

การทำ Content Marketing ในยุคนี้ที่ใคร ๆ ก็สามารถผลิต Content กันได้ เพียงคุณมีมือถือสมาร์ทโฟน เอาไว้ถ่ายรูปและโพสต์ หรือมีสกิลแต่งภาพเบื้องต้น คุณก็สามารถทำ Content เจ๋งๆได้แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงคือ การแข่งขันของ การทำ Content Marketing นั้นสูงมาก ยังไม่รวมกับ Facebook ที่ปรับฟีดให้คนเห็นโพสต์ของเพจน้อยลง หรือทำ Content เจ๋งๆมาแล้ว ได้แต่ยอดไลค์ยอดแชร์ แต่ยอดขายไม่พุ่งเลยจะทำยังไงดี ? วันนี้ SocialEnable จะพาไปดูขั้นตอนการทำ Content พร้อมยกตัวอย่างการทำ Content Marketing แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ 🙂

Content Marketing คืออะไร? 

Content Marketing คือ การทำการตลาด ผ่านการสร้าง Content ที่มี ” คุณค่า (Value) ” หรือที่เราเรียกว่าเป็น Quality Content สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่าน หรือสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตของผู้อ่านได้

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Understand Content Marketing Framework

  1. Set Objective

อีกแล้วหรอ!! แน่นอนครับ อย่างแรกคือ การวางเป้าหมาย(Objective) ลองถามตัวเองดูนะครับว่าการที่เราจะทำ Content สักชิ้นหนึ่ง ทำไปเพื่ออะไรและลูกค้าได้อะไร การมีเป้าหมายนั้นเหมือนมีกรอบไว้ไม่ให้เราออกนอกลู่นอกทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ราบรื่นที่สุดลองดูตัวอย่างนี้นะครับ

Set Objective for Content marketing

Brand Awareness – ทำให้ Brand หรือ Product เป็นที่รู้จัก หรือให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับ Product เรา ตัวอย่างเช่น Social Listening คืออะไร? | สำคัญกับธุรกิจเรายังไง สร้างความอยากรู้ให้กับคนที่เข้ามาเจอ
Thought leadership – สร้างความแตกต่างและความเป็นผู้นำเทรนด์ด้านที่ถนัดและเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ได้ตามใคร หรือเป็นข้อมความรู้ชุดใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยเจอ
Lead Generation – เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าเรา เช่น เปรียบเทียบแบรนด์ AและB, Review จากผู้ใช้งานจริง (แนะนำ: 4เทคนิค การทำ Lead Generation)
Sales – เพิ่มยอดขายจากการทำ Content เช่น รวมราคาโปรโมชั่นในเดือนมีนา ที่คุณจับต้องได้, 5 เหตุผลที่คุณต้องซื้อ

2.Understand Customer Needs

กำหนดเป้าหมายเพียงข้อมูลทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปคือ ข้อมูลพื้นฐานอย่าง อายุ,เพศ,ที่อยู่,การศึกษา,ความสนใจ แล้ว อย่าลืมแต่มองให้ลึกถึงภายใน ข้อมูล Insight คือ สิ่งที่ผู้บริโภครู้สึกภายในเช่น ชอบดูละครบุพเพสันนิวาส แต่ชอบดูแบบย้อนหลัง เพราะในช่วงเวลาที่ออกอากาศยังไม่ถึงบ้าน

How to crate Persona Profile

Customer Persona : คือการสร้างลูกค้าในอุดมคติ เพื่อทำให้เห็นชัดเจนว่าลูกค้าว่าเป็นใคร ทำงานอะไร อยู่ที่ไหน ชอบไม่ชอบอะไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร สิ่งที่เขากังวลคืออะไร รวมถึงเราสามารถเข้าถึงเขาได้ทางไหนบ้าง การสร้างลูกค้าในอุดมคติ ช่วยให้เราสามารถวางแผนกลุยทธ์ได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

Understand Customer Journey

Customer Journey คือ การเดินทางของผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง โดยตัวอย่างด้านบน บอกถึงแต่ละขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้านั้นเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร(Touch Point) โดยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนตามภาพ

Awareness – ใช้ Content ที่ลูกค้าไม่เคยรู้ ไม่เคยทราบว่าก่อนเกี่ยวกับ Brand หรือ Product ของเรา
Consideration – ใช้ Content เชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่ง, ข้อดีข้อเสียของสินค้า, รีวิวจากผู้ใช้งานจริง หรือทดลองใช้งาน
Purchase – ใช้ Content เกี่ยวกับ วิธีจ่ายเงินที่ง่ายที่สุด, ร้านค้าที่ใกล้ลูกค้า หรือโปรโมชั่น
Retention –  ใช้ Content ที่มอบข้อมูลหรือโปรโมชั่นให้กับคนที่เป็นลูกค้าเท่านั้น
Advocacy – ใช้ Content กระตุ้นการแชร์ ชวนให้คนมารีวิว Product เรา แล้วได้แต้ม เป็นต้น

เราควรจะทำ Content เพื่อตอบสนองในทุกขั้นตอนของ Customer Journey

3.Content Strategy

เมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายคือใครแล้ว ถึงเวลาวางแผนทำ Content เพื่อให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค แบรนด์ส่วนใหญ่อยากขายสินค้า หรืออยากพูด (Brand Talk) จนลืมนึกถึงผู้บริโภคว่าอยากฟังรึเปล่า ช่วยอะไรเขาได้(Audience Interests) หากผู้บริโภคไม่สนใจก็จบตั้งแต่สไลด์มาเจอโพสต์ของเรา ดังนั้นมาดูรูปตัวอย่างกันว่าเราจะหา Value Content ที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภคได้อย่างไร

Creating Content Strategy

Brand Talk คือ สิ่งที่แบรนด์อยากจะพูด อยากจะเล่า ว่าแบรนด์เราทำอะไรบ้าง สินค้าเรามันดียังไง มันใช้งานยังไง (หัวใจสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้คนมาสนใจเรื่องที่เราเล่า)
Audience Interests คือ สิ่งที่ลูกค้าอยากฟังหรือสนใจ เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตเขาได้ แต่ส่วนนี้แบรนด์จะรู้ข้อมูลได้อย่างไร ว่าเป้าหมายของเราสนใจเรื่องอะไร แบรนด์อาจต้องติดตามเทรนด์ของกลุ่มหมายเหล่านั้น หรืออาจใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening Tools ในการหาข้อมูลว่ามีคนพูดถึงแบรนด์เราอย่างไรบนโลก Social เครื่องมืออย่าง Social Listening สามารถใช้ได้หลายแง่มุม (อ่านต่อ : 5 ข้อดีของ Social Listening)
Value Content : ตรงกลางระหว่างสิ่งที่แบรนด์ต้องการต้องบอก และผู้บริโภคสนใจอยากฟังด้วย ถือว่าเป็น Content ที่มีคุณค่า เราต้องหาให้เจอ และ ทำมันอย่างต่อเนื่อง

Content Formats : จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเลือกรูปแบบ Content ที่เราจะนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแบบรูปภาพ บทความ [short-long form] หรือวีดีโอ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ อย่างผู้บริโภคบางคนชอบอ่านบทความ ในการทำความเข้าใจมากขึ้น แต่บางคนไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะๆ เราจึงต้องเลือกรูปแบบในการจะสื่อออกไปให้เหมาะสม

Creating Content Distribution Channels

Content Distribution Channels : เลือกสื่อหรือแพลตฟอร์มที่จะสามารถกระจาย Content ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าผู้หญิง อาจเลือก Content ลงใน Instragram หรือธุรกิจอย่าง B2B อาจจะเน้นไปที่การทำเว็บไซต์ของตัวเอง ผสมกับการทำ SEOและSEM เพื่อถูกค้นหาเจอได้ง่ายบน Google เป็นต้น

4.Measurement

Measurement&KPIs

เมื่อทำ Content ไปแล้วสิ่งสำคัญคือดูกระแสตอบรับ หาวิธีการวัดผล Content ที่เราทำว่าสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่เราวางไว้แต่แรกได้หรือไม่ หากเป้าหมายคือ Brand Awareness  เราสามารถยึดเกณฑ์ในการวัดผลคือ เข้าถึงคนได้กี่คน(Reach) แล้วมีคนดูกี่คน(Views) Engagement รวมเท่าไหร่(ในวิชา Facebook คือ Reaction ,Comments, Shares) คนดูวิดีโอดูจบกี่เปอร์เซ็นต์ บางครั้งต้องเจาะลึกดูถึง Sentiment ว่าแต่ละ Comment หรือคนที่ Share มีคนพูดถึงแบรนด์เราในด้านดีไม่ดีอย่างไร  จะเห็นว่าเกณฑ์การวัดผลอาจไม่ตายตัวนัก แต่จะต้องสะท้อนหรือวัดผลเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อนำผลที่ไปปรับปรุงหรือแก้ไขให้ Content ดีขึ้น โดยใช้เครื่องมือวัดผล Fanpage อย่าง SocialEnable : Social Media Management Tools


สรุป                                                                         

คีย์เวิร์ดหลักๆ ในการทำ Content Marketing คือคำว่า ” คุณค่า (Value) ” ต้องเป็น Quality Content ที่สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่านได้ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของเหล่า Marketer ที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนจากผู้อ่าน >> ผู้ติดตาม >> เป็นลูกค้าผู้น่ารัก

โดยทั้ง 4 ขั้นตอนนี้คือการทำ Content Marketing พร้อมมีตัวอย่างประกอบ ใครที่อยากจะลองทำ Content ลองนำ ขั้นตอนเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ เพื่อทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable