Tag: Content Marketing

4 Steps สร้าง Content ยังไงให้โดนใจลูกค้า ด้วย Empathy Map

Content คือ หัวใจสำคัญของการสื่อสารในยุค Digital จึงทำให้เกิดประโยคที่ว่า Content is King

คอนเทนต์ที่ดี จะต้องเป็นคอนเทนต์ที่สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า และปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า บวกกับใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปให้มีความน่าสนใจ โดยสิ่งที่ห้ามลืมในการสร้างคอนเทนต์ คือการใส่ Empathy ลงไปในการทุกๆไอเดีย

Empathy ที่แปลในภาษาอังกฤษว่า ความเข้าอกเข้าใจ

การคิดอย่างมี Empathy จึงมีความสำคัญ เพราะมันคือ เคล็ดลับที่ทำให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้

โดย Empathy เป็นเรื่องของความเข้าใจ หรือการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” และการเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้า ความรู้สึกของลูกค้า ทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อหรือใช้บริการไปแล้ว ความสามารถในการเข้าใจ นับว่าบทเรียนพื้นฐานที่ควรเรียนรู้ เมื่อเราเข้าใจถึงการมี Empathy ก็จะส่งผลดีในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความเข้าอกเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆและทีมงาน เพื่อที่บริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการขายสินค้าบริการที่จะต้องเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างคอนเทนต์ที่ดี ที่จะต้องรู้ถึงความต้องการ และความสนใจของลูกค้าก่อนจะสร้างคอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่ง

นับว่า Empathy เป็นกล้ามเนื้อที่สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และเป็นรากฐานที่ทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆนั้นแข็งแรง แต่ก่อนอื่น เราอาจจะต้องออกกำลังกาย ฝึกฝนที่จะเข้าอกเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น ฟังผู้เสียงลูกค้าให้มากขึ้นเสียก่อน การสร้างคอนเทนต์ที่ต้องใช้ความเข้าใจลูกค้า ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียว

เคล็ดลับ 5 ข้อเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณได้ไอเดียสำหรับคิด Content น่าสนใจๆได้โดย โดยใช้หลัก Empathy map

1. รับฟังเสียงลูกค้าบนโลกออนไลน์

ทุกๆแพลตฟอร์มใหญ่เป็นส่วนหนึ่งใน Customer Journey ลูกค้ามักใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์เสียส่วนใหญ่ ทั้งการเสพ และอัพเดตข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และอื่นๆ นับว่าในยุค Internet Of things ทุกๆแพลตฟอร์มที่ลูกค้าอยู่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากขึ้น นับได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งในการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ และใช้เป็นการบอกต่อหลังได้ซื้อสินค้าและบริการแล้ว ทำให้เราต้องคอยสอดส่องลูกค้าบนโลกออนไลน์อยู่เสมอ เพื่อให้ได้ Insight มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าต่อไป การฟังเสียงลูกค้า ทำให้เราได้รู้ Insight โดยไม่ต้องเสียเวลาทำ Servey และนั่นเป็นข้อดีที่ทำให้แบรนด์ใหญ่ๆหันมาใช้ Tool นี้กันมากขึ้น

เมื่อเรารู้ Insight หรือความต้องการลึกๆในใจของลูกค้าแล้ว ก็คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำการสื่อสาร หรือสร้างคอนเทนต์ปังๆให้ตรงใจลูกค้าทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่

2. หาจุดสนใจ จากความต้องการของลูกค้า และจุดแข็งของแบรนด์

แม้ว่าเราอาจจะผุดไอเดียที่น่าสนใจสำหรับการสร้างคอนเทนต์ที่ดีได้แล้วแล้ว การเน้นเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะคุณยังขาดความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าของคุณอยู่ หากไม่ต้องการให้คอนเทนต์ที่โพสต์ไปนั้นเปล่าประโยชน์ ก็อาจจะต้องคำนึงถึงความต้องการจริงๆของลูกค้าเสียก่อน การใส่ใจลูกค้า ไปพร้อมกับการคิดคอนเทนต์ อาจเริ่มง่ายๆโดยการ วาดแผนภาพเป็นวงกลมสองวง ในวงแรกให้ระบุสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจในแบรนด์เกี่ยวกับแบรนด์ มีพฤติกรรมและมีความคิดอย่างไรเกรี่ยวกับแบรนด์ และวงที่สองให้ระบุถึงจุดแข็งของแบรนด์ ข้อแตกต่างที่เรามีจากคู่แข่งในพื้นที่ที่วงกลมทั้งสองประสานกันที่เรียกว่า Sweet spot ให้จับคู่กลุ่มเป้าหมายและความสนใจที่มาจากแบรนด์อาจจะลองใช้ประเด็นสำคัญเหล่านั้น มาต่อยอดในการคิด Topic หรือเนื้อหาคอนเทนต์ได้


3. สร้าง Empathy Map

Empathy Map อีกวิธีที่ช่วยในการทำความเข้าใจ และแสดงให้เห็นภาพว่าลูกค้าคิดและรู้สึกอย่างไร หยิบแผ่นกระดาษและสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัส ในแต่ละส่วนให้จดสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้ลงไปใน Map

  • Think and Feel อะไรที่กลุ่มเป้าหมายคิด และรู้สึกในขณะที่กำลังใช้สินค้า อะไรที่เป็นปัญหาตอนที่กำลังใช้สินค้าหรือบริการ เช่น สินค้าใช้ไม่ดีเหมือนที่ได้บอกสรรพคุณไว้
  • See Touchpoint ต่างๆที่ลูกค้าเห็น โฆษณา หน้าร้าน ชุดพนักงาน การให้บริการ สี โลโก้ หรือสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้ด้วยการมอง เช่น เห็นพนักงานบริการกับลูกค้าอีกท่านหนึ่งไม่ดี
  • Does & Says อะไรที่กลุ่มเป้าหมายอาจจะพูด หรือทำในขณะที่กำลังใช้สินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์นี้ใช้ดีจนต้องบอกต่อให้เพื่อนไปซื้อมาใช้บ้าง
  • Hear การรับรู้ผ่านการได้ยิน และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ได้ยินเพื่อนบอกมาว่ามีโปรโมชั่นใหม่
  • Pain ปัญหาของลูกค้าที่เจอขณะใช้สินค้าและบริการคืออะไร อะไรที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อสินค้าและบริการ อุปสรรคในขณะที่ใช้สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง
  • Gain สินค้าและบริการมีประโยชน์อะไร ตอบโจทย์ตรงไหนบ้าง บอกถึงประสบการณ์ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในแง่บวก

โดยเราสามารถวิเคราะห์แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างคอนเทนต์ได้ เช่น หากลูกค้าได้ยินว่ามีโปรโมชั่นจากการบอกปากต่อปาก แบรนด์อาจจะทำการสร้าง Awarness ในเรื่องของ Promotion ผ่านการโพสต์คอนเทนต์อัพเดตโปรโมชั่นรายเดือน เพื่อย้ำเตือนลูกค้าอีกครั้ง หรือหากพบเจอปัญหาส่วนใหญ่ของลูกค้า ว่าไม่ค่อยเข้าใจการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หรือสรรพคุณเท่าที่ควร แบรนด์อาจจะโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบของ How to และการให้ information เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ


4. สร้างคอนเทนต์ให้ตรงใจ

  • คิด Concept Idea ก่อนสร้างคอนเทนต์
    ก่อนจะเขียนคอนเทนต์ เราต้องคิดคอนเสปไอเดียก่อน เพื่อตีกรอบให้กับการสร้างสรรค์เนื้อหาทุกรูปแบบ เราอาจจะต้องกำหนดไอเดีย เป็นการกำหนดกรอบของการเล่าเรื่อง เพื่อที่จะได้เขียนเนื้อหาภายใต้กรอบของไอเดียนั้นๆ หลังจากนั้นเลือกแพลตฟอร์มและประเภทคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า
  • วางมู้ดแอนด์โทนในการนำเสนอคอนเทนต์ ว่าต้องการให้มีมู้ดแบบไหน จริงอยู่ที่ภาษาไม่มีเสียง แต่บางประโยคหรือบางข้อความก็ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านได้เลย
  • เรียงลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง ลูกค้าจะใช้เวลาตัดสินใจในการเลือกที่จะเสพคอนเทนต์หรือไม่ เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น การจัดรูปแบบเนื้อหาจึงเป็นเรื่องสำคัญ การเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อ ต้องมีความน่าสนใจดึงดูดให้ลูกค้ากดเข้าไปอ่านได้ทันที เกริ่นนำ เนื้อหา และบทสรุป ต้องแยกชัดเจน หรืออาจเป็นเป็น Bullet ให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยบทสรุปอาจจะต้องมีการสรุปหรือย่อให้สั้นลง หรือเป็นการทิ้งท้ายให้ผู้อ่านได้คิดตาม
  • หาวิธีสร้าง Lead จากคอนเทนต์ อาจจะมีการสร้าง Call to action หรือเปิดช่องทางการให้คำแนะนำ หรือซื้อสินค้าได้เลยทันที โดยสามารถสร้าง Call to action หรือ Landing page เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าไปสู่ขั้นตอนของการให้คำแนะนำและบริการ และการตัดสินใจซื้อ


Wrap – Up

สุดท้ายนี้ คอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพ อาจไม่ใช่คอนเทนต์ที่ยอด Engagement สูง หรือคอนเทนต์ที่เป็นไวรัล แต่เป็นคอนเทนต์ที่สร้างโอกาสในการขายให้กับแบรนด์ เพราะถ้ายอดไลค์สูง หรือมีคนเข้ามาคอมเม้นต์ใต้โพสต์เยอะๆ แต่ไม่มี Lead เข้ามาซักราย ก็เปล่าประโยชน์ใช่มั้ยล่ะคะ เพราะฉะนั้น ต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายในธุรกิจของตัวเอง ไปพร้อมกับหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วยว่าทำไมถึงต้องซื้อหรือใช้บริการของแบรนด์คุณ หากเรียนรู้ทุกความต้องการของลูกค้า ค่อยฟังเสียงลูกค้าซักหน่อย นอกจากจะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มลูกค้าเดิมได้แล้ว ก็ยังดึงดูดให้ลูกค้าใหม่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการ และอาจจะกลายเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีให้กับแบรนด์ของคุณในอนาคตก็ได้นะคะ



Source : https://contentmarketinginstitute.com/2020/06/empathetic-content-brand-examples/

5 ข้อผิดพลาด การทำการตลาดบน Instagram ที่จะทำให้แบรนด์เติบโต

 

 

การทำการตลาดบน Instagram อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อมี Business Account มากกว่า 25 ล้านแอคเคาท์ และมีมากกว่า 200 ล้านการเข้าชม แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้ใช้ที่ไม่ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายนัก อย่างไรก็ตาม มีแบรนด์จำนวนมากที่ทำผิดพลาดจากการใช้ Instagram เป็นแพลตฟอร์มในการทำการตลาด แต่เป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขได้ง่าย และมันจะช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตขึ้น ลองดู 5 ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับการทำการตลาดบน Instagram และวิธีการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำสองอีก

 

1. ขาดการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย

หากคุณได้ทำการโพสต์ลง Account ซักโพสต์ จะมีผลเสียอย่างยิ่งหากไม่ทำการโต้ตอบกับลูกค้าเลยสักนิด หรือแค่เพียงตอบกลับคอมเมนต์แบบขอไปทีนั้น ก็ยังไม่พอ ลองออกไปมีส่วนร่วมกับยูเซอร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีความสนใจร่วมกันกับธุรกิจของคุณ ค้นหาแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ลองแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับโพสต์นั้นๆ และควรแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นธรรมชาติและปรับให้เหมาะกับโพสต์ด้วย อาจมีการถามคำถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับแคปชั่น และหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นแบบ Generic ทั่วไป เช่น สวย ชอบ ดี หรือสามารถฝากร้านค้าของเราใต้โพสต์ก็ย่อมได้ ข้อดีของการฝากร้าน คือสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องลงทุนเงินสักบาท แต่!!! ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง หากคุณฝากร้านใต้โพสต์ที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับแบรนด์ของคุณ จะเป็นการแย่งลูกค้ากันซึ่งหน้า ซึ่งหมายความว่า คุณกำลังไม่ให้เกียรติเจ้าของร้านค้า และยังสร้างทัศนคติเชิงลบ อาจก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของโพสต์ เจ้าของแบรนด์อื่นๆ หรือผู้เยี่ยมชมผู้อื่นที่เห็นผ่านๆ ตาอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากต้องการฝากร้านใต้โพสต์ ควรตระหนักถึงความพอประมาณ และต้องไม่ก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของโพสต์และผู้อื่น

 

2.ใช้ Hashtag แบบผิดๆ

Hashtag เป็นสิ่งสำคัญในการทำการตลาดบน Instagram การเข้าไปเยี่ยมชม Hashtag จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น และยังสามารถค้นหาลูกค้าเป้าหมายที่กำลังสนใจใน Content ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ การติด Hashtag ในโพสต์ต่างก็เช่นกัน เพราะจะช่วยแบ่งแยกประเภทของธุรกิจ  เพิ่มโอกาสทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเพิ่มผู้ติดตาม ยอดไลค์ และยังเพิ่ม Engagement ให้กับแอเคาท์และโพสต์ของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม Hashtag นั้นจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้ใช้มันอย่างถูกต้อง หากใช้อย่างสิ้นเปลือง ก็จะเกิดผลกระทบในทางลบต่อแอเค้าท์ของคุณได้เช่นกัน

เพราะ… การใช้ Hashtag อย่างสิ้นเปลืองและพร่ำเพรื่อ จะลด Value ให้กับโพสต์ของคุณทันที

จงใช้แฮชแท็กเท่าที่จำเป็น โดยใช้คำที่เกี่ยวข้องของเนื้อหาเป็นเกณฑ์ หรือสร้างแฮชแท็กโดยใช้ตราสินค้า จะช่วยสร้างการจดจำในระยะยาว และเพื่อการเข้าถึงผู้เยี่ยมชมรายใหม่ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องติดตามประสิทธิภาพของแฮชแท็กนั้นๆ เพื่อดูว่า Hashtag ไหน ที่ตรงกับธุรกิจของคุณ และตอบสนองกับผู้เข้าชมได้มากกว่า จะนำไปสู่การเพิ่ม Engagement จากนั้น ก็ต้องเก็บข้อมูลของแฮชแท็กเหล่านี้ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจกลยุทธ์การใช้แฮชแท็กมากขึ้น แฮชแท็กแบบไหนเหมาะที่จะนำไปใช้โพสต์ในอนาคต

3. ขายตรงมากเกินไป

หงุดหงิดหรือไม่ ที่หันไปทางไหนก็มีแต่โฆษณาเต็มไปหมด? เบื่อหรือไม่ที่ดูคลิปแต่ละทีก็ต้องมี Ad ที่ไม่สามารถกดข้ามได้แทรกเข้ามาเสมอ?

เพราะลูกค้านั้นเบื่อหน่ายกับการที่ถูกยัดเยียดการโปรโมตสินค้ามามากแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องขายของอย่างแนบเนียนด้วยคอนเทนต์ที่โดดเด่น และไม่ขายตรงมากจนเกินไป

หากคุณนั้นโฟกัสแต่การขายของบ่อยครั้ง ไม่ได้เพียงแต่ทำให้ลูกค้าของคุณนั้นหดหาย แต่ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางลบอีกด้วย ถึงแม้ว่าแบรนด์คุณอาจมี Story Telling ที่ยอดเยี่ยมมากแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์หากโพสต์ต่างๆนั้น Hard sale จนสร้างความเบื่อหน่ายและรำคาญให้กับกลุ่มลูกค้า

หากต้องการขายของหรือประชาสัมพันธ์ อาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กันซักนิด ในการสร้างโพสต์ที่ดูน่าสนใจและดึงดูด ทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ได้อย่างง่ายดาย และไม่น่าเบื่อในสายตาผู้เยี่ยมชมอีกต่อไป อีกทั้งยังช่วยสร้าง Engagement ให้กับโพสต์ ได้ Like comment Share และได้ขายของอย่างสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน

4. ซื้อ Follower ซื้อ Like

เป็นการยากที่จะต้องอาศัยการเข้าถึงโดยปราศจากการจ่ายเงิน การซื้อ Like และ Follower และ Comment อาจทำให้คุณห่างไกลและหลงลืมกลุ่มเป้าหมายจริงๆของคุณ  วิธีเดียวที่จะเพิ่มยอดผู้ติดตาม ยอดไลค์ ยอดแชร์ และยอด Comment คือ Content ต้องมีคุณภาพ

5. การวางกลยุทธ์แบบผิดๆ

การสร้างกลยุทธ์การตลาดบน Instagram นั้นไร้ประโยชน์ หากเป็นการใช้กลยุทธ์แบบผิดๆ และอาจจะจบลงด้วยการไม่ได้ผลอะไรกลับมาเลย  มีเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยค้นหาทางออกเกี่ยวกับการวางกลยุทธ์ใน Instagram ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การเพิ่มยอดการเข้าชม กลยุทธ์การสร้างการรับรู้ หรืออื่นๆ สิ่งที่จะช่วยให้คุณวางกลยุทธ์ให้ตรงจุด คือคุณต้องรู้จักมาตรวัดต่างๆใน Instagram และยังต้องคิดวิเคราะห์มาตรวัดเหล่านี้ให้เป็น โดยไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจกับจำนวนผู้ติดตาม หรือยอดไลค์ มาตรวัดบนโซเชียลมีเดีย จะช่วยให้คุณปรับแต่งหรือปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

Source : https://contentmarketinginstitute.com/2019/06/instagram-brand-mistakes/

 

5 Content Marketing ที่ควรเลิกทำในปี 2018

อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่ายุคนี้ เป็นยุคแห่ง Content ทุกBrand ทำ Content marketing กันหมด และใกล้เคียงกันหมด ซึ่งในปี 2018 ก็จะยังเข้มข้นขึ้นไปอีก เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น ก็จะทำให้ Content มีคุณภาพมากขึ้น เพราะต้องการแย่งชิงความสนใจจากผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ แต่ก็ยังคงมี Content บางประเภทที่ควรแก้ไข เพื่อปรับให้ Content ของเราดีขึ้น ดังนั้นวันนี้เรามาดู  5 Content Marketingที่ไม่ควรทำในปี 2018 กันนะครับ

1.Content ที่เน้นแต่ปริมาณ 

         ในปี 2018 จะมีการทำ Content ที่มีความหลากหลายมากขึ้น การแข่งขันในการทำ Content ก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน สิ่งที่สามารถแย่งลูกค้าให้มาสนใจได้ก็คือ Content ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์สามารถตอบโจทย์หรือแก้ Pain Point ของลูกค้านั้น ๆ ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ติดอันดับใน Google ในหน้าแรก ๆ ด้วยเช่นกัน

2.การไม่ให้เครดิต หรือแหล่งที่มา 

         เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อน ไม่ว่าจะเป็นการ Post หรือนำรีวิวของลูกค้ามาแชร์ต่อ สำนักข่าว, Blog, เจ้าของภาพถ่าย ทุกคนล้วนควรที่จะได้เครดิต เพราะเป็นทั้งการเคารพผลงาน ชื่นชมหรือสนับสนุนผลงานนั้น ๆ ส่วนในประเทศไทยอาจจะยังไม่ให้ความสนใจกันมากนัก เนื่องจากกฎหมายที่ยังไม่รุนแรงพอ ไม่ตระหนักมากพอ

3.Content marketing ที่เกินความจริง

         บาง Content โพสต์โดยใช้พาดหัวข้อที่น่าสนใจ ดูเกินจริง เพื่อดึงดูดผู้อ่านได้ โดยหวังแค่ให้คน Click, Like, Engagement แค่นั้น แม้ Content แบบนี้จะเรียกคลิกได้ก็จริง แต่!! ภาพลักษณ์ของแบรนด์ก็อาจจะเสียไปด้วย หรือการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เขียนคำผิดหรือระบุข้อมูลผิดๆ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเช่นกัน จะทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูไม่มีความเป็นมืออาชีพได้

4.Hard Sales รัวๆ

         ทำ Content ไม่ใช่เพื่อขายของอย่างเดียว บางครั้งขายมากเกินไป อาจทำให้ผู้อ่าน เบื่อกับโฆษณาที่ขายๆๆๆ จนทำให้ผู้อ่านรำคาญ และมองแง่ลบกับแบรนด์นั้นได้ ส่วนใหญ่แบรนด์ เลือกใช้ Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ หรือสานสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้บริโภค 80% ของการโพสต์ Content ควรสนใจในการให้ความรู้ ความบันเทิง และสร้างการมีส่วนร่วม ส่วนอีก 20% ค่อยเป็นเรื่องของโปรโมชั่น หรือให้ข้อมูลของตัวผลิตภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน

5.โพสต์ Viral แต่ไม่เกี่ยวกับ Brand

         บางครั้งการโพสต์ที่ไม่เกี่ยวกับแบรนด์ อย่างเช่น คลิปวิดิโอตลกๆ ที่ใครเห็นก็ขำ จนมียอดไลค์ของคลิปนั้นมาก แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับแบรนด์เราเลย ก็ไม่ควรนำมาโพสต์ แต่หากอยากโพสต์เพื่อยอดไลค์ หรือ Viral แล้วทำไมไม่ลองคิดวิธีที่ทำให้เชื่อมกับแบรนด์เราล่ะ เช่น แคมเปญท้าห้ามหัวเราะเมื่อดูคลิปเรา หรือแคมเปญที่ออกแนวผ่อนคลาย ๆ เป็นต้น จะช่วยเชื่อมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดีเยี่ยม

สรุป

         ในปี 2018 นี้จะเป็นปีแห่งคุณภาพของ Content ที่จะทำให้ผู้อ่านได้เลือกอ่านกันอย่างหลากหลาย แต่อย่าลืมนะครับว่า Content ที่เราทำขึ้นมานั้นให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านนั้นจริงๆ ทาง SocialEnable ของเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านนะครับ

#Content #Trend2018 #เลิกกันเถอะ #Contentแบบนี้เลิกเถอะ

Credit : https://goo.gl/SdXi1w
https://goo.gl/KT99jR

Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 หรือกรอกข้อมูลด้านล่าง แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Content Marketing Framework

การทำ Content Marketing ในยุคนี้ที่ใคร ๆ ก็สามารถผลิต Content กันได้ เพียงคุณมีมือถือสมาร์ทโฟน เอาไว้ถ่ายรูปและโพสต์ หรือมีสกิลแต่งภาพเบื้องต้น คุณก็สามารถทำ Content เจ๋งๆได้แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงคือ การแข่งขันของ การทำ Content Marketing นั้นสูงมาก ยังไม่รวมกับ Facebook ที่ปรับฟีดให้คนเห็นโพสต์ของเพจน้อยลง หรือทำ Content เจ๋งๆมาแล้ว ได้แต่ยอดไลค์ยอดแชร์ แต่ยอดขายไม่พุ่งเลยจะทำยังไงดี ? วันนี้ SocialEnable จะพาไปดูขั้นตอนการทำ Content พร้อมยกตัวอย่างการทำ Content Marketing แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ 🙂

Content Marketing คืออะไร? 

Content Marketing คือ การทำการตลาด ผ่านการสร้าง Content ที่มี ” คุณค่า (Value) ” หรือที่เราเรียกว่าเป็น Quality Content สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่าน หรือสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตของผู้อ่านได้

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Understand Content Marketing Framework

  1. Set Objective

อีกแล้วหรอ!! แน่นอนครับ อย่างแรกคือ การวางเป้าหมาย(Objective) ลองถามตัวเองดูนะครับว่าการที่เราจะทำ Content สักชิ้นหนึ่ง ทำไปเพื่ออะไรและลูกค้าได้อะไร การมีเป้าหมายนั้นเหมือนมีกรอบไว้ไม่ให้เราออกนอกลู่นอกทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ราบรื่นที่สุดลองดูตัวอย่างนี้นะครับ

Set Objective for Content marketing

Brand Awareness – ทำให้ Brand หรือ Product เป็นที่รู้จัก หรือให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับ Product เรา ตัวอย่างเช่น Social Listening คืออะไร? | สำคัญกับธุรกิจเรายังไง สร้างความอยากรู้ให้กับคนที่เข้ามาเจอ
Thought leadership – สร้างความแตกต่างและความเป็นผู้นำเทรนด์ด้านที่ถนัดและเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ได้ตามใคร หรือเป็นข้อมความรู้ชุดใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยเจอ
Lead Generation – เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าเรา เช่น เปรียบเทียบแบรนด์ AและB, Review จากผู้ใช้งานจริง (แนะนำ: 4เทคนิค การทำ Lead Generation)
Sales – เพิ่มยอดขายจากการทำ Content เช่น รวมราคาโปรโมชั่นในเดือนมีนา ที่คุณจับต้องได้, 5 เหตุผลที่คุณต้องซื้อ

2.Understand Customer Needs

กำหนดเป้าหมายเพียงข้อมูลทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปคือ ข้อมูลพื้นฐานอย่าง อายุ,เพศ,ที่อยู่,การศึกษา,ความสนใจ แล้ว อย่าลืมแต่มองให้ลึกถึงภายใน ข้อมูล Insight คือ สิ่งที่ผู้บริโภครู้สึกภายในเช่น ชอบดูละครบุพเพสันนิวาส แต่ชอบดูแบบย้อนหลัง เพราะในช่วงเวลาที่ออกอากาศยังไม่ถึงบ้าน

How to crate Persona Profile

Customer Persona : คือการสร้างลูกค้าในอุดมคติ เพื่อทำให้เห็นชัดเจนว่าลูกค้าว่าเป็นใคร ทำงานอะไร อยู่ที่ไหน ชอบไม่ชอบอะไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร สิ่งที่เขากังวลคืออะไร รวมถึงเราสามารถเข้าถึงเขาได้ทางไหนบ้าง การสร้างลูกค้าในอุดมคติ ช่วยให้เราสามารถวางแผนกลุยทธ์ได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

Understand Customer Journey

Customer Journey คือ การเดินทางของผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง โดยตัวอย่างด้านบน บอกถึงแต่ละขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้านั้นเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร(Touch Point) โดยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนตามภาพ

Awareness – ใช้ Content ที่ลูกค้าไม่เคยรู้ ไม่เคยทราบว่าก่อนเกี่ยวกับ Brand หรือ Product ของเรา
Consideration – ใช้ Content เชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่ง, ข้อดีข้อเสียของสินค้า, รีวิวจากผู้ใช้งานจริง หรือทดลองใช้งาน
Purchase – ใช้ Content เกี่ยวกับ วิธีจ่ายเงินที่ง่ายที่สุด, ร้านค้าที่ใกล้ลูกค้า หรือโปรโมชั่น
Retention –  ใช้ Content ที่มอบข้อมูลหรือโปรโมชั่นให้กับคนที่เป็นลูกค้าเท่านั้น
Advocacy – ใช้ Content กระตุ้นการแชร์ ชวนให้คนมารีวิว Product เรา แล้วได้แต้ม เป็นต้น

เราควรจะทำ Content เพื่อตอบสนองในทุกขั้นตอนของ Customer Journey

3.Content Strategy

เมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายคือใครแล้ว ถึงเวลาวางแผนทำ Content เพื่อให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค แบรนด์ส่วนใหญ่อยากขายสินค้า หรืออยากพูด (Brand Talk) จนลืมนึกถึงผู้บริโภคว่าอยากฟังรึเปล่า ช่วยอะไรเขาได้(Audience Interests) หากผู้บริโภคไม่สนใจก็จบตั้งแต่สไลด์มาเจอโพสต์ของเรา ดังนั้นมาดูรูปตัวอย่างกันว่าเราจะหา Value Content ที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภคได้อย่างไร

Creating Content Strategy

Brand Talk คือ สิ่งที่แบรนด์อยากจะพูด อยากจะเล่า ว่าแบรนด์เราทำอะไรบ้าง สินค้าเรามันดียังไง มันใช้งานยังไง (หัวใจสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้คนมาสนใจเรื่องที่เราเล่า)
Audience Interests คือ สิ่งที่ลูกค้าอยากฟังหรือสนใจ เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตเขาได้ แต่ส่วนนี้แบรนด์จะรู้ข้อมูลได้อย่างไร ว่าเป้าหมายของเราสนใจเรื่องอะไร แบรนด์อาจต้องติดตามเทรนด์ของกลุ่มหมายเหล่านั้น หรืออาจใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening Tools ในการหาข้อมูลว่ามีคนพูดถึงแบรนด์เราอย่างไรบนโลก Social เครื่องมืออย่าง Social Listening สามารถใช้ได้หลายแง่มุม (อ่านต่อ : 5 ข้อดีของ Social Listening)
Value Content : ตรงกลางระหว่างสิ่งที่แบรนด์ต้องการต้องบอก และผู้บริโภคสนใจอยากฟังด้วย ถือว่าเป็น Content ที่มีคุณค่า เราต้องหาให้เจอ และ ทำมันอย่างต่อเนื่อง

Content Formats : จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเลือกรูปแบบ Content ที่เราจะนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแบบรูปภาพ บทความ [short-long form] หรือวีดีโอ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ อย่างผู้บริโภคบางคนชอบอ่านบทความ ในการทำความเข้าใจมากขึ้น แต่บางคนไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะๆ เราจึงต้องเลือกรูปแบบในการจะสื่อออกไปให้เหมาะสม

Creating Content Distribution Channels

Content Distribution Channels : เลือกสื่อหรือแพลตฟอร์มที่จะสามารถกระจาย Content ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าผู้หญิง อาจเลือก Content ลงใน Instragram หรือธุรกิจอย่าง B2B อาจจะเน้นไปที่การทำเว็บไซต์ของตัวเอง ผสมกับการทำ SEOและSEM เพื่อถูกค้นหาเจอได้ง่ายบน Google เป็นต้น

4.Measurement

Measurement&KPIs

เมื่อทำ Content ไปแล้วสิ่งสำคัญคือดูกระแสตอบรับ หาวิธีการวัดผล Content ที่เราทำว่าสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่เราวางไว้แต่แรกได้หรือไม่ หากเป้าหมายคือ Brand Awareness  เราสามารถยึดเกณฑ์ในการวัดผลคือ เข้าถึงคนได้กี่คน(Reach) แล้วมีคนดูกี่คน(Views) Engagement รวมเท่าไหร่(ในวิชา Facebook คือ Reaction ,Comments, Shares) คนดูวิดีโอดูจบกี่เปอร์เซ็นต์ บางครั้งต้องเจาะลึกดูถึง Sentiment ว่าแต่ละ Comment หรือคนที่ Share มีคนพูดถึงแบรนด์เราในด้านดีไม่ดีอย่างไร  จะเห็นว่าเกณฑ์การวัดผลอาจไม่ตายตัวนัก แต่จะต้องสะท้อนหรือวัดผลเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อนำผลที่ไปปรับปรุงหรือแก้ไขให้ Content ดีขึ้น โดยใช้เครื่องมือวัดผล Fanpage อย่าง SocialEnable : Social Media Management Tools


สรุป                                                                         

คีย์เวิร์ดหลักๆ ในการทำ Content Marketing คือคำว่า ” คุณค่า (Value) ” ต้องเป็น Quality Content ที่สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่านได้ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของเหล่า Marketer ที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนจากผู้อ่าน >> ผู้ติดตาม >> เป็นลูกค้าผู้น่ารัก

โดยทั้ง 4 ขั้นตอนนี้คือการทำ Content Marketing พร้อมมีตัวอย่างประกอบ ใครที่อยากจะลองทำ Content ลองนำ ขั้นตอนเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ เพื่อทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable