Category: Digital Marketing

สรุป 4 กลยุทธ์ Data – Driven Marketing ที่นักการตลาดเลือกใช้ในปีนี้

1. Hyper-Personalization

การตลาดแแบบ Personalization ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในแบรนด์มากขึ้น แต่ในยุคสมัยนี้อาจจะไม่พอที่จะช่วงชิงเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าได้ เมื่อการตลาดต่างยึดให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราจึงต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นอันดับแรก และต้องตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็วทันใจ เมื่อมนุษย์สามารถสร้างให้ Machine learning มีความฉลาดหลักแหลมขึ้นทุกวัน หลายๆบริษัทจึงเริ่มมีการทำ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการทำ Persolization แบบเรียลไทม์ ความพร้อมของข้อมูลก็ต้องเรียลไทม์ด้วยเช่นกัน Personalization ดึงดูดผู้บริโภคได้มากถึง 90% ส่วนของ 80% ชอบให้แบรนด์ทำ Personalization

Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแบรนด์ ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง


2. Interactive Emails 

ใครๆต่างบอกว่าเทรนด์ Email Marketing กำลังจะหายไป แต่นั่นอาจไม่เป็นความจริง เมื่อ Big data ทำให้การมีอยู่ของอีเมลมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแค่ได้ข้อมูลมา DATA จะช่วยให้เราคัดกรองลูกค้า หรือแบ่งกลุ่ม และสามารถส่งข้อมูลให้ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อัตโนมัติ  นอกจากนั้น Big data สามารถทำให้เราวัดประสิทธิภาพของการทำการตลาดผ่านอีเมลได้ทันที และสามารถใช้ข้อมูลนั้นวิเคราะห์และสร้างกลยุทธิ์ต่อไปได้

ต่อให้มีการส่งสารในรูปแบบของแชทเข้ามา อีเมลก็ยังคงเป็นที่ความนิยม  อาจเป็นเพราะการส่งอีเมลมีความเป็นทางการกว่าการส่งแชท อีเมลจึงเป็นช่องทางหลักเอาไว้ติดต่อสื่อสารกันในเรื่องงาน  กล่าวได้อย่างชัดเจนว่าการตลาดผ่านอีเมลกำลังมาแรงในปีนี้

3. Focus On Micro-Moments

Micro – moment  คือช่วงเวลาที่ลูกค้าเกิดความต้องการที่จะทำในทันที

Micro-Moments จึงเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความมุ่นมั่นตั้งใจของลูกค้า เป็นตัวกำหนดรูปแบบการตัดสินใจตลอดเส้นทางของลูกค้า ช่วงเวลาเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเจอสิ่งกระตุ้นเช่น การเห็นโฆษณา การพบเจอกับปัญหา การค้นหาบางสิ่งเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ เพื่อที่จะช่วงชิงลูกค้าและตอบสนองความต้องการ แบรนด์ต่างๆต้องอยู่ในที่ที่ผู้คนค้นหาในช่วงเวลานั้นๆ การนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าช่วงไหนคือ Micro moment ความได้เปรียบของแบรนด์จะอยู่ตรงที่เรานำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้หรือไม่ แล้วแบรนด์จะทำอย่างไรกับ Micro Moment ของลูกค้า 

4. Omnichannel Marketing

หากคุณติดตามแนวโน้มการตลาดในปี 2019 คุณอาจเจอคำว่า “Omnichannel Marketing” มากกว่าหนึ่งครั้ง แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะสับสนระหว่างคำนี้กับ multi-channel Marketing แต่ทั้งสองก็มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ในขณะที่การตลาดแบบ multi-channel Marketing เป็นเกี่ยวกับการเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ การตลาดแบบ Omnichannel นั้นเกี่ยวกับการดูแลผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในช่องทางหล่านี้ ไปสู่กระบวนการซื้อ เกี่ยวกับ customer journey ขั้นตอนต่างๆของกระบวนการซื้อ และอื่น ๆ และด้วยเหตุนี้จึงเกี่ยวข้องกับ personalization และ hyper – personalization โดยนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์อีกเช่นเคย

เมื่อได้ทำการตลาดแบบ Omnichannel คุณสามารถทำให้ journey ทั้งหมดของลูกค้าดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นำเสนอประสบการณ์ใหม่แบบ hyper – personalization เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ และเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วม 

ไม่ต้องไปพึ่งพาแพลตฟอร์มอื่นเพียงอย่างเดียว หากวันหนึ่ง facebook หรือ IG ไม่ใช่สื่อหลักอีกต่อไป หรือพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิม การเตรียมระบบ OmniChannel ไว้ก็เป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ธุรกิจหรือแบรนด์ได้ เพราะมี Big Data อยู่ในมือของตัวเองจึงนำไปใช้ต่อยอดแตกไลน์รองรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Wrap up

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ ตั้งแต่ Hyper – Personalization ที่เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ หรือ Email Marketing ที่นิยมกันมาตั้งแต่ที่เราเริ่มใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างจริงจัง แต่การกลับมานิยมอีกครั้ง อาจเป็นเพราะหลายบริษัทที่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคแห่ง Data Driven ได้ไว และประสบความสำเร็จในการทำกลยุทธ์เมื่อได้นำ Big Data เข้ามาช่วย ถึงกระนั้น Big data อาจจะไม่เป็นประโยชน์สูงสุด และอาจเกิดความล้มเหลวในการวางแผนกลยุทธ์ได้ หากคุณนั้นไม่มีเป้าหมายในการใช้ Data และตอบไม่ได้ว่าจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร ใช้เครื่องมือไหนในการเก็บข้อมูล บางทีอาจจะต้องเริ่มจากตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อนที่จะวางแผนในสเตปต่อไป

สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂

Source :  https://www.smartdatacollective.com/big-data-is-shaping-huge-digital-marketing-trends/

“ความคิดเห็นเชิงลบ” มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

1. ความคิดเห็นเชิงลบสามารถสร้างความไว้วางใจของลูกค้าได้

เมื่อคุณไล่ดูคอมเมนต์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่มีแม้แต่การ Complain หรือความคิดเห็นเชิงลบเลย ก็ต้องมีสงสัยกันบ้าง ว่าสินค้าหรือเซอร์วิสอะไรที่ทำให้ลูกค้าพอใจมากขนาดนั้น จากการวิจัยของ Revoo ลูกค้า 95% สงสัยว่าการรีวิวในเชิงลบถูกเซ็นเซอร์ออกไป หรือถูกลบออกไป หรืออาจจะถูกสงสัยว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นของปลอม หากไม่เห็นรีวิวหรือความคิดเห็นในเชิงลบ และ 65% เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นเมื่อมีการรีวิวทั้งเชิงลบและเชิงบวกปนกันไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีแบรนด์ไหนสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง

2. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยให้ลูกค้าคนอื่นรู้สึกว่า “ได้รับข้อมูลใหม่”

ลูกค้าคนอื่นๆ จะเข้ามาอ่านบทวิจารณ์และอ่านคอมเมนต์เพื่อทำการตัดสินใจซื้อ เชื่อว่าหลายคนจะมองหารีวิวที่มีทั้ง Sponsored และ Non sponsored เพื่อที่จะได้นำมาพิจารณาว่าควรจะซื้อสินค้าบริการหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนไม่ได้พิจารณาจากเพียงบทความเดียว อย่างน้อยต้องมากกว่าหนึ่งบทความเพื่อชั่งน้ำหนักว่า ขอดีของสินค้าและบริการนั้นมีมากกว่าข้อเสียยังไง ยกตัวอย่างจาก Amazon เว็บ Ecommerce ชื่อดัง ได้ทำการตั้งค่าบทวิจารณ์ที่ลูกค้าสามารถดูสรุป พร้อมคะแนนโดยรวม และรายละเอียดตามระดับความชื่นชอบ โดยจะแสดง “บทวิจารณ์เชิงบวกที่เป็นประโยชน์มากที่สุด” และ “บทวิจารณ์เชิงลบที่มีประโยชน์สูงสุด” ตามที่ผู้ใช้ของ Amazon ได้ทำการโหวต

3. ความคิดเห็นเชิงลบเพิ่มโอกาสให้คุณได้ keep relationship กับลูกค้า


เป็นการดีที่แบรนด์จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเอาไว้จากการที่ลูกค้าเข้ามารีวิวไม่ว่าจะเชิงลบหรือเชิงบวก นั่นหมายความว่าแบรนด์ยังมีโอกาสได้แก้ตัวใหม่กับข้อผิดพลาด ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้าหายไปอย่างเงียบๆ หลังจากผิดหวังและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น นั่นอาจจะทำให้แบรนด์นั้น อาจสูญเสียลูกค้าไปแล้วก็เป็นได้


Jay Baer เจ้าของเว็บไซต์การตลาด กล่าวว่า ที่ธุรกิจต่างๆเลือกที่จะไม่ตอบรีวิวเชิงลบ นั้นเป็นเพราะไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นด้วยการตอบการรีวิว แบรนด์กลัวว่าหากโพสต์ตอบกลับคำร้องเรียนอาจจะเป็นการสุมไฟให้บานปลายขึ้น ซึ่งมันไม่เป็นความจริง การตอบคำวิจารณ์ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า กลับกัน การเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียน จะลดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและใหม่


4. ความคิดเห็นเชิงลบช่วยเปิดเผยจุดบอด


เราจะไม่รู้เลยว่าข้อเสียของเราคืออะไร จนกระทั่งเริ่มเห็นลูกค้ารีวิวสินค้าและบริการในเชิงลบ ทำให้เผยให้เห็นจุดบอดเยอะแยะมากมายที่แบรนด์ไม่เคยรู้มาก่อน
เพราะฉะนั้น การ Complain จากลูกค้าอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้แบรนด์ของคุณนั้นพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้


Wrap up

การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ กลายเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งบนโลกออนไลน์ของลูกค้า ที่แบรนด์ควรจะรับมือให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น การชี้แจงปัญหา การวิพากษ์วิจารย์ การโจมตีแบรนด์ ซึ่งนั่นอาจจะสิ่งที่แบรนด์ไม่อยากพบเจอหรือให้เกิดขึ้นเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราไม่อาจเลี่ยงและจำเป็นที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้อย่างกล้าหาญ โดยจากข้อที่ 1 – 4 ที่กล่าวมานั้นอาจจะช่วยให้ท่านได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความคิดเห็นในเชิงลบจากลูกค้าเสียใหม่เพื่อที่จะได้รับมือกับความคิดเห็นในเชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Source : https://www.lifelearn.com/2019/09/10/the-benefits-of-negative-reviews-2/
https://www.socialmediatoday.com/news/how-to-deal-with-fake-negative-reviews-infographic/529688/


[Infographic] 8 ข้อดี Social listening tools ช่วยให้ธุรกิจเติบโต!


การฟังทางโซเชียลสามารถใช้งานได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความต้องการทางธุรกิจ ในอินโฟกราฟิกนี้จะเสนอให้เห็นภาพรวมของประโยชน์สำคัญๆของ Social listening tool ที่ไม่ว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไหน ก็นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้

ดังนี้

1. ตรวจสุขภาพให้กับแบรนด์ โดยการ Set keyword เป็นชื่อของแบรนด์ ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือชื่อบุคคลสำคัญ ระบบจะตรวจจับคำสำคัญ ทำให้สามารถตรวจสอบภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

2. ป้องกันการเกิดวิกฤต SocialEnable มีการตรวจจับ Sentiment ว่าลูกค้ากล่าวถึงแบรนด์ไปในทิศทางไหน หากมีการกล่าวถึงในเชิงลบ ลูกค้าจะได้รับการแจ้งเตือนที่อีเมลและไลน์ OA

3. พัฒนาการให้บริการลูกค้า ตรวจสอบจากการตอบสนองต่อแบรนด์อย่างเรียลไทม์ ลูกค้ากล่าวถึงการให้บริการว่าอย่างไร ทั้งนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อพัฒนาการให้บริการ สร้างฐาน Brand loyalty ที่มั่นคงต่อแบรนด์

4. กลยุทธ์คู่แข่ง สามารถตรวจสอบแบรนด์คู่แข่งได้ด้วยการ Set ketword เกี่ยวกับแบรนด์ของคู่แข่ง ชื่อบุคคลสำคัญและผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง เพื่อดูว่ากำลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ การปล่อยแคมเปญใหม่ หรือการให้บริการใหม่หรือไม่

5. หาโอกาสในการเพิ่ม Lead โดยสร้างการแจ้งเตือนการตรวจสอบเพื่อติดตามคำสำคัญๆ เมื่อลูกค้าของคู่แข่งกล่าวถึงคู่แข่งด้วยทัศนคติเชิงลบ

6. ค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ ได้ด้วย SocialEnable ให้ระบบช่วยหา Influencers ที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณได้ โดย Set Page หรือ Set keyword ที่เกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นๆ เพื่อวิเคราะห์และหาความเหมาะสมกับแบรนด์ของเรา

7. รีเสิร์ชทุกอย่างจากการวิเคราะห์ข้อมูล
SocialEnable สามารถรวมผลลัพธ์ไว้ในรูปแบบรีพอร์ท ท่านสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากหน้า report ที่มีกราฟสวยงาม ดูง่ายและสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบของภาพ และไฟล์ Excel หรือสามารถนำไป Query ข้อมูลต่อก็ย่อมทำได้

8. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากคำติชมของลูกค้า เราจะรู้ก่อนใครว่าลูกค้าพูดถึงผลิตภัณฑ์ของเราว่าอย่างไร หากคุณมี Social listening tools อยู่ในมือ ยิ่งบริษัทหรือองค์กรที่ยึดหลัก Customer centric เสียงของผู้บริโภคบนออนไลน์ยิ่งสำคัญต่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เสมอ

การปรับตัวของ Instagram และ youtube เมื่อ Tiktok กำลังเป็นที่นิยม

ปีที่แล้ว ทางบริษัท Facebook ได้ปล่อยแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอสั้นที่ชื่อว่า Lasso แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร Facebook จึงเล็งเห็นว่า Instagram สามารถเข้าถึงฐานของ Creator ที่มีอยู่ และจากความคุ้นเคยของ User ด้วยเครื่องมือตัดต่อวิดีโออย่าง Super zoom และ Boomerang อินสตาแกรม คิดค้นและปล่อยลูกเล่นใหม่ที่ชื่อว่า Reels ฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอสั้นคล้าย Tiktok บน Instagram ได้เปิดให้ลองใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศบราซิลเป็นประเทศแรก User ส่วนใหญ่ ต้องการให้ instagram มีการรวม Collection ของ Reels เป็นหลักเป็นแหล่ง ทั้งของ User และของคนอื่นๆ หลังจากที่ Reels ได้เริ่มเปิดให้ลองใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศษ Instrgram ได้ปรับเปลี่ยนให้ User สามารถเข้าดู Reels ของผู้อื่นได้ที่หน้า Explorer และสามารถย้อนดู Reels ของตัวเองได้ที่ Profile ความแตกต่างของ reels คือ ให้ผู้ใช้ Instagram สร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สามารถปรับความเร็วหรือเพิ่มแคปชั่นได้ และสามารถแชร์ลงฟีดหรือสตอรี่ได้ทันที วิดีโอเหล่านั้นจะยังคงความเป็นส่วนตัว ไม่สามารถดาวน์โหลด และแชร์ต่อได้อย่าง Tiktok ที่สามารถใช้เพลง เสียง ฟิลเตอร์ที่คล้ายกันเพื่อสร้างคลิปวิดีโอ ทั้งนี้ เครื่องมือการตัดต่อ ฟีเจอร์ Reels ของ Instagram อาจจะยังไม่หลากหลายเท่า Tiktok

ในส่วนของ youtube ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ และเริ่มต้นทดสอบบนมือถือที่จะให้ผู้ใช้บันทึกวิดีโอที่มีความยาว 15 วินาที เท่ากับค่าเริ่มต้นการบันทึกวิดีโอของ Tiktok
จะเห็นตัวเลือก “Create Video” มีวิธีใช้คล้ายกับ Tiktok โดยกดบันทึกค้างไว้เพื่อบันทึกคลิป และสามารถแตะอีกครั้งหรือปล่อยปุ่มเพื่อหยุดการบันทึก และทำแบบเดิมซ้ำจนกว่าคลิปวิดีโอจะครบ 15 วินาที ภายหลัง Youtube จะเพิ่มการควบคุมและคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น เอฟเฟ็กต์เพลง AR ฟิลเตอร์ต่างๆ หรือปุ่มเพื่อเปลี่ยนความเร็ววิดีโอ เป็นต้น
เชื่อว่าในยุคที่ผู้คนกำลังอินกับเทรนด์การตัดต่อวิดีโอสั้นๆกระชับแบบนี้ ที่กำลังฮิตติดกระแสในช่วงกักตัวโควิด 19 ก็ดี หรือ ช่วง New Normal ต่อจากนี้ก็ดี Platform ยอดฮิตอย่าง Youtube และ Instagram จะยังคงพัฒนาฟังค์ชั่นตัดต่อวิดีโอสั้น เพื่อให้ได้มีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์แบบสูสี Tiktok ได้อย่างแน่นอน

source : https://techcrunch.com/2020/06/25/youtubes-latest-experiment-is-a-tiktok-rival-focused-on-15-second-videos/

ทำไมการตลาดยุคนี้ต้องใช้แนวคิดแบบ “Data-Driven Marketing”

ตั้งแต่ปี 1960 เราเริ่มต้นทำการตลาดเว้ยเริ่มกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน และเริ่มมีการส่งจดหมายให้กับลูกค้า และมีการทำโฆษณาเกิดขึ้น

ในปี 2007 การทำตลาดบนอีเมลเริ่มเป็นที่นิยม เนื่องจากบริษัท Apple เปิดตัว iPhone เครื่องแรก User จึงสามารถเชื่อมต่อและใช้อีเมลกับอุปกรณ์มือถือได้ง่ายขึ้นยิ่งขึ้น

มาที่ปี 2010 ผู้คนเริ่มใช้โซเชียลมีเดียอย่างคล่องแคล่ว เริ่มหันมาใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี และอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเลตเพื่อเชื่อมต่อสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การตลาดในปัจจุบันจึงต้องใช้ข้อมูลมากมายมหาศาลมาช่วยในการทำวิจัย ทั้งพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดจึงไม่จำเป็นต้องเดาว่าลูกค้านั้นต้องการอะไรอีกต่อไป

และในยุคนี้ ที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วย Data และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทำให้บางธุรกิจเติบโต ไม่ใช่แค่เพียงเพราะมีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นๆได้อย่างตรงจุด

และนี่คือข้อดี 5 ข้อใหญ่ๆการนำข้อมูลมาใช้ในเชิงการตลาดอย่างถูกวิธี มีดังนี้

1. ช่วยในการปรับแต่งแคมเปญการตลาด ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

จากการสำรวจทั่วโลกของการตลาดและการโฆษณาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลวิจัยโดย MediaMath, The Winterberry Group และ Global DMA,
กล่าวไว้ว่า 53% ของนักการตลาด มีความต้องที่จะสื่อสารกับลูกค้า แบบ Customer Centrics คือ การเข้าใจความรู้สึกของลูกค้า และคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก ข้อมูลขนาดใหญ่และเครื่องมือวิเคราะห์เชิงนวัตกรรม จะช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างแคมเปญที่มีการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้มากยิ่งขึ้น


2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง


ด้วยการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล นักการตลาดจะสร้างแคมเปญโดยอิงจากความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จากการสำรวจจากทั่วโลก จะพบว่า 49% ของแบรนด์ใช้การตลาดแบบ Data driven เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า จึงต้องใช้ข้อมูลมากมายในการสำรวจความพึงพอใจ และพฤติกรรมของลูกค้า เปิดการให้บริการแบบ Omni channel เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการทำให้มันสอดคล้องกันไปในทุกๆช่องทาง ไม่ว่าคุณจะติดต่อลูกผ่านโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ หรือผ่านการติดต่อแบบตัวต่อตัวลูกค้าจะได้รับข้อมูลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ได้รับประสบการณ์แบบเดียวกัน


3. เพิ่มประสิทธิภาพให้กับสื่อที่มีความหลากหลาย


ผู้ใช้แต่ละแพลตฟอร์ม มีพฤติกรรมที่ต่างกัน จุดประสงค์ต่างกัน มีการตอบสนองต่อโพสต์นั้นๆต่างกันออกไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักการตลาดถึงจำเป็นต้องสร้างและใช้กลยุทธ์การตลาดที่มีการนำ Data มาช่วยวิเคราะห์ด้วย เราจะรู้ได้เลยว่าช่องทางใดมีประสิทธิภาพที่สุด และข้อความใดที่กระตุ้นพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ สามารถระบุว่า Content แบบไหนที่จะถูกใจลูกค้า แบบไหนมีประสิทธิภาพ เราควรโพสต์ในช่วงเวลาใด ช่องทางไหน


4. ช่วยเพิ่ม Engagement


การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จะช่วยให้เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสมัยนี้จะพึงพอใจต่อแบรนด์ที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้ากลุ่มๆนั้นได้ หากพวกเขาถูกใจในคอนเทนต์ ก็จะมีการแชร์ และมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์นั้นๆมากขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือนี้ ก็จะส่งผลต่อการเพิ่ม Awareness ให้กับแบรนด์ในระยะยาว สิ่งนี้นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย


5. ช่วย Focus ลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์


การทำการตลาดแบบ Data driven จะทำให้เราโฟกัสลูกค้าประจำของเราได้มากขึ้น เราจะรู้ได้ว่ากลยุทธ์แบบไหน เป็นการรักษาลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ หากเรา Service ลูกค้าให้ตรงใจในแบบที่ลูกค้าต้องการ สามารถนำเอาพฤติกรรมการซื้อมาวิเคราะห์ และสามารถตรวจสอบได้ว่าโปรโมชั่น และแผนการจูงใจใดที่ลูกค้าตอบสนองได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การรู้ทันความต้องการและสื่อสารให้ตรงจุดโดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว และส่งผลดีต่อแบรนด์ โดยลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะเป็นผู้ที่สร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ คอยปกป้องและโปรโมทแบรนด์โดยที่แบรนด์นั้นๆอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโปรโมท

User – generated content สำคัญอย่างไรในปี 2020

“ผู้บริโภค 50% กล่าวว่า User – generate content มีผลต่อการซื้อสินค้า เพิ่มโอกาสในการซื้อผลิตภัณฑ์”

หรือ User Generate Content หมายถึง ข้อมูลเนื้อหาประเภทใด ๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ภาพถ่ายดิจิทัล และสื่อประเภทอื่น ๆ ที่เป็นของแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ กล่าวคือลูกค้าสร้างคอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ด้วยตัวเอง โดยที่แบรนด์ไม่ต้องทำการจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้นั่นเอง

แล้ว User Generate Content ยังคงสำคัญอย่างไรในปี 2020 


1.เนื่องจากผู้บริโภคช่างสังเกตุขึ้นเรื่อยๆ และไม่ค่อยเชื่อโฆษณาง่ายๆเหมือนแต่ก่อน User Generate Content อาจเป็นทางออก เพราะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้คนอื่นๆมากที่สุด
 

2. เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เนื่องจากมีผู้สร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์แล้ว ยังได้ยอดแชร์ ยอดไลค์ไปเลยฟรีๆโดยไม่ต้องทำการโปรโมตโพสต์

3. ประหยัด Budget ไปได้เยอะมาก เนื่องจากแบรนด์ไม่ต้องเสียค่าจ้างหรือเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับอินฟลูเอนเซอร์  เนื่องจากลูกค้าได้ทำการซื้อเองใช้เองและโพสต์เองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

4. คอนเทนต์ที่ถูกสร้างโดยลูกค้าหรือผู้ใช้จริงจะเป็นคอนเทนต์ที่มีความเป็นธรรมชาติ และดูเข้าถึงง่ายมากที่สุด เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะสร้างคอนเทนต์ที่คล้ายคลึงกับการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนฟัง ทำให้ภาษาดูเป็นกันเองมากกว่า

5. มีการสร้าง awareness ให้กับลูกค้าบ่อยครั้ง 

6. กระตุ้นยอดขายในระยะยาว หากแบรนด์นั้นได้ทำการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า มีทีม Customer Service ที่ดี คอยตอบคำถามลูกค้าเมื่อลูกค้ามีข้อสงสัยประการใด

เชื่อว่าหลายๆคนกำลังตั้งคำถามว่า “แล้วทำอย่างไรลูกค้าถึงจะออกมาโพสต์สิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์โดยที่เราไม่ต้องจ้าง ?”

มีอีกเหตุผลหลายประการที่ทำให้ลูกค้าของเราสร้าง UGC ขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะแพคเกจจิงที่มีลูกเล่นสนุกสนาน สวยงาม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ลูกค้าเห็นแล้วควรค่าแก่การแบ่งปันให้คนอื่นได้เชยชมด้วย ดังนั้น หากแบรนด์ได้เห็นลูกค้าท่านใดโพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์โดยตรงด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ หรือเห็นผ่าน Social listening tool นั้น ก็อย่าลืมมองหาโอกาสจาก UGC กันด้วยนะคะ 🙂

3 วิธีปกป้องแบรนด์จาก FAKE NEWS ด้วย Social Listening Tool

Step 1: Respond directly

สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือการตอบกลับถึงผู้ที่ปล่อยข่าวปลอมโดยตรง ถ้าเป็นการทวีต หรือโพสต์เฟสบุ๊ค ก็สามารถตอบกลับแบบ Reply หรือคอมเมนท์ใต้โพสต์ด้วยคำสุภาพและเป็นมิตร โดยเนื้อหาในการตอบกลับควรเป็นการไขข้อข้องใจ หรืออธิบายให้กระจ่าง มากที่สุด และชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่เป็นความจริง การตอบกลับนั้นจะไปอยู่ใต้โพสต์ของ Fake news หรืออยู่ใน thread ซึ่งจะแสดงผลใต้โพสต์ Fake news ทุกครั้งเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นๆเข้ามาอ่าน

Step 2: Find and respond to people reacting

ถึงเวลาที่เราจะต้องรับมือกับม็อบบนสื่อออนไลน์ที่เข้ามาโจมตีหรือใส่ไฟให้กับข่าวปลอม ปัญหาคือเราในอยู่ยุคที่ Internet เข้าครอบงำ ทำให้ทุกๆคอนเทนต์ง่ายต่อการเผยแพร่และง่ายต่อการเสพ แบรนด์จึงไม่มีเวลาให้แก้ปัญหาได้ทันเหมือน Crisis เมื่อ fake news ถูกเผยแพร่ออกไปบนแพลตฟอร์มแล้วนั้น ก็อาจจะต้องสูญเสียภาพลักษณ์แบรนด์ไปแล้วส่วนหนึ่ง เพราะความรวดเร็วของการแพร่กระจาย สื่อ แพลตฟอร์มต่างๆที่เอื่ออำนวย และไม่ใช่ยูสเซอร์ทุกคนที่มี media literacy อาจจะทำให้ยากต่อการเรียกคืนความไว้เนื้อเชื่อใจต่อแบรนด์ แต่ถึงกระนั้น แบรนด์ควรค้นหาลูกค้าที่เป็นบุคคลสำคัญ ลูกค้าที่เป็น Brand Loyalty เพื่อที่จะติดต่อหาโดยตรงเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับข่าวปลอม โดยใช้ Social Listening Tools เพื่อดูการแพร่กระจายของของข่าว และค้นหาผู้ใช้ที่เป็นลูกค้าของเราที่กำลังพูดถึง Fake News จากนั้นคุณสามารถตอบสนองลูกค้าเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง

Step 3 : Use content to set the facts straight

วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยหยุดยั้งความเชื่อผิดๆของผู้คน ด้วยการแทนที่ด้วยเนื้อหาที่อธิบายข้อเท็จจริง ที่จะช่วยแก้ไขข้อมูลที่ผิด และช่วยซ่อมแซมชื่อเสียงที่เสื่อมเสียไป กุญแจสำคัญคือกลยุทธ์  หรือเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิด Engagement 

หากแบรนด์กำลังโดนโจมตีเรื่องการให้บริการลูกค้าและตีความแบบผิดๆ สิ่งแรกที่ควรทำคือควรหยุดคอนเทนต์ที่แพลนเอาไว้ก่อน และสร้างคอนเทนต์ที่เป็นข้อเท็จเท่านั้น หากคุณกำลังโพสต์คอนเทนต์หัวข้ออื่นๆตามแพลนที่ได้วางไว้ โดยไม่เกี่ยวกับ Fake news ที่เกิดขึ้น  ผลคือ ผู้คนและลูกค้าอันเป็นที่รักของคุณจะมองว่าแบรนด์กำลังพยายามบ่ายเบี่ยงข้อกล่าวหานั้นๆ ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำคอนเทนต์ เราควรเช็คดูว่ามีข่าวประเภทไหนที่โจมตีเราบ้าง ประเด็นไหนที่ไม่เป็นความจริง ประเด็นไหนที่คนเข้าใจผิดเยอะที่สุด ต้นตอของข่าวปลอมอยู่ตรงไหน เราสามารถเช็คได้ด้วย Social Listening Tools ด้วยการเซ็ท Monitoring Keyword และลองดูว่าแบรนด์กำลังมีประเด็นอะไรที่กำลังกลายเป็น Talk of the town เราสามารถจับประเด็นเหล่านั้นมาทำคอนเทนต์ สมมุติว่า Fake news คือมีคนตีความนโยบายการจ้างงานของบริษัทคุณแบบผิดๆและมีการแชร์โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้จนกลายเป็นไวรัลไปเสียแล้ว คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีการสอดแทรกความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อเรียกคืนความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจกลับมา 

How to ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการทำ Personalization Marketing

เมื่อลูกค้าของคุณรู้สึกรำคาญใจเมื่อเราไปตามตอแย เสนอโปรโมชั่นแบบหว่านแห ทั้งๆที่เราเองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าจะสนใจมั้ย ทำไมแบรนด์ไม่ลองทำ Personalization เพื่อล่นระยะเวลาและเพิ่มความคุ้มค่า แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ถ้าจะให้ร่ายเรียงข้อดีของการทำ Personalization อาจจะมีเพียงสามสี่ข้อสำคัญที่ทำให้การตลาดของแบรนด์คุณนั้นพัฒนาขึ้น ข้อดีของการทำ Personalization มีดังต่อไปนี้

– การทำ Personalization จะทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์มากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

– ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้กับแบรนด์มากขึ้น

– ทำให้ relationship ของแบรนด์กับลูกค้าดีมากขึ้น

– ยุคการตลาดที่ล้วนใช้ Bigdata เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และ Technology ล้นมือ ทั้ง VR AI AR ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเข้าถึงข้อมูลพวกนั้นได้ง่ายขึ้น

นี่คือข้อดีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่อาจจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับแบรนด์ แต่ทว่าจะใช้ Social Listening tools เข้ามาช่วยในการทำ Personalization อย่างไร ทางเรามีวิธีมาบอกกล่าวกันถึง 3 วิธีด้วยกัน

1. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ชัดเจน

โดยสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ชื่อของแบรนด์ ชื่อของสินค้า หรือ Keyword อื่นๆที่ต้องการ เพื่อค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร มีทัศนคติอย่างไรบนโลกออนไลน์ ประโยชน์หลักของการใช้เครื่องมือ คือสามารถเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น และเราสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะตามความสนใจหรือพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา โดยสามารถติดตามผลได้อย่าง Real – time สิ่งที่ลูกค้าพบเจอ สิ่งที่ลูกค้าตำหนิ สิ่งที่ลูกค้าชื่นชม อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงผลทันทีบนหน้าจอ Dashboard ทำให้เราสามารถจัดระเบียบข้อมูลเพื่อทำการสรุปพฤติกรรมและบุคลิกของกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น

2. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ

Content is king คอนเทนต์คือพระเอกที่จะทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และมีเอกลักษณ์ จะสามารถสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้ดีที่สุด
เราอาจจะเริ่มด้วยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ ชื่อของแบรนด์ ชื่อของผลิตภัณฑ์ หรือ Set Keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกOnline มีทั้งการโฆษณา การรณรงค์ งาน Event ต่างๆต้องมีชื่องาน ชื่อHashtag  นอกจากนี้ ยังสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับคู่แข่ง สำรวจว่าคอนเทนต์แบบไหนประเภทใด คีย์เวิร์ดไหนที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุด  เพื่อศึกษาดังต่อไปนี้

1. หัวข้อ และประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. แฮชแท็ก และคีย์เวิร์ดใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

3. ใช้ Social Listening tools ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้า

แบรนด์อาจจะต้องมองหาช่องทางในการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าซักหน่อย หลังจากที่กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการแล้ว ก็อาจจะต้องสร้างความสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ โดยการที่เราได้ Set keyword ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกค้าของคุณใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด หากคุณมี Social Listening tools อยู่ในมือ จะช่วยให้คุณเห็นรีวิว หรือคำพูดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หากเจอคอมเมนต์ในแง่ลบ คุณสามารถตอบกลับหาลูกค้าของคุณได้ทันที และยังสามารถ Monitor ได้หลายแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น Facebook Instagram Twitter Pantip Blog และ News

นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถสอดส่องข้อมูลได้ครบ 360 องศาเลยทีเดียว

อีกทั้ง Socialenable ยังมีระบบในการติดตามและ assign งานให้ทีมต่างๆ ได้ ช่วยสร้างความพึงพอใจลูกค้าได้ในระยะยาว และยังแก้ปัญหาการตอบแชทซ้ำกัน สามารวัดผลการทำงานของ Agent เช่น วัดระยะเวลา ตอบเร็ว ตอบช้า หรือปริมาณที่ตอบ
สามารถจัดอันดับความสำคัญในการตอบคำถามได้อีกด้วย


#SocialEnable

ไขข้อสงสัย! เนื้อหาบน Twitter แบบใด ที่สร้าง Engagement ได้ดีที่สุด

ทวิตเตอร์ กลายเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตที่ใครๆก็ต่างเข้าไปติดตามข่าวสาร อัพเดทเรื่องราวของตนเอง ไม่แปลกที่ยอดผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์พุ่งสูงมากในประเทศไทย  กลายเป็นแพลตฟอร์ม “Look At This” เป็นสื่อกลางในการพูดคุยสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแส หรือเนื้อหาที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม หากสังเกตเทรนด์ทุกวัน จะเห็นได้ว่ามีแฮชแท็กต่างๆมากมายที่เราอาจจะเข้าไม่ถึง อาจเป็นแฮชแท็กเกี่ยวกับแฟนคลับกลุ่มใดกลุ่มนึงออกมาติดแท็กเพื่อสุขสันต์วันเกิดศิลปินที่ชื่นชอบ หรืออาจเป็นแฮชแท็กข่าวสารบ้านเมืองต่างๆก็เป็นได้

หากต้องการทำการตลาดบนทวิตเตอร์ ควรจะฟังผู้บริโภคให้มาก เกาะติดกระแสอยู่เสมอ และศึกษารูปแบบการโพสต์มากมายที่เรียกยอด Engagement ได้ดี ประเด็นไหน รูปแบบการโพสต์แบบไหน เป็นแบบที่ผู้ติดตามชอบ ทาง Quiksprout ได้ทำการสำรวจกว่า 398,582 ทวีต และได้นำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบการโพสต์

ผลคือ

1. การโพสต์แบบรูปภาพ จะได้รับ Engagement มากกว่าวิดีโอ

ผู้ใช้งานบน Twitter ทวีตภาพมากกว่าวิดีโอ มากถึง 361% สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ จำนวนที่กดไลค์และรีทวีต โพสต์แบบภาพ มักจะได้รับการรีทวีตมากกว่าวิดีโอ 128% แต่วิดีโอจะได้รับความนิยมมากกว่าภาพ 49%

video vs image twitter
image type twitter

62% เป็นรูปภาพที่ตลกขบขัน ส่วน 38% เป็นรูปภาพแบบอื่น

2. ข้อความทำงานได้ดีกว่าภาพ

ใครจะคิดว่า การโพสต์แบบข้อความนั้นจะเรียกความสนใจได้ดีกว่าภาพ 93% ของทวีตทั้งหมดที่ได้ทำการวิเคราะห์มานั้น จะเป็นแบบข้อความที่ไม่มีภาพหรือวิดีโอใด ๆ

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ 65% ของทวีตข้อความที่มีลิงค์แปะมาด้วย เพื่อเป็นการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ โดย 85% นั้นมีการรีทวิตและให้ความสนใจกับโพสต์ นอกจากนี้หากคุณสทวีตไม่เกิน 100 ตัวอักษรจะ Engagement จะเพิ่มขึ้น 17%

image video text twitter

3. มีการโพสต์ลิงค์บทความแบบ List และ How to

การโพสต์ด้วยลิงค์บทความที่เป็น List และ How to จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับทวีตนั้นๆ โดยเฉลี่ยแล้วได้รับการรีทวีตมากกว่าเนื้อหาแบบข้อความประเภทอื่นๆมากถึง 3 เท่าเลยทีเดียว เนื่องจากบทความแบบ List และ How to จะค่อนข้างสั้นกระชับได้ใจความ และจะให้ประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาอ่าน ทั้งนี้ทั้งนั้น บทความนั้นๆต้องไม่ขายของมากจนเกินไป อาจจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เข้ามาอ่านก็เป็นได้

และสิ่งที่สำคัญ อาจจะต้องมีภาพ หรือแบรนด์เนอร์ที่น่าสนใจ ดึงดูด ผู้ใช้ทวิตเตอร์บางท่าน เลื่อนดูหน้าทามไลน์ด้วยความเร็วสูง และยังมีการที่ทวิตเตอร์รีเฟรชทามไลน์ให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ เราอาจจะมีเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ที่ทำให้แบรนด์เนอร์ของบทความนั้นเตะตาผู้ใช้งาน

how to text twitter

4. ทวีต ติดโพล

การเปิดโพลล์ จะทำให้ให้ผู้ใช้ได้เข้ามามีส่วนร่วม และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนุกหรือการออกความคิดเห็น การโพสต์พร้อมการฟีเจอร์นี้จะทำให้คอนเทนต์ไม่น่าเบื่อ

นี่คือตัวอย่างทวีตที่เล่นกับโพลที่ประสบความสำเร็จ โดยโพลล์นี้มีผู้ร่วมโหวตมากถึง 132,757 ยูสเซอร์ และมีการรีทวิตมากถึงสองพันกว่ารีทวิต ถือว่าได้รับ Engagement เยอะมากเลยทีเดียว

5. โพสต์ด้วย QuotePic

เมื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับการทวีต พบว่ามีคำพูดเจ๋งๆมากมายที่มีแนวโน้มที่จะได้รับการรีทวีตมากถึง 847% เป็นตัวเลขที่เยอะมาก และก็ไม่น่าแปลกใจ ผู้ใช้ที่ทวีตเกี่ยวกับคำคม มักจะได้ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นถึง 43%

ในทางกลับกัน การโพสต์แบบตั้งคำถาม จะได้รับการตอบกลับ หรือมีการ Replay มากกว่า Quote มากถึง 1050%  ดังนั้น เราควรตระหนักก่อนโพสต์ว่าเราอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน หากอยากได้ Conversation อาจจะต้องโพสต์แบบเป็นการตั้งคำถาม หรือหากต้องการยอดแชร์ ยอดรีทวีต ก็อาจจะต้องโพสต์แบบเป็นคำคม ถ้าต้องการสร้างแบรนด์ด้วย Quote อาจจะต้องมีเทมเพลตที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และอย่าลืมติดแฮชแท็กประจำแบรนด์ หรือโลโก้ เพื่อเป็นการสร้างการตระหนักรู้

quotes


source : https://www.quicksprout.com/twitter-engagement/

Facebook ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่! “การส่งข้อความ” เพื่อการขายผ่านสื่อออนไลน์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรับ-ส่งข้อความด้วยแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องตระหนักว่าจะมีวิธีอย่างไรในการเข้าถึงเทรนด์ต่าง ๆ และทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ทางการตลาดจากกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้

ในการทำวิจัยครั้งนี้ Boston Consulting Group ได้ทำการสำรวจออนไลน์ ในกลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 8,864 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานทางข้อความ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่ใช้งานข้อความเพื่อการซื้อ-ขายสินค้า อย่างที่ทราบกันดีว่าข้อมูลสินค้าและราคาเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วความรวดเร็วในการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกัน ซึ่งนั่นชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆที่แบรนด์จะนำมาพัฒนาการบริการที่ดีขึ้น เช่น การตอบกลับลูกค้าโดยได้ทันทีทันใด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์

“ผู้บริโภคส่วนมากมีพฤติกรรมซื้อ – ขายผ่านทาง Social media และกว่า 90% การซื้อ-ขายจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Facebook (Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram)”
นั่นคือประเด็นสำคัญที่แบรนด์ต้องนำมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานให้มากขึ้น

“พฤติกรรมการซื้อ-ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นรับ-ส่งข้อความ ไม่ได้เติบโตเฉพาะแค่ในกลุ่มของผู้ซื้อขายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายอื่นๆเช่นกัน”

จากการวิจัยพบว่าการมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคแบบทันทีทันใด จะช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย ดังนั้นการใช้ข้อความตอบกลับแบบอัตโนมัติจึงช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ และยังเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่กลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ : คลิก

Source : https://www.socialmediatoday.com/news/facebook-publishes-new-research-into-the-growth-of-messaging-for-commerce/563547/

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable