Author: Jirayuth

Gartner เผย 12 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2022

Gartner เผย 12 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2022 และคาดว่าเทรนด์เหล่านี้มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้าอีกด้วย มาดูกันค่ะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ เพื่อเตรียมปรับตัวธุรกิจของคุณให้เท่าทัน

1. Data Fabric – ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด และต้องการที่จะรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ลดกระบวนการด้านการบริหารจัดการข้อมูล

2. Cybersecurity Mesh – ภัยคุกคามทางไซเบอร์พยายามหาช่องทางเข้าโจมตีตลอดเวลา Cybersecurity Mesh คือเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้ปลอดภัย โดยกำหนดพื้นที่การเข้าถึงและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน

3. Privacy-Enhancing Computation – ความเข้มข้นของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ Privacy-Enhancing Computation จะเข้ามามีบทบาทในการประมวลผล การจัดเก็บ การส่งต่อ หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ประโยชน์ด้านการตลาด ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมาย ความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

4. Cloud-Native Platforms – ด้วยคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นของ Cloud-Native Platforms สามารถเพิ่ม-ลดสเกลหรือสเปคของแอปได้ เชื่อมต่อ Service ที่หลากหลายของแบรนด์ ตอบโจทย์เรื่องการใช้งานแบบอัตโนมัติ ซึ่งพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย

5. Composable Applications – หยิบยกข้อมูลและโครงสร้างทางดิจิทัลที่มีอยู่ นำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และยังเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรอีกด้วย

6. Decision Intelligence – นำเทคโนโลยีด้าน AI มาช่วยงานทีมวิเคราะห์ข้อมูลหรือการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจให้องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำขึ้น

7. Hyperautomation – ระบบอัตโนมัติยังเป็นสิ่งดึงดูดใจให้องค์กรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น เพราะสามารถลดระยะเวลา แต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม

8. AI Engineering – โมเดล AI หรือปัญญาประดิษฐ์ยังคงถูกพัฒนาและพูดถึงอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์โรคระบาดลดการสัมผัสระหว่างบุคคล ทำให้องค์กรพยายามเรียนรู้ข้อจำกัด และหาทางนำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบการทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต

9. Distributed Enterprises – เทรนด์การทำงานแบบรีโมทที่พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง สะท้อนให้เห็นการใช้ดิจิทัลแบบทางไกลมากขึ้น ในการเพิ่มประสบการณ์ สร้างปฏิสัมพันธ์แก่พนักงาน ผู้บริโภค และพาร์ทเนอร์ได้

10. Total Experience – มุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มประสบการณ์ในทุกด้านมากขึ้น จากเดิมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก แต่อนาคตจะหันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของพนักงาน ผู้ใช้งาน หรือผู้รับบริการในทุกๆ ช่องทาง เพื่อให้เกิดความมั่นใจและจงรักภักดีต่อธุรกิจ

11. Autonomic Systems – ระบบทางกายภาพที่เรียนรู้และปรับอัลกอริธึมตัวเองได้แบบเรียลไทม์ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว รวมถึงรองรับการโจมตีใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ในการควบคุม

12. Generative AI – Generative AI เป็นการใช้ AI รูปแบบหนึ่ง โดยใช้การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ แต่ยังมีความคล้ายกับของต้นฉบับอยู่ เป็นการเรียนรู้จากข้อมูลเดิม เพื่อสร้างเนื้อหารูปแบบใหม่ๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ รวมถึงเป็นประโยชน์กับการพัฒนางานวิจัยในวงการต่างๆ

ขอบคุณข้อมูล : gartner.com / uit.co.th

How to ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการทำ Personalization Marketing

เมื่อลูกค้าของคุณรู้สึกรำคาญใจเมื่อเราไปตามตอแย เสนอโปรโมชั่นแบบหว่านแห ทั้งๆที่เราเองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าจะสนใจมั้ย ทำไมแบรนด์ไม่ลองทำ Personalization เพื่อล่นเวลาและเพิ่มความคุ้มค่า แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ถ้าจะให้ร่ายเรียงข้อดีของการทำ Personalization อาจจะมีเพียงสามสี่ข้อที่ทำให้การตลาดของแบรนด์คุณนั้นพัฒนาขึ้น ข้อดีของการทำ Personalization มีดังต่อไปนี้

  • การทำ Personalization จะทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์มากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
  • ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้กับแบรนด์มากขึ้น
  • ทำให้ relationship ของแบรนด์กับลูกค้าดีมากขึ้น
  • ยุคการตลาดที่ล้วนใช้ Bigdata เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และ Technology ล้นมือ ทั้ง VR AI AR ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเข้าถึงข้อมูลพวกนั้นได้ง่ายขึ้น

นี่คือข้อดีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่อาจจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับแบรนด์ แต่ทว่าจะใช้ Social Listening tools เข้ามาช่วยในการทำ Personalization อย่างไร ทางเรามีวิธีมากบอกกล่าวกันถึง 3 วิธีด้วยกัน

1. ใช้ Social Listening Tools ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ชัดเจน โดยสามารถ Set Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์
เช่น ชื่อของแบรนด์ ชื่อของสินค้า หรือ Keyword อื่นๆที่ต้องการ เพื่อค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร มีทัศนคติอย่างไรบนโลกออนไลน์ ประโยชน์หลักของการใช้เครื่องมือ คือสามารถเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น และเราสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะตามความสนใจหรือพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา โดยสามารถติดตามผลได้อย่าง Real-time สิ่งที่ลูกค้าพบเจอ สิ่งที่ลูกค้าตำหนิ สิ่งที่ลูกค้าชื่นชม จะแสดงผลทันทีบนหน้าจอ Dashboard ทำให้การวางกลยุทธ์ Personalization Marketing ได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที และง่ายดายขึ้น

2. ใช้ Social Listening ช่วยในสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ
Content is king คอนเทนต์คือพระเอกที่จะทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และมีเอกลักษณ์ จะสามารถสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้ดีที่สุด
เราอาจจะเริ่มด้วยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับแบรนด์ ชื่อของแบรนด์ ชื่อของผลิตภัณฑ์ หรือ Set Keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกOnline มีทั้งการโฆษณา การรณรงค์ งาน Event ต่างๆต้องมีชื่องาน ชื่อHashtag
เพื่อศึกษาดังต่อไปนี้
1. หัวข้อ และประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ มีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรกับบทความนี้
2. รูปแบบเนื้อหาใดที่ผู้ชมชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าชอบอ่านแบบบล็อกที่สั้นกระชับได้ใจความ หรือชอบแบบรูปภาพมากกว่า
3. หัวข้อใดถูกให้ความสนใจ และมี Engagement มากที่สุด Keyword ที่ใช้บ่อยที่สุดคืออะไร

3. ใช้ Social Listening tools ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้า
PM จะช่วยให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น และช่วยสร้างความสันพันธ์อันดีกับลูกค้า
คุณสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยการปรับปรุงเว็บไซต์ทั้งหมดและหน้า Landing Page โดยใช้การปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ สิ่งนี้จะไม่เพียงช่วยให้คุณสร้างยอดขายและการแปลงมากขึ้น แต่ยังทำให้เว็บไซต์ของคุณรู้สึกเหมือนอยู่บ้านสำหรับลูกค้าของคุณ

มีผลกระทบอย่างไร หาก Facebook ซ่อนยอดไลค์อย่างเป็นทางการ?

 

 

 

หากคุณนั้นดีใจกับยอดไลค์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้ลงรูปซักรูป และรู้สึกนอยด์ถ้าหากยอดไลค์น้อยตามที่ได้คาดหวังไว้ คุณอาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Platform ยอดนิยมอย่าง Instagram และ Facebook เมื่อในงาน F8 developer conference งานสัมมนาที่ทางบริษัทได้จัดขึ้นทุกปีเพื่ออัพเดทข่าวสารและนวัตกรรมใหม่ เผยถึงประเด็น Digital Well Being และอิงถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ที่มักจะโหยหาและเสพติดยอดไลค์เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบถึงสภาพจิตใจ และอาจเป็นปัญหาสะสม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นได้

 

 

(credit: https://techcrunch.com/2019/04/30/instagram-hidden-like-counter/)

 

เมื่อไม่นานมานี้ Instagram จึงเริ่มทดลองซ่อนจำนวนไลค์ โดยทดสอบที่ประเทศแคนาดาเป็นที่แรก และขยายเพิ่มอีก 6 ประเทศ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่เผยข้อมูลใด ๆ และยังไม่มีใครทราบได้ว่าการซ่อนสถิติที่เรียกว่า “ Like” ในอินสตาแกรมนั้นเวิร์คหรือไม่

ล่าสุดการซ่อนยอดไลค์ได้ลามมาถึงแพลตฟอร์ม Facebook เมื่อ Jane Manchun Wong นักวิจัยแอพพลิเคชั่นและบล็อคเกอร์ด้านเทคโนโลยี ได้โพสต์เกี่ยวกับยอดไลค์ที่ถูกซ่อนบนโพสต์ของเธอ ปรากฏเพียงแค่ชื่อของผู้ที่มา React และ Emoticon เท่านั้น

 

Image

(credit: https://twitter.com/wongmjane/)

 

จะเห็นได้ว่า Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับการซ่อนยอดไลค์ถึงขนาดลองเปิดใช้งานทั้งสองแพลตฟอร์มยอดฮิต จึงทำให้ชาวเน็ตตื่นตัวกับการทดสอบครั้งนี้ไม่น้อย แต่ทว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างหากมีการซ่อนยอดไลค์จริง? มีผลกระทบอย่างไรกับแบรนด์หาก Facebook ซ่อนยอดไลค์อย่างเป็นทางการ? ทาง SocialEnable ได้สรุปไว้ 4 ข้อ ดังนี้

1. หากยอดไลค์นั้นหายไป จะไม่สามารถวัดความความน่าสนใจของ Content ได้จากยอดไลค์ แต่ข้อดีคือ ผู้ใช้จะหันมาสนใจในเนื้อหา Content ของแบรนด์มากขึ้น

2. มีผลกระทบถึงการเลือก Influencer สำหรับโปรโมตแบรนด์ หรือการวัดผลของเนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์ที่ Influencer ได้ทำการโพสต์ไป เนื่องจากแบรนด์จะไม่สามารถเปรียบเทียบความนิยมของ Content ต่างๆได้จากยอดไลค์อีกต่อไป

3. ความกังวลเรื่องยอดไลค์ของผู้ใช้จะลดลง ยอดไลค์จะเริ่มไม่มีอิทธิพลในใจของผู้ใช้อีกต่อไป มาตรวัดอื่นจะมีบทบาทมากขึ้น

4. ไม่สามารถวัดความน่าเชื่อถือของโพสต์ หรือสร้าง First Impression ที่ดีได้จากยอดไลค์ ผู้ใช้อาจวัดความน่าเชื่อถือของโพสต์ได้จากมาตรวัดอื่น

 

เมื่อไม่นานมานี้ ทาง Techcrunch สำนักข่าวด้านเทคโนโลยีได้ติดต่อสอบถามทางบริษัท Facebook เกี่ยวกับการซ่อนยอดไลค์ครั้งนี้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และได้รับการตอบกลับมาว่าได้ทำการทดสอบจริง แต่ยังไม่ได้คอนเฟิร์มว่าจะดำเนินการซ่อนยอดไลค์ต่อไปในอนาคต อาจจะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะได้รับผลกระทบในทางลบน้อยที่สุด

 

 

 

5 ข้อผิดพลาด การทำการตลาดบน Instagram ที่จะทำให้แบรนด์เติบโต

 

 

การทำการตลาดบน Instagram อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อมี Business Account มากกว่า 25 ล้านแอคเคาท์ และมีมากกว่า 200 ล้านการเข้าชม แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้ใช้ที่ไม่ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายนัก อย่างไรก็ตาม มีแบรนด์จำนวนมากที่ทำผิดพลาดจากการใช้ Instagram เป็นแพลตฟอร์มในการทำการตลาด แต่เป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขได้ง่าย และมันจะช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตขึ้น ลองดู 5 ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับการทำการตลาดบน Instagram และวิธีการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำสองอีก

 

1. ขาดการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย

หากคุณได้ทำการโพสต์ลง Account ซักโพสต์ จะมีผลเสียอย่างยิ่งหากไม่ทำการโต้ตอบกับลูกค้าเลยสักนิด หรือแค่เพียงตอบกลับคอมเมนต์แบบขอไปทีนั้น ก็ยังไม่พอ ลองออกไปมีส่วนร่วมกับยูเซอร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีความสนใจร่วมกันกับธุรกิจของคุณ ค้นหาแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ลองแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับโพสต์นั้นๆ และควรแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นธรรมชาติและปรับให้เหมาะกับโพสต์ด้วย อาจมีการถามคำถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับแคปชั่น และหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นแบบ Generic ทั่วไป เช่น สวย ชอบ ดี หรือสามารถฝากร้านค้าของเราใต้โพสต์ก็ย่อมได้ ข้อดีของการฝากร้าน คือสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องลงทุนเงินสักบาท แต่!!! ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง หากคุณฝากร้านใต้โพสต์ที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับแบรนด์ของคุณ จะเป็นการแย่งลูกค้ากันซึ่งหน้า ซึ่งหมายความว่า คุณกำลังไม่ให้เกียรติเจ้าของร้านค้า และยังสร้างทัศนคติเชิงลบ อาจก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของโพสต์ เจ้าของแบรนด์อื่นๆ หรือผู้เยี่ยมชมผู้อื่นที่เห็นผ่านๆ ตาอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากต้องการฝากร้านใต้โพสต์ ควรตระหนักถึงความพอประมาณ และต้องไม่ก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของโพสต์และผู้อื่น

 

2.ใช้ Hashtag แบบผิดๆ

Hashtag เป็นสิ่งสำคัญในการทำการตลาดบน Instagram การเข้าไปเยี่ยมชม Hashtag จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น และยังสามารถค้นหาลูกค้าเป้าหมายที่กำลังสนใจใน Content ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ การติด Hashtag ในโพสต์ต่างก็เช่นกัน เพราะจะช่วยแบ่งแยกประเภทของธุรกิจ  เพิ่มโอกาสทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเพิ่มผู้ติดตาม ยอดไลค์ และยังเพิ่ม Engagement ให้กับแอเคาท์และโพสต์ของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม Hashtag นั้นจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้ใช้มันอย่างถูกต้อง หากใช้อย่างสิ้นเปลือง ก็จะเกิดผลกระทบในทางลบต่อแอเค้าท์ของคุณได้เช่นกัน

เพราะ… การใช้ Hashtag อย่างสิ้นเปลืองและพร่ำเพรื่อ จะลด Value ให้กับโพสต์ของคุณทันที

จงใช้แฮชแท็กเท่าที่จำเป็น โดยใช้คำที่เกี่ยวข้องของเนื้อหาเป็นเกณฑ์ หรือสร้างแฮชแท็กโดยใช้ตราสินค้า จะช่วยสร้างการจดจำในระยะยาว และเพื่อการเข้าถึงผู้เยี่ยมชมรายใหม่ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องติดตามประสิทธิภาพของแฮชแท็กนั้นๆ เพื่อดูว่า Hashtag ไหน ที่ตรงกับธุรกิจของคุณ และตอบสนองกับผู้เข้าชมได้มากกว่า จะนำไปสู่การเพิ่ม Engagement จากนั้น ก็ต้องเก็บข้อมูลของแฮชแท็กเหล่านี้ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจกลยุทธ์การใช้แฮชแท็กมากขึ้น แฮชแท็กแบบไหนเหมาะที่จะนำไปใช้โพสต์ในอนาคต

3. ขายตรงมากเกินไป

หงุดหงิดหรือไม่ ที่หันไปทางไหนก็มีแต่โฆษณาเต็มไปหมด? เบื่อหรือไม่ที่ดูคลิปแต่ละทีก็ต้องมี Ad ที่ไม่สามารถกดข้ามได้แทรกเข้ามาเสมอ?

เพราะลูกค้านั้นเบื่อหน่ายกับการที่ถูกยัดเยียดการโปรโมตสินค้ามามากแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องขายของอย่างแนบเนียนด้วยคอนเทนต์ที่โดดเด่น และไม่ขายตรงมากจนเกินไป

หากคุณนั้นโฟกัสแต่การขายของบ่อยครั้ง ไม่ได้เพียงแต่ทำให้ลูกค้าของคุณนั้นหดหาย แต่ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางลบอีกด้วย ถึงแม้ว่าแบรนด์คุณอาจมี Story Telling ที่ยอดเยี่ยมมากแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์หากโพสต์ต่างๆนั้น Hard sale จนสร้างความเบื่อหน่ายและรำคาญให้กับกลุ่มลูกค้า

หากต้องการขายของหรือประชาสัมพันธ์ อาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กันซักนิด ในการสร้างโพสต์ที่ดูน่าสนใจและดึงดูด ทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ได้อย่างง่ายดาย และไม่น่าเบื่อในสายตาผู้เยี่ยมชมอีกต่อไป อีกทั้งยังช่วยสร้าง Engagement ให้กับโพสต์ ได้ Like comment Share และได้ขายของอย่างสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน

4. ซื้อ Follower ซื้อ Like

เป็นการยากที่จะต้องอาศัยการเข้าถึงโดยปราศจากการจ่ายเงิน การซื้อ Like และ Follower และ Comment อาจทำให้คุณห่างไกลและหลงลืมกลุ่มเป้าหมายจริงๆของคุณ  วิธีเดียวที่จะเพิ่มยอดผู้ติดตาม ยอดไลค์ ยอดแชร์ และยอด Comment คือ Content ต้องมีคุณภาพ

5. การวางกลยุทธ์แบบผิดๆ

การสร้างกลยุทธ์การตลาดบน Instagram นั้นไร้ประโยชน์ หากเป็นการใช้กลยุทธ์แบบผิดๆ และอาจจะจบลงด้วยการไม่ได้ผลอะไรกลับมาเลย  มีเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยค้นหาทางออกเกี่ยวกับการวางกลยุทธ์ใน Instagram ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การเพิ่มยอดการเข้าชม กลยุทธ์การสร้างการรับรู้ หรืออื่นๆ สิ่งที่จะช่วยให้คุณวางกลยุทธ์ให้ตรงจุด คือคุณต้องรู้จักมาตรวัดต่างๆใน Instagram และยังต้องคิดวิเคราะห์มาตรวัดเหล่านี้ให้เป็น โดยไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจกับจำนวนผู้ติดตาม หรือยอดไลค์ มาตรวัดบนโซเชียลมีเดีย จะช่วยให้คุณปรับแต่งหรือปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

Source : https://contentmarketinginstitute.com/2019/06/instagram-brand-mistakes/

 

ทำไมแบรนด์ต้องสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer ?

 

 

ผู้บริโภคลังเลที่จะเชื่อ Message ที่แบรนด์จะสื่อบนโลกออนไลน์ มากกว่า 25% ของนักท่องอินเทอร์เน็ต มักจะบล็อกโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่กลับให้ความสนใจกับ Influencer บุคคลที่มีสไตล์ส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป และความสามารถในการดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า สิ่งที่พวกเขาใส่ ที่ที่พวกเขาไปเที่ยว และ สิ่งที่พวกเขาฟัง ทั้งหมดนี้อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้เหล่า Followers ได้ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องมองหาโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยการแทรกผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ลงไปใน Content ต่างๆ ของ Influencer

นักการตลาดมักมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำหรับโฆษณาที่มีต้นทุนต่ำ จากมุมมองนี้ Influencer เป็นเพียงแค่กลยุทธ์แรกในการผลักดันยอดขาย ด้วยการสร้างการรับรู้และการมองเห็นผ่านนำเสนอผลิตภัณฑ์บนสื่อออนไลน์ บนพื้นฐานแล้วนั้น แบรนด์เลือก Influencer จากจำนวนของผู้เข้าชม (View) และเจรจาแต่ละสัญญาตามเกณฑ์ของในแต่ละแคมเปญ จากนั้น แบรนด์จะติดตาม และประเมินประสิทธิภาพของ Influencer รายนั้น ๆ หาก Influencer ไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นในแคมเปญถัดไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Influencer หลายคนได้ผันตัวเป็น Influencer มืออาชีพ และปรารถนาที่จะร่วมมือกับแบรนด์ในฐานะพาร์ทเนอร์มากขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกรวมกันทั้งหมด 27 ครั้งกับ Influencer และกรณีศึกษาเพิ่มเติม ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องสำอาง เผยให้เห็นว่า influencer นั้น ไม่พอใจและรู้สึกหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาและนักการตลาด

    

 

‘มาเรียน’ บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามมากถึง 129,000 คนในอินสตาแกรมกล่าวว่า “เมื่อแบรนด์ได้ติดต่อฉันมา อย่างแรกที่ฉันจะดู คือหัวอีเมล ถ้าพวกเขาพิมพ์มาว่า “Hello” หรือ “Dear, Blogger” ฉันไม่แม้แต่จะอ่านมันเลย แถมลบมันทิ้งด้วยซ้ำ ชื่อของฉันคือมาเรียน และถ้าคุณติดตามบล็อก คุณก็ต้องรู้จักชื่อฉันสิ ฉันต้องดูว่าคุณรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับฉันมากน้อยแค่ไหน”

L ‘Oréal  Paris ก็ใช้วิธีเดียวกันโดยการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับ Influencer ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและ Ambassador ที่เข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ เผยแพร่ด้วย Content “How to” เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับแพลตฟอร์มทั้งหมดของ L ‘Oréal  การร่วมมือได้ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์และ Influencer

และแน่นอน วิธีการใช้ Influencer มาพร้อมกับเงินมากมายที่เราต้องจ่าย และเพื่อความคุ้มค่าที่สุด แบรนด์จึงต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของ Influencer ให้ถ่องแท้ พึงพิจารณาอยู่เสมอว่าใครกันที่มีภาพลักษณ์นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ตรงตามคอนเสปที่ต้องการมากที่สุด เลือกเหล่า Influencer ดั่งเราเลือก Ambassdors ปฏิบัติและให้ความสำคัญเปรียบเสมือนเพื่อนที่คุณสนิท แสดงความจริงใจกับเหล่า Influencer อยู่เสมอ เพราะพวกเขาคืออีกหนึ่งตัวแทนในการสื่อสาร และเป็นบุคคลที่จะช่วยสนับสนุนแบรนด์ได้จากความต้องการของตัวเอง หากแบรนด์นั้นทำให้ Influencer ประทับใจ พวกเขาก็พร้อมเต็มใจเป็นกระบอกเสียง สื่อสารและนำเสนอแบรนด์ให้กับแฟน ๆ หรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตามการวัดผลวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพของ Influencer ในแต่ละแคมเปญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์อาจจะต้องใช้เครื่องมือในการติดตามความเคลื่อนไหวของ Influencer และติดตาม Social Voice ต่างๆ เกี่ยวกับบิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ และบล็อกเกอร์อื่นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียหลาย ๆ แพลตฟอร์ม  ‘SocialEnable 4.0’ เครื่องมือที่สามารถบริหารจัดการทั้ง Owned Media ของตัวเอง และ Social Listening Tools (หรือที่เรียกกันว่า Earned Media)  เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหา Influencer ที่เข้ามาช่วยโปรโมทผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกโซเชียลว่า “คิดอย่างไร” และวัดได้ว่า “Influencer คนไหนกำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้” อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และวัดผล Influencer ที่ได้ร่วมมือกับทางแบรนด์ในแคมเปญต่าง ๆได้ ว่า แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ถือว่าครบวงจรในเครื่องมือเดียว

 

source : https://hbr.org/2019/04/how-brands-can-build-successful-relationships-with-influencers

 

 

ความสำคัญของ Big Data กับ Social Media Marketing

ในอดีตที่ผ่านมาการทำการตลาดแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่มักประสบปัญหาข้อมูลการชี้วัดที่ไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณการลงทุนไปจนถึงผลตอบแทนที่ได้รับ รวมถึงเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคที่เราไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบัน Social Media Marketing ทำให้การตลาดแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป

Continue reading “ความสำคัญของ Big Data กับ Social Media Marketing”

Session : ทบทวน [ 2019ยังไม่รู้หมายความเรื่องBIG DATAไม่ได้!! ]

เชื่อว่าในวงการ IT รวมถึงแวดวง Social Media Marketing คงตื่นตัวกับคำว่า Big Data มาสักพัก แต่สำหรับหลายคนที่ยังมึนงงและสงสัยว่า Big Data คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากครับ

Big Data คืออะไร ?

Big Data ก็คือ Data หรือข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วก็ถือเป็น Big Data ทั้งสิ้น เป็นทั้งข้อมูลภายในและแหล่งภายนอก เพื่อให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการที่ต้องการ (Data Analytics) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปใช้ปรับปรุงกลยุทธ์การบริหารจัดการองค์กรหรือการทำการตลาดทั้งออฟไลน์และ Social Media Marketing

Continue reading “Session : ทบทวน [ 2019ยังไม่รู้หมายความเรื่องBIG DATAไม่ได้!! ]”

2019 : Social Listening Tools ยังจำเป็นหรือไม่ ?

หลายๆท่านอาจจะใช้งานอยู่ หลายๆท่านอาจจะเพิ่งเคยได้ยิน

SocialEnable
ขอสรุปสั้นๆ ให้ฟังดังนี้ครับ
หน้าที่หลักของ Social Listening Tools คือการบริหารจัดการ Earned Media
ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ จากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อตอบโจทย์ใดโจทย์หนึ่งทางธุรกิจ

สรุปประโยชน์หลักๆของเจ้า Social Listening Tools กันอีกคครั้ง
ใครพูดถึงเรื่องอะไรบนโลกSocial [No. Of Mentions]
ตรวจสุขภาพของแบรนด์ Brand Health Check [Sentiment]
การจัดการภาวะวิกฤต [Crisis Management]
จับตาดูพฤติกรรมผู้บริโภค [Customer Insight]

โดยส่วนใหญ่ที่ใช้งานอยู่จะให้คุณประโยชน์ในลักษณะนี้ 

แล้วปี 2019 ยังต้องใช้อยู่ไหมละ ? ตอบตรงนี้ได้เลยว่า ยิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวด ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

1.พฤติกรรมการใช้งาน Internet และ Social Media ของไทยยังเพิ่มจำนวนสูงขึ้น
ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าและบริการของเจ้าไหน ที่ใช้ภาษาอังกฤษ การ Listening ด้วย ภาษาอังกฤษนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆอีกมากมาย

2.ความลึกของข้อมูล [Data Depth]
น้องสาวผู้เขียนมาขอสตังค์ซื้อ แท่งไฟอากาบง ถ้าไม่ใช่แฟนคลับ #GOT7 เป็น #อากาเซ ผู้เขียนจะไม่สามารถเข้าใจน้องสาวได้อย่างท่องแท้
ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น หากคุณต้องการเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลารอ Research จาก Agency เป็นเดือนๆ Social Listening Tools เป็นอีกเครื่องมือที่มองข้ามไม่ได้

3.Social Media มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ทุก Platform จะเหมาะกับธุรกิจของคุณ
อรรถธิบาย :  Twitter มักจะเป็น Content ต้นเรื่องเสมอ ด้วยหลายๆเหตุผล แล้วผลิตภัณฑ์ของเราเหมาะที่อยู่ใน Facebook,IG,Twitter ด้วยเหตุผลอะไร การใช้ผลลัพธ์บางอย่างที่มาจากการฟัง น่าจะได้ประโยชน์ทีเดียว

ยังมีอีกหลากหลายเหตุผลที่ Social Listening Tools ยังเป็นเครื่องมือหลัก สำหรับ Digital Marketer ในปี2019

สุดท้ายนี้ในวาระอันเป็นศุภมิ่งมงคลขึ้นปีใหม่
ขอให้ทุกท่านมีแต่ความสุขกาย สุขใจ
ปราศจากทุกข์โศกและโรคภัย
มีพลังแรงใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างสม่ำเสมอ

สวัสดีปีใหม่2019 ครับ 🙂

#HappyNewYears2019
#SocialEnable

แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!

เชื่อว่าหลายๆท่านที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องเคยเขียน Caption [คำบรรยายใต้ภาพ] มากันบ้างพอสมควร

SocialEnable ขอนำเสนอวิธีการเขียน Caption แบบ ปกติ แต่โพสออกไปถึง 2 ภาษา

มีวิธีการง่ายๆดังนี้ครับ Continue reading “แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!”

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable