Category: Social Media

ทำไมแบรนด์ต้องสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer ?

 

 

ผู้บริโภคลังเลที่จะเชื่อ Message ที่แบรนด์จะสื่อบนโลกออนไลน์ มากกว่า 25% ของนักท่องอินเทอร์เน็ต มักจะบล็อกโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่กลับให้ความสนใจกับ Influencer บุคคลที่มีสไตล์ส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป และความสามารถในการดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า สิ่งที่พวกเขาใส่ ที่ที่พวกเขาไปเที่ยว และ สิ่งที่พวกเขาฟัง ทั้งหมดนี้อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้เหล่า Followers ได้ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องมองหาโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยการแทรกผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ลงไปใน Content ต่างๆ ของ Influencer

นักการตลาดมักมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำหรับโฆษณาที่มีต้นทุนต่ำ จากมุมมองนี้ Influencer เป็นเพียงแค่กลยุทธ์แรกในการผลักดันยอดขาย ด้วยการสร้างการรับรู้และการมองเห็นผ่านนำเสนอผลิตภัณฑ์บนสื่อออนไลน์ บนพื้นฐานแล้วนั้น แบรนด์เลือก Influencer จากจำนวนของผู้เข้าชม (View) และเจรจาแต่ละสัญญาตามเกณฑ์ของในแต่ละแคมเปญ จากนั้น แบรนด์จะติดตาม และประเมินประสิทธิภาพของ Influencer รายนั้น ๆ หาก Influencer ไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นในแคมเปญถัดไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Influencer หลายคนได้ผันตัวเป็น Influencer มืออาชีพ และปรารถนาที่จะร่วมมือกับแบรนด์ในฐานะพาร์ทเนอร์มากขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกรวมกันทั้งหมด 27 ครั้งกับ Influencer และกรณีศึกษาเพิ่มเติม ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องสำอาง เผยให้เห็นว่า influencer นั้น ไม่พอใจและรู้สึกหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาและนักการตลาด

    

 

‘มาเรียน’ บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามมากถึง 129,000 คนในอินสตาแกรมกล่าวว่า “เมื่อแบรนด์ได้ติดต่อฉันมา อย่างแรกที่ฉันจะดู คือหัวอีเมล ถ้าพวกเขาพิมพ์มาว่า “Hello” หรือ “Dear, Blogger” ฉันไม่แม้แต่จะอ่านมันเลย แถมลบมันทิ้งด้วยซ้ำ ชื่อของฉันคือมาเรียน และถ้าคุณติดตามบล็อก คุณก็ต้องรู้จักชื่อฉันสิ ฉันต้องดูว่าคุณรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับฉันมากน้อยแค่ไหน”

L ‘Oréal  Paris ก็ใช้วิธีเดียวกันโดยการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับ Influencer ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและ Ambassador ที่เข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ เผยแพร่ด้วย Content “How to” เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับแพลตฟอร์มทั้งหมดของ L ‘Oréal  การร่วมมือได้ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์และ Influencer

และแน่นอน วิธีการใช้ Influencer มาพร้อมกับเงินมากมายที่เราต้องจ่าย และเพื่อความคุ้มค่าที่สุด แบรนด์จึงต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของ Influencer ให้ถ่องแท้ พึงพิจารณาอยู่เสมอว่าใครกันที่มีภาพลักษณ์นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ตรงตามคอนเสปที่ต้องการมากที่สุด เลือกเหล่า Influencer ดั่งเราเลือก Ambassdors ปฏิบัติและให้ความสำคัญเปรียบเสมือนเพื่อนที่คุณสนิท แสดงความจริงใจกับเหล่า Influencer อยู่เสมอ เพราะพวกเขาคืออีกหนึ่งตัวแทนในการสื่อสาร และเป็นบุคคลที่จะช่วยสนับสนุนแบรนด์ได้จากความต้องการของตัวเอง หากแบรนด์นั้นทำให้ Influencer ประทับใจ พวกเขาก็พร้อมเต็มใจเป็นกระบอกเสียง สื่อสารและนำเสนอแบรนด์ให้กับแฟน ๆ หรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตามการวัดผลวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพของ Influencer ในแต่ละแคมเปญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์อาจจะต้องใช้เครื่องมือในการติดตามความเคลื่อนไหวของ Influencer และติดตาม Social Voice ต่างๆ เกี่ยวกับบิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ และบล็อกเกอร์อื่นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียหลาย ๆ แพลตฟอร์ม  ‘SocialEnable 4.0’ เครื่องมือที่สามารถบริหารจัดการทั้ง Owned Media ของตัวเอง และ Social Listening Tools (หรือที่เรียกกันว่า Earned Media)  เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหา Influencer ที่เข้ามาช่วยโปรโมทผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกโซเชียลว่า “คิดอย่างไร” และวัดได้ว่า “Influencer คนไหนกำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้” อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และวัดผล Influencer ที่ได้ร่วมมือกับทางแบรนด์ในแคมเปญต่าง ๆได้ ว่า แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ถือว่าครบวงจรในเครื่องมือเดียว

 

source : https://hbr.org/2019/04/how-brands-can-build-successful-relationships-with-influencers

 

 

ความสำคัญของ Big Data กับ Social Media Marketing

ในอดีตที่ผ่านมาการทำการตลาดแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่มักประสบปัญหาข้อมูลการชี้วัดที่ไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณการลงทุนไปจนถึงผลตอบแทนที่ได้รับ รวมถึงเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคที่เราไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบัน Social Media Marketing ทำให้การตลาดแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป

Continue reading “ความสำคัญของ Big Data กับ Social Media Marketing”

2019 : Social Listening Tools ยังจำเป็นหรือไม่ ?

หลายๆท่านอาจจะใช้งานอยู่ หลายๆท่านอาจจะเพิ่งเคยได้ยิน

SocialEnable
ขอสรุปสั้นๆ ให้ฟังดังนี้ครับ
หน้าที่หลักของ Social Listening Tools คือการบริหารจัดการ Earned Media
ฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ จากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อตอบโจทย์ใดโจทย์หนึ่งทางธุรกิจ

สรุปประโยชน์หลักๆของเจ้า Social Listening Tools กันอีกคครั้ง
ใครพูดถึงเรื่องอะไรบนโลกSocial [No. Of Mentions]
ตรวจสุขภาพของแบรนด์ Brand Health Check [Sentiment]
การจัดการภาวะวิกฤต [Crisis Management]
จับตาดูพฤติกรรมผู้บริโภค [Customer Insight]

โดยส่วนใหญ่ที่ใช้งานอยู่จะให้คุณประโยชน์ในลักษณะนี้ 

แล้วปี 2019 ยังต้องใช้อยู่ไหมละ ? ตอบตรงนี้ได้เลยว่า ยิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวด ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

1.พฤติกรรมการใช้งาน Internet และ Social Media ของไทยยังเพิ่มจำนวนสูงขึ้น
ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าและบริการของเจ้าไหน ที่ใช้ภาษาอังกฤษ การ Listening ด้วย ภาษาอังกฤษนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆอีกมากมาย

2.ความลึกของข้อมูล [Data Depth]
น้องสาวผู้เขียนมาขอสตังค์ซื้อ แท่งไฟอากาบง ถ้าไม่ใช่แฟนคลับ #GOT7 เป็น #อากาเซ ผู้เขียนจะไม่สามารถเข้าใจน้องสาวได้อย่างท่องแท้
ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น หากคุณต้องการเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลารอ Research จาก Agency เป็นเดือนๆ Social Listening Tools เป็นอีกเครื่องมือที่มองข้ามไม่ได้

3.Social Media มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ทุก Platform จะเหมาะกับธุรกิจของคุณ
อรรถธิบาย :  Twitter มักจะเป็น Content ต้นเรื่องเสมอ ด้วยหลายๆเหตุผล แล้วผลิตภัณฑ์ของเราเหมาะที่อยู่ใน Facebook,IG,Twitter ด้วยเหตุผลอะไร การใช้ผลลัพธ์บางอย่างที่มาจากการฟัง น่าจะได้ประโยชน์ทีเดียว

ยังมีอีกหลากหลายเหตุผลที่ Social Listening Tools ยังเป็นเครื่องมือหลัก สำหรับ Digital Marketer ในปี2019

สุดท้ายนี้ในวาระอันเป็นศุภมิ่งมงคลขึ้นปีใหม่
ขอให้ทุกท่านมีแต่ความสุขกาย สุขใจ
ปราศจากทุกข์โศกและโรคภัย
มีพลังแรงใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างสม่ำเสมอ

สวัสดีปีใหม่2019 ครับ 🙂

#HappyNewYears2019
#SocialEnable

แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!

เชื่อว่าหลายๆท่านที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องเคยเขียน Caption [คำบรรยายใต้ภาพ] มากันบ้างพอสมควร

SocialEnable ขอนำเสนอวิธีการเขียน Caption แบบ ปกติ แต่โพสออกไปถึง 2 ภาษา

มีวิธีการง่ายๆดังนี้ครับ Continue reading “แอดมิน Facebook โปรดฟัง “ เขียน Caption 1 ครั้ง ได้ 2 ภาษา ทำได้ยังไง “ คลิกเลย!”

Facebook Vs. Google | ศึกนี้ใครจะชนะ มาดู

ในแต่ละวันเราเสพสื่อ ข่าวสารหรือบทความต่างๆ ผ่าน Social Media อย่าง Facebook, Instagram หรือ Twitter แม้ว่า Facebook มีข่าวการลด Reach ตั้งแต่ปลายปีมาเรื่อยๆ ก็ยังถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย

Facebook Vs. Google

  • ล่าสุด Parse.ly  เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Traffic ที่มาจากเว็บไซต์ทั้ง Facebook และ Google นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆอีก ทาง SocialEnable จึงขอยก 2 แพลตฟอร์มนี้มาวิเคราะห์และมาเปรียบเทียบกัน พบว่าปี 2017 ที่ผ่านมา การเข้าชมเว็บไซต์ส่วนมากกลับกลายเป็นฝั่ง Search Engine อย่าง Google ซึ่งชนะ Facebook  ไปที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าอาจเกิดจากการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมของ Facebook ตั้งแต่ต้นปี 2017

ดูกันเน้นๆระหว่าง Facebook Vs Google Referral Traffic (ตั้งแต่ปี 2017 – ปัจจุบันปี 2018)

External-Traffic-on-facebook-and-google

parse.ly/referrer-dashboard/google search Vs. facebook

จากที่ Mark zuckerberg ออกมาพูดถึงแนวทางของ Facebook และแนวทางการปรับอัลกอริทึม เพื่อมุ่งเน้นไปที่คน และสังคมความเป็นอยู่มากขึ้น (การลด Reach และแนวทางของ Facebook 2018) ทำให้ Traffic ของ Facebook ลดลงอย่างมาก จนทำให้ Search Engine อย่าง Google กลับมาชนะขาดอีกครั้ง โดยยอดเข้าชมของ Google สูงถึง 44% ในขณะที่ Facebook อยู่ที่ 24% เท่านั้น ในเดือนมีนาคม 2018

การปรับตัวและทิศทางในอนาคต

– สำหรับสาย Search อย่าง Google ควรลงทุนต่อไปทั้งการทำ SEO และ SEM เพราะเว็บไซต์เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ไม่ว่าจะรายชื่อลูกค้า, Insight ของคนที่เข้าเว็บ จะทำให้ในระยะยาวคุ้มค่าแก่การลงทุน ส่วนช่องทาง Social Media นั้นเป็นเพียงแค่ช่องทางหนึ่งเท่านั้น ถึงแม้สามารถใช้เป็นช่องทางในการเรียก Traffic เข้าเว็บมาได้ แต่ไม่ควรอยู่ เป็นแค่ช่องทางหลัก หรือช่องทางเดียว ควรหาช่องทางอื่นไว้เสมอ เพราะเราไม่สามารถควบคุมมันได้ ช่องทางนั้นๆ อาจเปลี่ยนแปลงกฎหรืออัลกอริทึมที่ทำให้เราเสียประโยชน์ไปได้เช่นกัน

– ในสาย Social อาจจะต้องปรับเปลี่ยนตัว Content หรือ Format ในการนำเสนอต่างๆ เพื่อดึงดูด Traffic โดยการใช้คำหรือหัวข้อที่ชวนให้กดอ่าน แต่ระวังเป็น ”clickbait” เพราะ Facebook สามารถตรวจจับได้ รวมถึงต้องครอบคลุม Social ทุกช่องทางไม่เพียงอยู่แค่ Facebook เท่านั้น แต่ต้องหา Channel อื่นที่ลูกค้าหรือกลุ่มที่เราสนใจ เช่น ลองค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายเราอยู่ Social Channel ไหนบ้าง เช่น Twitter, Instagram, Youtube เป็นต้น


สรุป

เมื่อ Google กลับมามีบทบาทมากขึ้นในเรื่องของ Traffic ที่สามารถดึงคนเข้าเว็บได้มากกว่า แม้ Facebook จะลด Reach โพสต์ประเภทรูปและลิงค์ แต่แพลตฟอร์มของ Facebook ก็ยังคงมีผู้ใช้งานสูงอยู่ดี(Active Users)  ดังนั้นธุรกิจต้องศึกษาถึงพฤติกรรมผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ว่าใช้แพลตฟอร์มไหนกันบ้างในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ บางธุรกิจเริ่มจากเว็บไซต์ของตัวเองก่อนเพราะสามารถควบคุม จัดการได้ง่าย บางธุรกิจก็เริ่มจาก Facebook ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายก่อน เพราะต้องการคนมา Engagement กับโพสต์เรา  เป็นต้น

 

Digital Trends In 2018 | จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ? มาดู

Digital Trends in 2018

 Digital Trends in 2018 กับสิ่งที่กำลังมาแรง

เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นธุรกิจต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่เสมอ วันนี้ SocialEnable จะพามาดู เทรนด์ดิจิทัลปี 2018 ที่มาอย่างแน่นอน แล้วเราจะรับมือกับมือมันอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านกันได้เลยครับ

Aritificial Intelligence[AI]

  1. AI (Artificial Intelligence)

เริ่มต้นขึ้นแล้วกับการใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการศึกษารูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภค เรียนรู้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย เพื่อวิเคราะห์ประมวลผล หรือคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ในปี 2018 เริ่มมีการใช้ AI มากขึ้น และพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การใช้ Facebook Chatbot ในการบริการลูกค้า ผ่านทาง Message เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่เปิดเพจทำธุรกิจบน Facebook ซึ่งในสมัยก่อนนั้นต้องใช้วิธีการเขียนโค้ด ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยในการสร้าง Chatbot  โดยคาดว่าภายในปี 2018 ผู้บริโภคจะเริ่มซื้อสินค้าผ่านตัว AI มากกว่ามนุษย์ด้วยกัน

Internet of thing 2018

  1. IOT (Internet of things)

เป็นกระแสที่มาแรงอย่างมาก และคาดว่าจะยังร้อนแรงอย่างต่อเนื่องในปี 2018 โดย IoT เป็นการเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น Smart Device มีตั้งแต่ของใช้ภายในบ้านอย่างตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ หรือในปี 2018 อาจถึงขั้นพัฒนาไปสู่ความเป็น Smart City เลยก็เป็นได้ ดังนั้นจะเริ่มเห็นว่า IoT จะค่อยๆคืบคลานเข้ามาเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของผู้คน

VR vs. AR

  1. VR (Virtual Reality) & AR (Augmented Reality)

สำหรับประเทศไทยในปี 2018 VRและAR ถือว่ายังใช้งานได้ไม่กว้างนัก จะเห็นได้ในวงการเกมก่อนเช่น Pokémon Go จาก AR หรือเกมรถไฟเหาะ เกมแนวสยองขวัญ จาก VR เป็นต้น แต่เรื่องการศึกษา ยังไม่มีผู้ผลิตคอนเทนต์แนวนี้มากนัก ส่วนด้านภาพยนตร์ อาจจะมีให้เห็นในปี 2018 นี้ นอกจากนั้นก็จะเห็นได้จากวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการนำเริ่ม VR และ AR มาใช้งานบ้าง แต่อาจจะน้อยอยู่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ หากมีไอเดียและคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจมานำเสนอผ่าน VRหรือAR ได้ก็จะดีไม่น้อย

ดังนั้นอีกไม่นานประเทศไทย ปี 2018 เราน่าจะได้เห็น Developer เก่งๆ หรือสินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่อนคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคหลายๆแบรนด์ นำ VRหรือAR ไปใช้ในการตลาดได้อย่างน่าสนใจ

Payment in 2018

  1. Payment

พวกเราน่าจะเคยได้ยินคำว่า ‘‘สังคมไร้เงินสด’’กันมาบ้างแล้ว เป็นการชำระเงิน ค่าบริการหรือซื้อสินค้าต่างๆ แบบดิจิตอลผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งในปี 2018 QR code จะมาแทนบาร์โค้ดอย่างแน่นอน ธนาคารเกือบทุกแบรนด์เริ่มครอบคลุมในการให้บริการชำระเงินออนไลน์กันแล้ว รวมถึงร้านค้าหลายๆแบรนด์ทั้งแบรนด์ใหญ่-เล็ก จะเริ่มแพร่หลายไปทุกๆช่องทาง (จริงๆ ตั้งแต่ปีนี้แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมมากนัก) ซึ่งการชำระเงินออนไลน์เป็นการอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยเก็บข้อมูลการชำระเงิน ประวัติการทำธุรกิรรม และที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Website-in-2018

  1. Website

ปีหน้า Facebook ยังคงเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง แต่ต้องแลกมากับค่าโฆษณา ที่จะถีบตัวขึ้นสูงไปอีกเพราะปัจจุบัน Organic Reach ได้ถูกปรับลดลงอย่างมาก ที่แฟนเพจนั้นจะเห็นโพสต์ของคุณ  ดังนั้นการทำการตลาดบน Facebook จะไม่ใช่การทำการตลาดงบน้อยๆ อีกต่อไป

เว็บไซต์หลักจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเหมือนบ้านของตัวเอง ส่วน Facebook เหมือนกับไปเช่าหอเขาอยู่ นับวันๆราคายิ่งขึ้น เพราะมีคนแย่งกันเช่ามากขึ้น ที่สำคัญในการทำเว็บไซต์คือ ต้องทบทวนกลยุทธ์การทำเว็บไซต์หลักผ่านทางมือถือมากขึ้น เพราะเว็บไซต์ตอนนี้คนดูในมือถือ มากกว่าบน Desktop ไปแล้ว ดังนั้นการทำเว็บไซต์บนอุปกรณ์มือถือ เป็นตัวเลือกแรกๆของนักการตลาดในปัจจุบัน เช่นการทำเว็บไซต์ให้ซัพพอร์ทกับเฟสบุ๊ค นอกจากการทำเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์มือถือแล้ว

การทำ SEO นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญในปี 2018 เช่นกัน (ที่จริงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ แต่เมื่อก่อนธุรกิจเน้นใช้แต่บน Facebook) เป็นการช่วยให้เว็บไซต์ถูกค้นหาได้อย่างง่ายดายผ่าน Google แต่การทำ SEO ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากต้องใช้ความชำนาญและเวลาอยู่บ้างในการทำ แต่ก็ไม่ได้ยากถึงขนาดว่าเรียนรู้ไม่ได้เลยเช่นกัน หากทำให้เว็บไซต์อยู่หน้าแรกๆได้ จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมกับกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ รวมไปถึงการเรียกให้ลูกค้าเก่ากลับมาเยี่ยมเว็บไซต์อีกครั้งได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจบนออนไลน์์ควรให้ความสนใจและลงทุนในด้านนี้เป็นอย่างมาก

Social-Media-Mangement-Tools-in-2018

  1. Social Media Management Tools

ในปีหน้าธุรกิจบนโลกออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้นไปอีก การแข่งขันนั้นจะยิ่งเข้มข้นขึ้นอีก ดังนั้นการเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง (Consumer Insight) จึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงผู้บริโภคมีความเป็น Personalization และกึ่งๆ เป็น Influencer  เพราะหากผู้บริโภคเจอสินค้าหรือประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ก็จะบอกเรื่องราวต่อๆกัน ปากต่อปาก หรือถึงขั้นร้องเรียนให้ธุรกิจนั้นๆ รับผิดชอบ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนส่วนใหญ่พูดถึงธุรกิจเราในด้านใด ปัญหาที่เกิดขึ้นมานี้ ทำให้เกิดเครื่องมือที่เรียกว่า ‘‘Social Listening หรือ Monitoring Tools’’ (อยู่ในประเภท Social Media Management) ที่ค่อยดูหรือตรวจสิ่งที่ผู้บริโภคพูดถึงธุรกิจของเรา (Mention) ทั้งในด้านดีและไม่ดี ได้หลายช่องทางบน Social Media  (Facebook,Twitter,Youtube,Instagram) เพื่อเข้าใจความต้องการหรือจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Hootsuite ส่วนในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก แต่ในปี 2018 นี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าจับตามองอย่างมากในวงการธุรกิจ IT

สรุป                                                       

SocialEnable จะขอวิเคราะห์ Digital Trends เพื่อช่วยให้ผู้อ่านปรับตัวได้เร็วขึ้น

-AI : มีบทบาทมากขึ้น คนจะซื้อของผ่าน Chatbot กันมากขึ้นไม่ใช่แค่ใน Message Facebook อย่างแน่นอน ผลก็คือลดพนักงานที่ต้องมาคอยตอบ Inbox รวมถึงการบริการที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น

-IOT : ในประเทศยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่ Smart City อาจจะยังไกลตัวไป ส่วนอีกไม่กี่ปี Smart Home มีความสำคัญอย่างคนยุค Baby Boomer แน่นอน

-VR&AR : ปีหน้าเริ่มใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆมากขึ้น นักการตลาดคงจะสนุกกับเครื่องมือนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษให้ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจจัดอีเว้นท์หรืออสังหาริมทรัพย์ ใช้กล้อง 360 องศา

-Payment : ที่จริงเริ่มตั้งแต่ปีนี้แล้วอย่าง SCB เดินหน้า’สังคมไร้เงินสด’ แต่ปีหน้าจะครอบคลุมถึงร้านค้าพ่อค้าแม่ค้ารายเล็ก ให้ได้ใช้ QR Code ในการซื้อสินค้ากันอย่างแน่นอน

-Website : เทรนด์อันนี้ไม่พูดถึงไม่ได้แน่นอน มันเกิดมาจาก Facebook เริ่มที่จะลด Organic Rech ลงมาก เพื่อให้คนจ่ายแบบ Paid มากขึ้น ดังนั้นเลยทำให้ Website เป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้น เพราะคือบ้านของเราตั้งแต่เริ่มต้น สามารถควบคุมจัดการได้ เมื่อ Website สำคัญ SEO จึงสำคัญ สุดท้าย Content จึงสำคัญที่สุด จะเห็นว่า 3 สิ่งนี้ไปด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ (แนะนำ SEO อย่าเดินทางสายดำ [Black Hat] กันนะครับ)

Social Media Management Tools : ในปีหน้าข้อมูลจะเยอะมากกว่าเดิม ผู้บริโภคจะเลือกเสพ Content มีความเป็น Personalization และ มีความ Influencer ในตัว ดังนั้นเครื่องมือ Social Listening Tools เป็นเครื่องมือที่น่าจับตามองอย่างมาก

สรุป

แน่นอนว่าปี 2018 จะเป็นปีแห่งการแข่งขันอย่างเข้มข้นบนโลกดิจิทัล ใครที่ไม่สามารถปรับตัวหรือรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ยากและตามความต้องการผู้บริโภคไม่ทัน

#DigitalTrend #Trend2018 #WebSite #SEO #Content #SocialEnable #tools

Credit : https://goo.gl/XscEcu
https://goo.gl/sutWLk

Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

3 วิธีที่อาจมองข้ามในการเพิ่มลูกค้าผ่านทาง Social Media

ในการทำ Lead Generation จะพูดถึงวิธีที่สามารถเพิ่มฐานลูกค้าให้กับเราได้ แต่อาจจะมีบางสิ่งที่เรามองข้ามไป ซึ่งอาจเป็นจุดที่ทำให้เสียลูกค้าไปได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายเก่า ที่เราอยากให้กลับมาซื้อสินค้า หรือลูกค้ารายใหม่ที่เราอยากเพิ่มฐานลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งหลายๆคนอาจจะมองข้ามสิ่งต่างๆ ดังนี้

Branding

  1. ลืมสร้างแบรนด์

เวลาเราทำการซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการของเรา บางครั้งเราจะเน้นแต่ตัวสินค้า(Product) จนทำให้ลูกค้าไม่ได้เห็นความสำคัญของแบรนด์สินค้าเรา ยิ่งสินค้าของเราเป็นสินค้าที่ใครก็สามารถขายได้แล้ว โอกาสที่ครั้งต่อๆไป ลูกค้าจะหันไปซื้อสินค้าหรือบริการ จากแบรนด์อื่นยิ่งเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเราก็ควรบอกกับลูกค้าให้รับรู้ว่า ทำไมต้องสั่งซื้อสินค้ากับเรา จุดเด่นของเรามีอะไร เพื่อที่จะรักษาลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่ให้สนใจที่ตัวแบรนด์เรามากกว่าสนใจแต่สินค้าราคาถูกเท่านั้น

Customer Needs

  1. ให้ความสำคัญกับคำถาม หรือปัญหาของลูกค้า

หลายๆแบรนด์ที่เมื่อเกิดปัญหาลูกค้ามีการ Complain ทางช่องทาง Social Media ต่างๆ แต่แบรนด์กลับเลือกที่จะใช้วิธีการบล็อคลูกค้าคนนั้นๆ หรือไม่สนใจคำถามของลูกค้า ทั้งๆที่คำถามหรือปัญหาของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจะนำมาพัฒนาสินค้าและบริการของเราต่อไปได้ วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นคือการใส่ใจในคอมเม้นท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคำชม คำถาม หรือแม้แต่คำติ โดยไม่เพียงแต่ตอบตาม Template ที่กำหนดไว้ เหมือนกันทุก Comment ยิ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นการคัดลอกข้อความเพื่อมาใช้ทุกโพสต์เพียงเท่านั้น แต่ควรใส่ใจไปยังรายละเอียดที่ลูกค้าต้องการ ตอบให้ตรงคำถามกับลูกค้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และใช้ตัวช่วย Social Analytics Tools อย่าง SocialEnable เพื่อใช้ในการฟังเสียงของลูกค้าที่เราอาจจะมองไม่เห็น และใช้ในการวิเคราะห์ให้ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ตรงจุดมากขึ้นไปอีก

Decrease Ads, just Organic

  1. ลดการโฆษณาแบบจู่โจม

ส่วนใหญ่เมื่อเราได้ข้อมูลลูกค้ามา ไม่ว่าจากทางช่องทางไหนก็ตาม เรามักจะเร่งโดยใช้โทรศัพท์รีบโทรหาลูกค้าเพื่อทำการขายสินค้า ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่สร้างความน่ารำคาญใจให้ลูกค้าอาจจะทำให้ลูกค้าที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของเรา ไม่อยากมาซื้อสินค้าและบริการ หรือหากเป็นลูกค้าของเราอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้ไม่อยากกลับมาซื้อสินค้าและบริการของเราอีก Continue reading “3 วิธีที่อาจมองข้ามในการเพิ่มลูกค้าผ่านทาง Social Media”

3 เทคนิคการซื้อโฆษณาบน Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน

อาชีพหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากคือ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่หันมาเปิดร้านค้าออนไลน์บน Social Media เพราะสะดวก ไม่ต้องเสียค่าเช่า อยู่ที่ไหนก็สามารถขายได้ ซื้อโฆษณาก็สามารถวัดผลได้ง่าย แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีหน้าร้านค้าอยู่แล้ว อาจจะเป็นเรื่องยากในการวัดผล(Measurement) ซึ่งปัจจุบัน Facebook เองก็ทำออกมาเพื่อให้วัดผลได้ง่ายขึ้น งั้นเราลองมาดูเทคนิคง่ายๆ สำหรับการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับหน้าร้านค้ากัน ^^

3 เทคนิคการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน

  1. บอกร้านของเราให้ลูกค้าทราบ(Awareness)

    Facebook ads for Locations
    เพื่อให้ลูกค้าทราบสถานที่ตั้งร้านค้าของเรา จึงควรทำการเพิ่มที่อยู่ของร้านและสาขาใน Fanpage ของเราก่อน เพื่อให้ลูกค้าสามารถรู้ได้ตั้งแต่กดเข้ามายังเพจของเรา รวมถึงควรระบุเวลาเปิด-ปิด และรายละเอียดต่างๆ ของร้าน เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่า ร้านค้าของเราตั้งอยู่ที่ไหน ติดต่อได้อย่างไร และมีประโยชน์ในการซื้อโฆษณา Facebook Ads สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้านต่อไป

  2. เลือกใช้รูปแบบโฆษณาให้ตรงกับวัตถุประสงค์ (Objective)

    Set ads on Facebookแน่นอนว่าหลายๆ คน หากทำการซื้อโฆษณามักจะเลือกในรูปแบบ Boostpost เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ Facebook Ads มีอีกหนึ่ง Objective ให้คุณเลือกใช้ นั่นคือ Store Visits
    How to Set ads on facebookซึ่งประโยชน์หลักๆของการซื้อโฆษณา Facebook สำหรับหน้าร้านแบบ Store Visits นั้นคือถ้าหากกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่ใกล้กับสาขาใดก็ตามของร้านค้าเรา จะขึ้นชื่อสาขาที่เรากำหนดไว้ในเพจ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเข้ามาเพิ่มโฆษณาสำหรับทุกสาขา และยังสามารถกำหนดขนาดของกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนคนหรือระยะทางได้อีกด้วย

  3. การวัดผล(Measurement)

    ads Managerสิ่งสำคัญที่สุดของการซื้อโฆษณาคือ การวัดผลว่าโฆษณาที่เราซื้อไป มีลูกค้าเห็นกี่คน แล้วมาใช้งานยังหน้าร้านค้าเราจริงๆ กี่คน เป็นต้น การวัดผลเหล่านี้มีข้อมูลที่รองรับตลอด นอกจากเราจะได้ลูกค้ากลุ่มที่เราต้องการในสถานที่นั้นๆ แล้ว ยังสามารถดึงดูดลูกค้ากลุ่มอื่นๆ ที่อยู่นอกบริเวณนั้นได้อื่นด้วย เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับเงินที่ลงโฆษณาบน Facebook อีกด้วย

    สรุป

    ไม่ว่าจะใช้ Objective ใดๆในการซื้อโฆษณาก็ตาม การวัดผลนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะการวัดผลบนโลกออนไลน์มีค่าสถิติหรือข้อมูลที่รองรับไว้แต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งแตกต่างกับโลกออฟไลน์ที่มีการวัดผลที่ไม่ชัดเจนนัก เป็นต้น โดยเราจะมาพูดถึงกันอย่างละเอียดในบทความต่อ ๆ ไปกันนะครับ ^^

     

     

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Content Marketing Framework

การทำ Content Marketing ในยุคนี้ที่ใคร ๆ ก็สามารถผลิต Content กันได้ เพียงคุณมีมือถือสมาร์ทโฟน เอาไว้ถ่ายรูปและโพสต์ หรือมีสกิลแต่งภาพเบื้องต้น คุณก็สามารถทำ Content เจ๋งๆได้แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงคือ การแข่งขันของ การทำ Content Marketing นั้นสูงมาก ยังไม่รวมกับ Facebook ที่ปรับฟีดให้คนเห็นโพสต์ของเพจน้อยลง หรือทำ Content เจ๋งๆมาแล้ว ได้แต่ยอดไลค์ยอดแชร์ แต่ยอดขายไม่พุ่งเลยจะทำยังไงดี ? วันนี้ SocialEnable จะพาไปดูขั้นตอนการทำ Content พร้อมยกตัวอย่างการทำ Content Marketing แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ 🙂

Content Marketing คืออะไร? 

Content Marketing คือ การทำการตลาด ผ่านการสร้าง Content ที่มี ” คุณค่า (Value) ” หรือที่เราเรียกว่าเป็น Quality Content สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่าน หรือสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตของผู้อ่านได้

4 ขั้นตอน | การทำ Content Marketing และตัวอย่างเข้าใจง่าย

Understand Content Marketing Framework

  1. Set Objective

อีกแล้วหรอ!! แน่นอนครับ อย่างแรกคือ การวางเป้าหมาย(Objective) ลองถามตัวเองดูนะครับว่าการที่เราจะทำ Content สักชิ้นหนึ่ง ทำไปเพื่ออะไรและลูกค้าได้อะไร การมีเป้าหมายนั้นเหมือนมีกรอบไว้ไม่ให้เราออกนอกลู่นอกทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ราบรื่นที่สุดลองดูตัวอย่างนี้นะครับ

Set Objective for Content marketing

Brand Awareness – ทำให้ Brand หรือ Product เป็นที่รู้จัก หรือให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับ Product เรา ตัวอย่างเช่น Social Listening คืออะไร? | สำคัญกับธุรกิจเรายังไง สร้างความอยากรู้ให้กับคนที่เข้ามาเจอ
Thought leadership – สร้างความแตกต่างและความเป็นผู้นำเทรนด์ด้านที่ถนัดและเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ได้ตามใคร หรือเป็นข้อมความรู้ชุดใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยเจอ
Lead Generation – เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าเรา เช่น เปรียบเทียบแบรนด์ AและB, Review จากผู้ใช้งานจริง (แนะนำ: 4เทคนิค การทำ Lead Generation)
Sales – เพิ่มยอดขายจากการทำ Content เช่น รวมราคาโปรโมชั่นในเดือนมีนา ที่คุณจับต้องได้, 5 เหตุผลที่คุณต้องซื้อ

2.Understand Customer Needs

กำหนดเป้าหมายเพียงข้อมูลทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปคือ ข้อมูลพื้นฐานอย่าง อายุ,เพศ,ที่อยู่,การศึกษา,ความสนใจ แล้ว อย่าลืมแต่มองให้ลึกถึงภายใน ข้อมูล Insight คือ สิ่งที่ผู้บริโภครู้สึกภายในเช่น ชอบดูละครบุพเพสันนิวาส แต่ชอบดูแบบย้อนหลัง เพราะในช่วงเวลาที่ออกอากาศยังไม่ถึงบ้าน

How to crate Persona Profile

Customer Persona : คือการสร้างลูกค้าในอุดมคติ เพื่อทำให้เห็นชัดเจนว่าลูกค้าว่าเป็นใคร ทำงานอะไร อยู่ที่ไหน ชอบไม่ชอบอะไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร สิ่งที่เขากังวลคืออะไร รวมถึงเราสามารถเข้าถึงเขาได้ทางไหนบ้าง การสร้างลูกค้าในอุดมคติ ช่วยให้เราสามารถวางแผนกลุยทธ์ได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

Understand Customer Journey

Customer Journey คือ การเดินทางของผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง โดยตัวอย่างด้านบน บอกถึงแต่ละขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้านั้นเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร(Touch Point) โดยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนตามภาพ

Awareness – ใช้ Content ที่ลูกค้าไม่เคยรู้ ไม่เคยทราบว่าก่อนเกี่ยวกับ Brand หรือ Product ของเรา
Consideration – ใช้ Content เชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่ง, ข้อดีข้อเสียของสินค้า, รีวิวจากผู้ใช้งานจริง หรือทดลองใช้งาน
Purchase – ใช้ Content เกี่ยวกับ วิธีจ่ายเงินที่ง่ายที่สุด, ร้านค้าที่ใกล้ลูกค้า หรือโปรโมชั่น
Retention –  ใช้ Content ที่มอบข้อมูลหรือโปรโมชั่นให้กับคนที่เป็นลูกค้าเท่านั้น
Advocacy – ใช้ Content กระตุ้นการแชร์ ชวนให้คนมารีวิว Product เรา แล้วได้แต้ม เป็นต้น

เราควรจะทำ Content เพื่อตอบสนองในทุกขั้นตอนของ Customer Journey

3.Content Strategy

เมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายคือใครแล้ว ถึงเวลาวางแผนทำ Content เพื่อให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค แบรนด์ส่วนใหญ่อยากขายสินค้า หรืออยากพูด (Brand Talk) จนลืมนึกถึงผู้บริโภคว่าอยากฟังรึเปล่า ช่วยอะไรเขาได้(Audience Interests) หากผู้บริโภคไม่สนใจก็จบตั้งแต่สไลด์มาเจอโพสต์ของเรา ดังนั้นมาดูรูปตัวอย่างกันว่าเราจะหา Value Content ที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภคได้อย่างไร

Creating Content Strategy

Brand Talk คือ สิ่งที่แบรนด์อยากจะพูด อยากจะเล่า ว่าแบรนด์เราทำอะไรบ้าง สินค้าเรามันดียังไง มันใช้งานยังไง (หัวใจสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้คนมาสนใจเรื่องที่เราเล่า)
Audience Interests คือ สิ่งที่ลูกค้าอยากฟังหรือสนใจ เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตเขาได้ แต่ส่วนนี้แบรนด์จะรู้ข้อมูลได้อย่างไร ว่าเป้าหมายของเราสนใจเรื่องอะไร แบรนด์อาจต้องติดตามเทรนด์ของกลุ่มหมายเหล่านั้น หรืออาจใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening Tools ในการหาข้อมูลว่ามีคนพูดถึงแบรนด์เราอย่างไรบนโลก Social เครื่องมืออย่าง Social Listening สามารถใช้ได้หลายแง่มุม (อ่านต่อ : 5 ข้อดีของ Social Listening)
Value Content : ตรงกลางระหว่างสิ่งที่แบรนด์ต้องการต้องบอก และผู้บริโภคสนใจอยากฟังด้วย ถือว่าเป็น Content ที่มีคุณค่า เราต้องหาให้เจอ และ ทำมันอย่างต่อเนื่อง

Content Formats : จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเลือกรูปแบบ Content ที่เราจะนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแบบรูปภาพ บทความ [short-long form] หรือวีดีโอ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ อย่างผู้บริโภคบางคนชอบอ่านบทความ ในการทำความเข้าใจมากขึ้น แต่บางคนไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะๆ เราจึงต้องเลือกรูปแบบในการจะสื่อออกไปให้เหมาะสม

Creating Content Distribution Channels

Content Distribution Channels : เลือกสื่อหรือแพลตฟอร์มที่จะสามารถกระจาย Content ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าผู้หญิง อาจเลือก Content ลงใน Instragram หรือธุรกิจอย่าง B2B อาจจะเน้นไปที่การทำเว็บไซต์ของตัวเอง ผสมกับการทำ SEOและSEM เพื่อถูกค้นหาเจอได้ง่ายบน Google เป็นต้น

4.Measurement

Measurement&KPIs

เมื่อทำ Content ไปแล้วสิ่งสำคัญคือดูกระแสตอบรับ หาวิธีการวัดผล Content ที่เราทำว่าสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่เราวางไว้แต่แรกได้หรือไม่ หากเป้าหมายคือ Brand Awareness  เราสามารถยึดเกณฑ์ในการวัดผลคือ เข้าถึงคนได้กี่คน(Reach) แล้วมีคนดูกี่คน(Views) Engagement รวมเท่าไหร่(ในวิชา Facebook คือ Reaction ,Comments, Shares) คนดูวิดีโอดูจบกี่เปอร์เซ็นต์ บางครั้งต้องเจาะลึกดูถึง Sentiment ว่าแต่ละ Comment หรือคนที่ Share มีคนพูดถึงแบรนด์เราในด้านดีไม่ดีอย่างไร  จะเห็นว่าเกณฑ์การวัดผลอาจไม่ตายตัวนัก แต่จะต้องสะท้อนหรือวัดผลเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อนำผลที่ไปปรับปรุงหรือแก้ไขให้ Content ดีขึ้น โดยใช้เครื่องมือวัดผล Fanpage อย่าง SocialEnable : Social Media Management Tools


สรุป                                                                         

คีย์เวิร์ดหลักๆ ในการทำ Content Marketing คือคำว่า ” คุณค่า (Value) ” ต้องเป็น Quality Content ที่สามารถให้คุณค่ากับผู้อ่านได้ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของเหล่า Marketer ที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนจากผู้อ่าน >> ผู้ติดตาม >> เป็นลูกค้าผู้น่ารัก

โดยทั้ง 4 ขั้นตอนนี้คือการทำ Content Marketing พร้อมมีตัวอย่างประกอบ ใครที่อยากจะลองทำ Content ลองนำ ขั้นตอนเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ เพื่อทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Facebook


– Contact Us –

หากสนใจหรืออยากได้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ Social Listening/Monitoring สามารถติดต่อได้ที่ 080-808-9080 แล้ว Customer Service จะติดต่อกลับไปทันที

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable